Skip to main content

ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

minor-latin;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:
TH">                                                                                                     kk

 

minor-latin;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:
TH">                                   จินดา บุญจันทร์

          จังหวัดชุมพร มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างแคบและยาวตั้งอยู่ระหว่างทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทิศตะวันตกมีลักษณะเป็นที่สูงมีเทือกเขาตะนาวศรีและเทือกเขาภูเก็ต เป็นแนวกั้นเขตแดนธรรมชาติ มีพื้นราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ ทิศตะวันออกของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบตามแนวชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย สภาพภูมิอากาศเป็นมรสุมเมืองร้อน อยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีอากาศชุ่มชื้นฝนตกชุกเกือบตลอดปี

นอกจากนี้แล้วชุมพรยังถือว่าเป็นจังหวัดที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติค่อนข้างบ่อย ตั้งแต่ 2505 พายุแฮเรียตพัดขึ้นฝั่งถล่มแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช 2532 พายุใต้ฝุ่นเกย์พัดถล่มหลายพื้นที่ในจังหวัดชุมพร 2540 พายุลินดาถล่ม ซ้ำจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี 2552 พายุไซโคลนนาร์กีสพัดถล่มประเทศพม่า พายุดีเปรสชั่นเมื่อปลายปี 2553 รวมถึงเหตุการณ์กลางปี 2554 ที่มรสุมถล่มภาคใต้เกือบทั้งภาค

 “ชุมพรโดนมามากแล้ว ตอนพายุเกย์เข้าเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ชาวบ้านก่อม็อบเพื่อขออาหารกิน” เป็นคำบอกเล่าของนายจินดา บุญจันทร์ ประธานที่ปรึกษาสภาองค์กรชุมชนจังหวัดชุมพร ที่ลุกขึ้นมาขับเคลื่อนการจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืน โดยใช้กลไกของสภาองค์กรชุมชนร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดชุมพร

นายจินดา บอกถึงจุดเริ่มต้นของความคิดในการจัดการภัยพิบัติว่า เกิดจากคนในพื้นที่ต่างๆมาคุยกัน แล้วตั้งคำถามว่าทำอย่างไรในการจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ด้วยการคำนึงถึงทรัพยากรป่าต้นน้ำ กลางน้ำ และชายฝั่ง โดยมีการเชื่อมร้อยในเครือข่ายระบบลุ่มน้ำ และจะผลักดันการจัดการภัยพิบัติในจังหวัดได้อย่างไร ที่ไม่ใช่แค่การมาแจกสิ่งของ

นายจินดา บอกว่า ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2552 ที่อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ได้จัดทำแผนจัดการภัยพิบัติ  ต่อมาในปี 2554 ได้มีการจัดทำแผนจัดกการภัยพิบัติขึ้นอีก 12 พื้นที่ โดยมีการเชื่อมร้อยเป็นระบบลุ่มน้ำ แบ่งเป็น 5 ลุ่มน้ำสำคัญๆ คือ ลุ่มน้ำละแม ที่ครอบคลุมพื้นที่อำเภอละแม ลุ่มน้ำหลังสวน ที่ครอบคลุมอำเภอพะโต๊ะ กับหลังสวน ลุ่มน้ำสวี ที่ครอบคลุมอำเภอสวี และบางส่วนของจังหวัดระนอง ลุ่มน้ำท่าตะเภา ที่ครอบคลุมอำเภอท่าแซะและอำเภอเมือง และลุ่มน้ำชุมพร ที่ครอบคลุมพื้นที่อำเภอปะทิวและอำเภอเมือง

นายจินดา บอกถึงหลักคิดแผนทรัพยากรลุ่มน้ำที่แก้ปัญหาอย่างยั่งยืนของจังหวัดชุมพรในภาพรวม ประกอบด้วยการจัดระบบการเกษตรที่ไม่ทำลายระบบลุ่มน้ำ การสร้างจิตสำนึก ตระหนักเรียนรู้ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และมีการเชื่อมร้อยเครือข่ายให้องค์กรชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำตัวเองได้อย่างไร

“การจัดการทรัพยากรอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขได้ เกี่ยวข้องกับระดับนโยบาย เช่น กระบวนการวางผังเมือง สร้างถนน ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เราจึงมีการทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อระดับจังหวัด” นายจินดา บอก

นายจินดา บอกอีกว่า สภาองค์กรชุมชนจะนำแผนจัดการภัยพิบัติของ 13 พื้นที่ของชุมพร ไปปรึกษาหารือ เจรจากับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ที่จะทำแผนจัดการภัยพิบัติให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน แล้วนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรพิจารณา

“เราจะพูดคุยกับผู้ว่าฯเกี่ยวกับระบบสื่อสารในกรณีเกิดภัยพิบัติจะมีการประสานงานกันอย่างไรให้ผู้ว่าฯส่งเจ้าหน้าที่ ระดมอุปกรณ์ เครื่องมือกู้ภัยลงมาช่วยเหลือได้ทันท่วงที รวมทั้งสั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่เกิดภัยไปช่วยพื้นที่ที่ประสบภัยได้อย่างไร หากเกิดกรณีดินถล่มเช่นเดียวกับอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ชาวบ้านคงไม่อาจที่จะจัดการได้ หรือโดนพายุหนักๆ” นายจินดา บอกถึงความกังวล

นายจินดา บอกถึงความคาดหวังว่า ชาวบ้านต้องการเข้าไปร่วมซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกับทางจังหวัด อาจมีการส่งชาวบ้านจาก 13 พื้นที่ พื้นที่ละ 10-20 คน เข้าไปร่วมอบรมหลักสูตรต่างๆที่จังหวัดอบรมด้วย

นายจินดา บอกว่า หากเกิดภัยน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ชุมชนพร้อมที่จัดการตัวเองได้อยู่แล้ว หากเกิดฝนตกหนักที่อำเภอพะโต๊ะ น้ำจะหลากอยู่แค่ 30 นาทีแล้วทิ้งริ้วรอยการเซาะตลิ่งพังเท่านั้น น้ำจากพะโต๊ะใช้เวลาถึง 3 วันกว่าจะไปถึงอำเภอหลังสวน การแจ้งเตือนภัยก็สามารถแจ้งทางโทรศัพท์มือถือไปยังอำเภอหลังสวน ให้เตรียมรับมือ

นายจินดา บอกถึงกระบวนการของพื้นที่อำเภอพะโต๊ะว่า จะมีอาสาสมัครป่าต้นน้ำคอยแจ้งเตือนภัยด้วยโทรศัพท์มือถือ ประสานมายังสถานีวิทยุชุมชนคอยประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และแจ้งเตือน

“วิทยุเครือดำ เครื่องแดง เราไม่มีหรอก ถ้าไฟฟ้าดับ เครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ล่มตนก็คิดไม่ตกเหมือนกันว่าจะทำเช่นไร แต่เรามีอาสาสมัครรถจักยานยนต์วิบากคอยช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำหรับแหล่งอาหารการกินชาวบ้านรู้ว่าจะหามาได้จากที่ไหน”

นายจินดา บอกถึงเรื่องความมั่นคงทางอาหารว่า มีการฟื้นฟูการทำนาข้าวขึ้นมาใหม่ มีการปลูกข้าวไร่ในสวนปาล์มน้ำมัน มีการปลูกมัน ปลูกเผือก ปลูกกลอย บนฐานคิดที่ว่าเมื่อเกิดภัยพิบัติจะทำอย่างไรให้มีอาหารกิน ทั้งนี้ยังมีการจัดตั้งกองทุนจัดการภัยพิบัติ โดยนำงบประมาณมาจาก 3 ส่วน คือ ภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ด้วย

ชายฝั่งทะเลคลื่นลมซัดถล่มเสียหายตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ถึงสงขลา ท้องฟ้าขมุกขมัวทึมเทาไปด้วยฝนที่ตกมาเป็นระยะๆ