Skip to main content

  background:white">นูรยา เก็บบุญเกิด  โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ( background:white">DSJ)

mso-bidi-language:TH">เปิด 6 งานวิจัยสื่อ วิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี พบเคเบิ้ลทีวีขยายตัวเพียบ ชายแดนใต้มีให้ชมถึง 80 ช่องผลิต อุปสรรคใหญ่ขาดแคลนบุคคลากรผลิตรายการท้องถิ่น พบรายการวิทยุโทนสันติภาพมาแรง รายการสุดฮิต “ใต้สันติสุข” นำลิ่ว

 

                                       อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว

 

 

mso-bidi-language:TH">เมื่อเวลา 09.00 น.–12.00 น. mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:TH">วันที่ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:TH">17 พฤศจิกายน 2554 ที่คณะวิทยาการสื่อสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะวิทยาการสื่อสารได้จัดเสวนา “ก้าวย่างสู่วาระชุมชน” (STEP into the local Community) ภายใต้การสนับสนุนโดยโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในเขตภาคใต้ของประเทศไทย (Southern Thailand Empowerment and Participation--STEP) mso-bidi-language:TH"> ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ background:white"> ( background:white;mso-bidi-language:TH">UNDP)

background:white;mso-bidi-language:TH">ในการเสวนาครั้งนี้ มีการนำเสนอผลการวิจัยเกี่ยวกับการใช้สื่อในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของอาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสารรวม TH">6 หัวข้อ ประกอบด้วย การสำรวจสถานภาพสื่อโทรทัศน์ท้องถิ่นและโทรทัศน์บอกรับสมาชิกใน 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง โดยนายภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา, สถานภาพ บทบาทการดำเนินงาน และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสื่อวิทยุเพื่อร่วมสร้างสันติภาพใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง: จังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดย ผศ.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว

background:white;mso-bidi-language:TH">สถานภาพ บทบาท และศักยภาพของสื่อพื้นบ้านในฐานะสื่อทางเลือกเพื่อการพัฒนาสังคมภาคใต้ โดยนางจารียา ออรถนุชิต, ขีดความสามารถของสื่อและการนำเสนอข่าวออนไลน์ในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน.ส.ฐิติมา   เทพญา, การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับสตรีในจังหวัดช่ายแดนภาคใต้ โดยอาจารย์สากีเราะ แยนา เบ็ญฮารูน และสื่อมวลชนกับการสร้างเสริมสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ background:white;mso-bidi-language:TH">: บทบาทที่เป็นจริง บทบาทที่ควรจะเป็น และเส้นทางการสื่อสารเพื่อสันติภาพ โดยนายสมัชชา และนางบัณฑิกา นิลปัทม์

mso-bidi-language:TH">นายภีรกาญจน์ "Times New Roman";mso-bidi-language:TH">นำเสนอผลการวิจัยว่า ขณะนี้เคเบิลทีวีท้องถิ่นมีช่องให้ชมมากถึง mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:TH">60–80 ช่องรายการ บางบริษัทมีการผลิตรายการตอบสนองความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของคนในท้องถิ่นด้วย ขณะที่สมาชิกเคเบิลทีวีท้องถิ่นจะจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนอยู่ระหว่าง 200–350 บาท ต่อเดือน จากการสำรวจสถานภาพสื่อโทรทัศน์ท้องถิ่นและโทรทัศน์บอกรับสมาชิกใน 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) พบว่า จุดแข็งของเคเบิลท้องถิ่นในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างคือ ผู้ประกอบการมีพื้นฐานทางธุรกิจ มีรายได้ที่แน่นอนจากค่าสมาชิก สามารถนำมาวางแผนการประกอบการทางธุรกิจได้ สามารถขยายธุรกิจประเภท (Business Lines) ที่ใกล้เคียงกันได้ ยังสามารถขยายจำนวนสมาชิกในพื้นที่ใกล้เคียงเขตเมืองได้ background:white;mso-bidi-language:TH">อีก

"Times New Roman";mso-bidi-language:TH">นายภีรกาญจน์ นำเสนอต่อไปว่า สำหรับจุดอ่อนอยู่ที่ขาดแคลนบุคลากร ในการผลิตเนื้อหาทั้งข่าวและรายการ บุคคลากรขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทำให้มีการลาออกบ่อยครั้ง ขาดประสบการณ์ ขาดความเป็นมืออาชีพ ผู้ประกอบการขาดความรู้พื้นฐานทางด้านนิเทศศาสตร์ การบริหารองค์กรขาดหลักการ แต่มีความยืดหยุ่นสูง และรายการท้องถิ่นมีน้อย ส่วนโอกาสคือ การมีสื่อมวลชนท้องถิ่นที่สามารถเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกันได้ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และราคาถูกลง การมีสถาบันทางวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ในพื้นที่ ทำให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาข่าวสารมากขึ้น และหน่วยงานรัฐเริ่มให้ความสำคัญในการเป็นช่องทางสื่อสารกับประชาชนมากขึ้น คู่แข่งธุรกิจในลักษณะเดียวกันน้อย สามารถขยายตลาดได้อีก "Times New Roman";mso-bidi-language:TH">

"Times New Roman";mso-bidi-language:TH">“อุปสรรคของเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นคือ การแข่งขันทางธุรกิจกับโทรทัศน์ดาวเทียม ซึ่งค่าใช้จ่ายของผู้รับบริการถูกกว่า จ่ายเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องจ่ายรายเดือน ธุรกิจเคเบิลระดับชาติเดินเกมรุกด้านการตลาดมากขึ้น ทำโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม โดยผูกกับโทรศัพท์มือถือ ทั้งกฎหมายยังขาดความชัดเจนในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจ และประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคสื่ออื่นมากขึ้น” นายภีรกาญจน์ กล่าว

mso-bidi-language:TH">นางจารียา นำเสนอผลการวิจัยว่า การวิจัยสถานภาพ บทบาท และศักยภาพของสื่อพื้นบ้านในฐานะสื่อทางเลือกเพื่อการพัฒนาสังคมภาคใต้พบว่า ศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ ทั้งหนังตะลุง หนังตะลุงคน และดิเกร์ฮูลู ไม่สามารถหารายได้จากการประกอบอาชีพการแสดงได้เพียงอย่างเดียว ต้องประกอบอาชีพอื่นควบคู่ไปด้วย แต่เนื่องจากสื่อพื้นบ้านเหล่านั้นมีใจรัก ผูกพัน และตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของสื่อพื้นบ้าน ทำให้ศิลปินพื้นบ้านมีภาระต้องสานต่อเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษ เพื่อให้สื่อพื้นบ้านยังคงอยู่ แม้จะอยู่ในสภาพย่ำแย่ และต้องพึ่งพิงรายได้จากการประกอบอาชีพอื่นก็ตาม สื่อพื้นบ้านกำลังอยู่ในสภาพย่ำแย่ ต้องการการหนุนช่วยทั้งด้านวัตถุ การเพิ่มช่องทาง และการเสริมความรู้ ความคิด และความเข้าใจ "Times New Roman";mso-bidi-language:TH">

mso-bidi-language:TH">นางจารียา นำเสนอต่อไปว่า จากรายงานการวิจัยศิลปินพื้นบ้านระบุว่า รายได้จากการแสดงมาจากหน่วยงานที่เชิญสื่อพื้นบ้านไปจัดแสดง ซึ่งมีตั้งแต่หน่วยงานราชการระดับท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล สภาวัฒนธรรมระดับท้องถิ่น วัด โรงเรียน กลุ่มประชาชน กลุ่มศิลปินพื้นบ้านเสนอแนะว่า หน่วยงานรับผิดชอบต้องตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของสื่อพื้นบ้านอย่างแท้จริง และต้องสนับสนุนศิลปินพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไปอย่างจริงจัง ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียนและมหาวิทยาลัย ก็ยังเป็นอีกช่องทาง ที่ทำให้สื่อพื้นบ้านสามารถทำหน้าที่สืบทอดคุณค่าในฐานะของครูภูมิปัญญา ดังเช่นที่คณะดิเกร์ฮูลูมะยะหา และคณะแหลมทรายได้ดำเนินการไปแล้ว mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:TH">

mso-bidi-language:TH">“จากการศึกษาสื่อพื้นบ้านภาคใต้ยัง พบว่า ผู้ที่เป็นศิลปินจะเอาใจใส่ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของสังคม และนำเอามาสอดแทรกในเนื้อหาของสื่อ มีการแลกเปลี่ยนเคล็ดลับฝีมือการแสดง กับเครือข่ายเพื่อนศิลปินด้วยกัน โดยอาจจะถือโอกาสในช่วงของการประกวดประชันกัน เป็นต้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาความรู้ พบว่า ความรู้ที่ศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ต้องการ จะเป็นความรู้ที่เป็นความสนใจหลักของศิลปิน เช่น การปรับปรุงศิลปะการแสดง และความรู้ทั่วไปในสังคม ที่ศิลปินต้องติดตามเพื่อคงสถานภาพความเป็นผู้นำทางความคิด หรือความเป็นปัญญาชนของชุมชนเอาไว้” นางจารียา กล่าว mso-bidi-language:TH">

mso-bidi-language:TH">นางสากีเราะ นำเสนอผลการวิจัยว่า จากการวิจัยเรื่องการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า สื่อมวลชนมักนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการแก้ปัญหาและการช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในช่วงแรกที่ได้รับผลกระทบ เช่น รัฐมีนโยบายอย่างไรที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ความช่วยเหลืออย่างไร แต่ไม่มีปรากฎงานข่าวเชิงลึกและการติดตามว่า หลังจากได้รับความช่วยเหลือเบื้องต้นจากหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบดำเนินชีวิตอย่างไรท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-bidi-language:TH">

"Times New Roman";mso-bidi-language:TH">นางสากีเราะ นำเสนอต่อไปว่า นอกจากนี้ ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบ และถูกกระทำจากสถานการณ์ความไม่สงบมีจำนวนมาก ส่งผลให้หญิงหม้ายมีจำนวนเพิ่มขึ้น การสูญเสียเสาหลักของครอบครัว ทำให้ผู้หญิงเหล่านี้จำเป็นต้องเปลี่ยนสถานะและบทบาทของตนเองมาเป็นผู้นำครอบครัวแทน โดยการออกหางานทำเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัวและส่งเสียดูแลลูก ประคับประคองชีวิตของสมาชิกของครอบครัวที่เหลืออยู่ให้ดำเนินต่อไป "Times New Roman";mso-bidi-language:TH">

"Times New Roman";mso-bidi-language:TH">“นอกจากนี้นโยบายและการแก้ปัญหาของรัฐก็ส่งผลกระทบต่อผู้หญิง และเป็นประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งสื่อมวลชนควรนำเสนอ แต่ประเด็นนี้กลับไม่ปรากฎและขาดหายไปจากการรายงานข่าวของสื่อมวลชน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาของรัฐ เป็นปัญหาเชิงนโยบายที่สร้างผลกระทบให้กับผู้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย” นางสากีเราะ กล่าว

"Times New Roman";mso-bidi-language:TH">ผ.ศ.อรุณีวรรณ นำเสนอผลการวิจัยว่า จากการวิจัย พบว่า รายการที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในฐานะของการผลิตสื่อสันติภาพคือ รายการใต้สันติสุขและยังมีรายการวิทยุอีกหลายรายการ ที่ก่อให้เกิดผลเชิงบวกต่อสังคม สาเหตุที่ทำให้รายการใต้สันติสุขกล่าวถึงกันมาก เพราะนอกจากเนื้อหาจะเน้นการสื่อสารเรื่องสันติภาพโดยตรงแล้ว การออกอากาศยังเป็นลักษณะของเครือข่าย โดยการสลับกันเป็นแม่ข่าย และเปิดโอกาสให้สถานีวิทยุอื่นๆ รับสัญญาณไปถ่ายทอดต่อได้ง่าย TH">