Skip to main content

        "Times New Roman";color:#333333">นูรยา เก็บบุญเกิด โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ( color:#333333">DSJ)

                        

               พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรภาค 4

 

 

สภาประชาสังคมชายแดนใต้ นัดถกฝ่ายความมั่นคง “กอ.รมน.–ตำรวจ” ยันยังจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อ้างผลสำรวจคนส่วนใหญ่ต้องการใช้กฎหมายพิเศษ มั่นใจทุกคดีความมั่นคงจับถูกตัว ศาลตัดสินปล่อยเยอะ เพราะไม่มีคนกล้าเป็นพยาน

           เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ที่ห้องประชุม 1 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา มีการประชุมร่วมสภาประชาสังคมชายแดนใต้กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มีนายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร ศอ.บต. และคณะกรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้กว่า 30 คน

     นายประสิทธิ์ แจ้งวัตถุประสงค์การจัดประชุมร่วมครั้งนี้ว่า เนื่องจากทางสภาประชาสังคมชายแดนภาคใต้ ต้องการทราบสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ขณะนี้มีการก่อเหตุรุนแรงบ่อยครั้ง จึงเชิญฝ่ายความมั่นคงมาให้ข้อมูล และหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงร่วมกัน

background:white">พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรภาค 4 แจ้งต่อที่ประชุมว่า เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นสถานการณ์ความรุนแรงล่าสุด ขบวนการก่อการร้ยไม่ได้บอกว่าต้องการอะไร จากการวิเคราะห์อาจมาจากหลายสาเหตุ แต่ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า สาเหตุใดเป็นข้อเท็จจริง

.ต.อ.ชอบ คิสาลัง รองผู้บังคับการสอบสวนสืบสวน ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวต่อที่ประชุมว่า ตนมั่นใจว่าผู้ก่อความรุนแรงเป็นแนวร่วมต้องการแบ่งแยกดินแดน ปัจจุบันขบวนการออกมาก่อความรุนแรง เพราะต้องการบังคับให้ประชาชนเลือกข้างให้ชัดเจน สังเกตได้ว่าชาวมุสลิมโดยเฉพาะกลุ่มผู้นำท้องถิ่น จะเสียชีวิตมากกว่าชาวไทยพุทธ สำหรับการฆ่าชาวพุทธเป็นปฏิบัติการขับไล่ชาวพุทธออกจากพื้นที่ที่กลุ่มขบวนการเรียกว่าปัตตานีดารุสสลาม

            พ.ต.อ.ชอบ กล่าวต่อไปว่า ศูนย์ปฎิบัติการตำรวจชายแดนภาคใต้ ได้ตั้งโรงเรียนการเมือง เพื่อสอนข้าราชการตำรวจที่มีทั้งชาวไทนพุทธและชาวมุสลิมให้เข้าใจเรื่องศาสนา ชาติพันธุ์ โดยอบรมตั้งแต่ผู้กำกับการลงไป เพื่อให้ตำรวจลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ด้วยความเข้าใจ กฎหมายกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่แค่ไหน ก็ให้ปฏิบัติแค่นั้น อย่าทำเกิน สำหรับข้าราชการตำรวจส่วนหนึ่งมองภาคประชาสังคมค่อนข้างไปทางลบ

            นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ที่ปรึกษาสภาประชาสังคมชายแดนภาคใต้ ถามข้าราชการฝ่ายความมั่นคงว่า ขณะนี้มีความจำเป็นที่จะต้องประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ เพราะเหตุใด เนื่องจากในการประชุมสภาประชาสังคมชายแดนภาคใต้ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 จะมีการพิจารณาว่า จะคัดค้านการใช้กฎหมายฉบับในจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่

พ.อ.ปริญญา ตอบว่า พระราชกำหนดฉบับนี้เป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายความมั่นคง ในการต่อสู้กับฝ่ายขบวนการ เนื่องจากสามารถเชิญตัวมาซักถามและปล่อยตัวได้เลย ถ้ากฎหมายอาญาปกติ เมื่อมีการเชิญตัวต้องแจ้งข้อหา แทนที่เรื่องจะยุติแค่การพูดคุย ก็ต้องดำเนินคดีตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด ทำให้เยิ่นเย้อเสียเวลา ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชาวบ้านมากกว่า

พ.ต.อ.ชอบ ตอบว่า พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ควรจะยังใช้อยู่ ผลจากการเชิญตัวที่ผ่านมาน ทำให้ได้ข้อมูลจากแนวร่วมเยอะมาก ขณะที่การจับกุมดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา ค่อนข้างทำได้ลำบาก เพราะขาดพยานหลักฐาน เนื่องจากใครยอมเป็นพยานให้กับพนักงานสอบสวน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ผู้ถูกจับกุม ถูกตัดสินปล่อยตัวเป็นส่วนใหญ่ ตนยืนยันว่าผู้ที่ถูกดำเนินคดี ล้วนแต่จับกุมถูกตัวทั้งสิ้น

นายทหารจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราขอาณาจักร ภาค 4 ผู้หนึ่ง ชี้แจงว่า ช่วงก่อนต่ออายุพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แต่ละครั้ง จะมีการสำรวจประเมินผล ทุกครั้งผลการประเมินออกมาชัดเจนว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องการให้คงการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิจ พ.ศ. 2548 และต้องการให้คงกองกำลังทหารไว้ในพื้นที่