Skip to main content

ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

                ่

                                       mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

 

ด้วยเพราะหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ที่โครงสร้างอำนาจ ประเด็นการกระจายอำนาจ จึงเป็นประเด็นหลักบนเวทีสมัชชาเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">วันที่ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">5 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่สองและเป็นวันปิดงาน

"Times New Roman"">โทนของงานวันนี้ ฉายจับอยู่ที่การกระจายอำนาจ ตั้งแต่ช่วงแรกไปจนถึงช่วสงปิดงาน

"Times New Roman"">ไล่มาตั้งแต่ปาฐกถาพิเศษ “สิทธิ เสรีภาพของประชาชนในทัศนะอิสลาม” โดยดอกเตอร์อิสมาแอลลุตฟี จะปะกียา ต่อด้วยการฉายวีดิทัศน์ “ทำไมต้องกระจายอำนาจ” จากนั้นเป็นการนำเสนอ “รูปแบบทางเลือกการกระจายอำนาจ” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

"Times New Roman"">ตามด้วยการอภิปรายเรื่อง “ทางเลือกการกระจายอำนาจในรูปแบบพิเศษจังหวัดชายแดนใต้ "Times New Roman"">: มุมมองที่หลากหลาย” ผู้อภิปรายประกอบด้วย นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตกรรมการปฏิรูป นายสวิง ตันอุด ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการทางสังคม และผู้ช่วยศาสตราจารย์บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ นายกสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้

"Times New Roman"">ก่อนหน้านี้ ข้อเสนอเกี่ยวกับการกระจายอำนาจในแบบเฉพาะที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เคยถูกเรียกร้องและหยิบยกขึ้นมาพูดคุยบ้างแล้วในอดีต ดังกรณีข้อเรียกร้อง 7 ประการ เมื่อกว่าหกสิบปีก่อนของฮัจญีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา ผู้นำศาสนาคนสำคัญของปัตตานี

ครั้นเมื่อความรุนแรงระลอกใหม่ปะทุขึ้นในปี 2547 รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เสนอ “นครปัตตานี” เป็นหนึ่งในรูปแบบพิเศษของการกระจายอำนาจต่อหน้าประชาชน ณ มัสยิดกรือเซะและวัดช้างไห้ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเกิด “เหตุการณ์ 28 เมษายน 2547” ไม่นาน

ข้อเสนอดังกล่าวเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ดอกไม้หลากสีเพื่อเป็นแนวทางดับไฟใต้ ถ้อยแถลงครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการถกเถียงเรื่องนี้ในเวลาต่อมา

ต่อมา ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ก็ได้นำเสนอแนวทางดับไฟใต้ต่อรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหารในปี 2549 โดยหนึ่งในนั้นคือการปรับโครงสร้างบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ที่รวบรวมกลุ่มจังหวัดเป็น “มณฑลเทศาภิบาล”

แม้แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในปี 2551 ก็เคยเสนอแนวทางการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษ

ขณะที่ “เครือข่ายประชาชนเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการปกครองในจังหวัดชายแดนใต้” ที่เกาะกลุ่มกันมาตั้งแต่ต้นปี 2552 โดยได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากสถาบันต่างๆ อาทิ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) สภาพัฒนาการเมือง และสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ก็ได้พัฒนาร่างข้อเสนอจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ราว 50 เวที

กระทั่ง สามารถผลักดันออกมาเป็น “ปัตตานีมหานคร” ได้อีกตัวแบบหนึ่ง ผ่านรูปแบบของรายงานวิจัยและร่างพระราชบัญญัติในเวลาต่อมา

ในอีกด้านหนึ่ง แนวทางการกระจายอำนาจยังรองรับด้วยงานวิจัยอื่นๆ อีกหลายตัวแบบ เช่น ข้อเสนอ “ทบวงชายแดนใต้” ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี และดอกเตอร์สุกรี หลังปูเต๊ะ ที่มาจากการทบทวนรูปแบบการถ่ายโอนอำนาจและฟังเสียงสะท้อนจากผู้ให้ข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งออกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2551 โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอการเปลี่ยนผ่านจาก “ทบวงชายแดนใต้สู่เขตพิเศษสามนคร” ของนายอำนาจ ศรีพูนสุข ที่เสนอกระบวนการในการเปลี่ยนผ่านแบบมีจังหวะก้าว และตัวแบบ “เขตบริหารปกครองพิเศษ” ของนายสุริยะ สะนิวา และคณะ

เท่าที่ได้ประมวลข้อเสนอในเรื่องนี้ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา สามารถนำมาสังเคราะห์ และจัดกลุ่มออกเป็น 6 ทางเลือกในการบริหารปกครอง เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พิจารณาลักษณะเด่นของรูปแบบการบริหาร ข้อสนับสนุน และข้อวิจารณ์ของแต่ละทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ 1  คือ “ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)” ทางเลือกที่ 2 คือ “ทบวงการบริหารพื้นที่ชายแดนใต้” mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

ทางเลือกที่ 3 “สามนคร 1 "Times New Roman"">” ทางเลือกที่ 4 “สามนคร 2”

ทางเลือกที่ 5 “มหานคร 1” ทางเลือกที่ 6 คือ “มหานคร 2”

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ทุกรูปแบบทางเลือกจะถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอในที่ประชุมสมัชชาเฉพาะประเด็น mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ช่วงเวลา 9.55–10.25 น. ของวันที่ 5 มกราคม 2555 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี