"Times New Roman";color:#222222">อารีด้า สาเม๊าะ
"Times New Roman";color:#222222">โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ "Times New Roman";color:#222222"> ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
color:#222222">
"Times New Roman";color:#222222">นักวิจัยสันติภาพแถวหน้าของโลกยอมรับความขัดแย้งในประเทศไทยทวีสูงขึ้นทวนกระแสโลก เหตุไฟใต้ปะทุขึ้นต่อเนื่องยืดเยื้อ ระบุยากแยกแยะประเภทของความรุนแรง
"Times New Roman";color:#222222">เวลา color:#222222"> 13.00 น. วันที่ 15 ธันวาคม 2554 ที่ห้องประชุมเช็คอะหมัด อัลฟาตอนี อาคารวิทยาลัยอิสลามศึกษา (ตึกเก่า) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่งสต้อคโฮม (Stockholm School of Economics) และ โครงการสันติภาพเอเชียตะวันออก มหาวิทยาลัยอุปซาลา (Uppsala University) ร่วมจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลความขัดแย้ง (Conflict Data Analysis Workshop) โดยมีนักวิชาการด้านสันติภาพและความขัดแย้งจากสถาบันวิจัยระดับโลกและในพื้นที่เป็นผู้นำการอภิปรายแก่ผู้สนใจปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ60 คน
color:#222222">
color:#222222"> ดร.สเตน ทอนเนสสัน หัวหน้าโครงการสันติภาพเอเชียตะวันออก มหาวิทยาลัยอุปซาลา นำเสนอว่า ฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยอุปซาลามุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ความขัดแย้งที่มีการใช้กำลังอาวุธทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูลพบว่าการเกิดความขัดแย้งประเภทดังกล่าวมีแนวโน้มลดลงในระดับโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก นับตั้งแต่มองโกเลียจนถึงติมอร์เลสเต ยกเว้นกรณีประเทศไทยที่กลับมีแนวโน้มสวนทางกับกระแสดังกล่าว โดยที่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการการปะทุขึ้นของเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
"Times New Roman";color:#222222">ดร.สเตน กล่าวด้วยว่า การวิเคราะห์ข้อมูลความขัดแย้งพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดสภาวะสงครามและสันติภาพ เช่น ในกรณีภูมิภาคเอเชียที่ดูเหมือนว่าการค้าขายระหว่างประเทศที่มีมากขึ้นจะเอื้อให้เกิดสันติภาพ แต่การวิเคราะห์ข้อมูลกลับพบว่ามีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะดังกล่าวมากกว่า เช่น การเรียงลำดับความสำคัญในทางนโยบายของผู้นำประเทศ เป็นต้น
"Times New Roman";color:#222222">ในขณะที่ ดร.เอริค เมลานเดอร์ รองผู้อำนวยการโครงการฐานข้อมูลความขัดแย้ง ( color:#222222">UCDP) มหาวิทยาลัยอุปซาลา ประเทศสวีเดน เปิดเผยว่า การวิเคราะห์ฐานข้อมูลจำเป็นต้องมีการนิยามเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นก่อนว่าเป็นความขัดแย้งประเภทใด สำหรับ UCDP นั้นแบ่งประเภทของเหตุการณ์ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความขัดแย้งที่มีรัฐเป็นผู้กระทำการฝ่ายหนึ่ง ความขัดแย้งที่กระทำโดยคู่ขัดแย้งที่เป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ และการใช้ความรุนแรงโดยฝ่ายเดียว ซึ่งในประเภทสุดท้ายนั้นรวมไปถึงการซ้อมทรมาน การจับอีกฝ่ายเป็นเชลย เป็นต้น
color:#222222"> "Times New Roman";color:#222222">ดร.เอริค กล่าวว่า ปัญหาในการวิเคราะห์ความขัดแย้งในกรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้คือความยากที่จะระบุข้อมูลของผู้กระทำการ เพราะความชัดเจนของบางเหตุการณ์ยังไม่เพียงพอ และการก่อเหตุในพื้นที่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นการกระทำของฝ่ายใดได้ชัดเจน เมื่อมีข้อมูลที่ขัดแย้งกัน ทาง mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">UCDP จะไม่นำมาวิเคราะห์ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ฐานข้อมูลดังกล่าวจึงมีจำนวนที่น้อยกว่าหลายแหล่ง สิ่งนี้เป็นข้อจำกัดประการหนึ่งที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลกับสถาบันในพื้นที่
color:#222222"> "Times New Roman";color:#222222">ดร.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ นำเสนอข้อมูลจากฐานข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ว่าสถานการณ์ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีลักษณะเป็นความขัดแย้งยืดเยื้อเรื้อรัง พลเรือนตกเป็นเป้าโจมตีมากที่สุด และพบว่าสัดส่วนความสูญเสียต่อจำนวนเหตุการณ์กลับมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นความรุนแรงเชิงคุณภาพ
"Times New Roman";color:#222222">ดร.ศรีสมภพ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางชาติพันธุ์และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ได้การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่งสต้อกโฮมเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเดิมซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ได้ดีขึ้นพัฒนาขึ้น ซึ่งคาดว่างานวิจัยชิ้นนี้จะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า และเผยแพร่ต่อสาธารณะในปีหน้ามีกระบวนการวิจัยเสร็จสิ้น