Skip to main content

  background:white">นูรยา เก็บบุญเกิด background:white;mso-bidi-language:TH">ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ

background:white">โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ( background:white">DSJ)

TH">

background:white;mso-bidi-language:TH">

                                                                            รอซีดะห์ ปูซู

color:#222222">โศกนาฏกรรมในสาธารณรัฐ color:#222222">โดมินิกันเมื่อคืนวันที่ color:#222222">25 พฤศจิกายน 2503 ที่เกิดกับพี่น้องหญิงตระกูลมิราเบิล คือ แพทเทรียเดอ กอนซาเรซ,มิเนอว่า มิราเบิล เดอ ทวาเรซ และมาเรีย เทเรซา มิราเบิล เดอ กุซมาน การถูกลอบ mso-bidi-language:TH">สังหารอันเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมือง color:#222222"> ในสมัยประธานาธิบดีนายพลราฟาเอล ลีออนนีดาส ตรูจิโล mso-bidi-language:TH">

ต่อมานักเรียกร้องสิทธิสตรี ได้ใช้วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันรณรงค์และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงต่อสตรีตลอดมา กระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2524 mso-bidi-language:TH">องค์การสหประชาชาติ มีมติให้วันดังกล่าวของทุกปีเป็นวันยุติความรุนแรงต่อ mso-bidi-language:TH">และสตรีสากล mso-bidi-language:TH"> color:#222222">(International Day for the Elimination of Violence Against Women)

ในประเทศไทยมีการรณรงค์เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2538 mso-bidi-language:TH"> โดยมูลนิธิเพื่อนหญิง องค์กรสตรี องค์กรแรงงาน นักวิชาการ และนักศึกษา โดยมีการนำมาตรการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงเสนอต่อรัฐบาล สาธารณชนและสังคม เพื่อให้เกิดการตระหนักว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง mso-bidi-language:TH">ตามกรอบกฎหมายและอนุสัญญาสิทธิเด็ก สตรี และสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนามและต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ mso-bidi-language:TH">

ตามสถิติการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 2552 มีเด็ก สตรี และผู้สูงอายุ ที่ถูกกระทำทารุณเข้ารับบริการจำนวนทั้งสิ้น 26,565 ราย เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2550 จำนวน 7,497 ราย เฉลี่ยมีผู้หญิงและเด็กถูกทำร้ายวันละ 73 ราย หรือทุก 20 นาที มีเด็ก สตรีถูกกระทำความรุนแรง 1 ราย ขณะที่ข้อมูลจากสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าผู้กระทำความรุนแรงเป็นคนใกล้ชิด สามี หรือคนในครอบครัวมากถึง  80 % mso-bidi-language:TH">ขณะที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ mso-bidi-language:TH">

ขณะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ mso-bidi-language:TH">ที่ย่างก้าวสู่ ปีที่ 8  ปีแห่งการยุติความรุนแรงในพื้นที่ mso-bidi-language:TH">ฯ TH">จากข้อมูลของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุว่า เด็กกำพร้า ที่ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 4,455 ราย แยกเป็นจังหวัดปัตตานี 1,691 ราย จังหวัดยะลา 1027 ราย จังหวัดนราธิวาส 1,586 ราย และจังหวัดสงขลา 150 ราย ขณะที่สตรีหม้าย มีทั้งสิ้น 2,295 ราย แยกเป็นจังหวัดปัตตานี 849 ราย จังหวัดยะลา 657 ราย จังหวัดนราธิวาส 714 ราย และจังหวัดสงขลา 75 ราย

เครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ TH"> และ TH">องค์กรภาคี mso-bidi-language:TH"> ประกอบด้วย มูลนิธิเพื่อนหญิง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค mso-bidi-language:TH"> 4 ส่วนหน้า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาสังคม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีการจัดกิจกรรมเดินรณรงค์และการอภิปราย “รวมพลังผู้หญิง ยุติความรุนแรงและสร้างสันติภาพ” ปีที่ 2 ขึ้น ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554

นางรอซีดะห์ ปูซู ประธานเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ TH">3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บอกถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานว่า เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ความรู้ ความเข้าใจในบทบาทผู้หญิง ให้เท่าทันสถานการณ์ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นกับครอบครัวและชุมชน และเห็นถึงบทบาทของตัวเองในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหานำไปสู่สังคมสันติ mso-bidi-language:TH">

ส่งเสริมให้ผู้หญิงรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายในชุมชน เพื่อการมีส่วนร่วมในการเข้าถึงกลไกนโยบายภาครัฐ ให้เกิดความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของประชาชน สร้างจิตสำนึก ความหนักของผู้คนในสังคม รวมกันรณรงค์ยุติการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีอย่างกว้างขวาง mso-bidi-language:TH">”

“ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายน mso-bidi-language:TH">2553 เครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ mso-bidi-language:TH"> และองค์กรภาคี ได้จัดเวที “ผู้หญิง ก่อร่างสร้างสันติภาพ” ขึ้น ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี เพื่อเปิดให้ผู้หญิงจากชายแดนใต้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอข้อคิดเห็น mso-bidi-language:TH">เกี่ยวกับความรุนแรงผู้หญิงและเด็กแล้ว” mso-bidi-language:TH">

เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้มีโอกาสเรียนรู้  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน และมีส่วนร่วมนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน ยุทศาสตร์ ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาของเด็ก เยาวชน และสตรี ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐบาล” นางรอซีดะห์ บอกถึงวัตถุประสงค์ mso-bidi-language:TH">

นางรอซีดะห์ บอกถึงกลุ่มเป้าหมายในการจัดงานในครั้งนี้ mso-bidi-language:TH">ว่า  มีเป้าหมายจำนวน 1,200 คน  จาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย แกนนำผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบของเหตุการณ์ความไม่สงบ แกนนำเครือข่ายภาคประชาสังคม  กลุ่มองค์กรชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนเยาวชน  นิสิตนักศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น mso-bidi-language:TH">ผู้นำชุมชน และสื่อมวลชนทุกแขนง mso-bidi-language:TH">

สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วย ำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   บ้านพักเด็กและครอบครัว  สำนักงานยุติธรรมจังหวัด  โรงพยาบาลจังหวัด  กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ กองอำนวยการรักษาความมั่่นคงภายในราชอาณาจักรภาค mso-bidi-language:TH">4 ส่วนหน้า mso-bidi-language:TH">(กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า)  

นางรอซีดะห์ บอกถึงกิจกรรมภายในงานว่า เวลา mso-bidi-language:TH">08.00 น.จะมีการตั้งขบวนเดินรณรงค์ ซึ่งเริ่มต้นขบวนจากอาคารออมทอง หน้าโรงแรงซีเอส จังหวัดปัตตานี โดยผู้เดินรณรงค์ทั้งหมดจะสวมเสื้อรณรงค์ยุติความรุนแรงสีขาว โดยจะเริ่มเคลื่อนขบวนออกเวลา 09.00 น. ผ่านถนนเจริญประดิษฐ์ (ถนนเส้นหน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี) มุ่งหน้าสู่ห้องประชุมนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

“แต่หากวนวันดังกล่าวมีฝนตก จะยกเลิกการเดินรณรงค์ และจะไปรวมตัวในงานอภิปราย ที่ห้องประชุมนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีแทน” นางรอซีดะห์ บอก mso-bidi-language:TH">

จากนั้นในเวลา mso-bidi-language:TH">10.00 – 10.45 น. ตัวแทนจากเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงและแสวงหาสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวรายงาน โดยมี ว่าที่ร้อยตรีเลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวเปิดงาน ตามด้วยการแสดงดิเกร์ฮูลู

มีการกล่าวปาฐกถา “ผู้หญิงเปลี่ยนโลกให้สันติ” โดยนางวิสา เบ็จะมโน ประธานคณะกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและความเสมอภาคของบุคคล และนายปัญญา เลิศไกร รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้ร่วมปาฐกถาครั้งนี้ mso-bidi-language:TH">

สำหรับการอภิปรายเรื่อง “พลังผู้หญิง พลังยุติความรุนแรงและสร้างสันติภาพ ชายแดนใต้” ที่ห้องประชุมนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษานั้น มีพันเอกฐกร เนียมรินทร์ ผู้อำนวยการมศ.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค mso-bidi-language:TH"> 4 ส่วนหน้า นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นางรอซีดะห์ ปูซู ประธานเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นางสาวนิสา กอและ ประธานเด็กและเยาวชนผู้ได้รับผลกระทบ(กลุ่มเกี่ยวก้อย) และนางอ้อยใจ ศรีสุวรรณ ประธานผู้ได้รับผลกระทบจังหวัดนราธิวาส ดำเนินรายการโดย นางสาวธนวดี ท่าจีน ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง

ช่วงท้ายจะมีการร่วมกันประกาศเจตนารมย์เพื่อยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ภายใต้สโลแกน “บ้านทุกบ้านต้องเป็นบ้านที่ปลอดภัย ถนนทุกสายปลอดจากภัยทางเพศ ชุมชนทุกชุมชนเป็นเขตปลอดอาวุธ” ด้วย

โดยสถานีวิทยุมอ.ปัตตานีจะถ่ายทอดสดกิจกรรมเดินรณรงค์และการอภิปราย “รวมพลังผู้หญิง ยุติความรุนแรงและสร้างสันติภาพ” ปีที่ mso-bidi-language:TH">2 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 ผ่านเคเบิลทีวีปัตตานี และสถานีวิทยุมอ.ปัตตานี 107.25 MHz ตั้งแต่เวลา 10.00 น. - 12.00 น.