Skip to main content

ศิริพล สัจจาพันธุ์

เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา

[email protected] โทร.08-1748-3723

 

เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติในจังหวัดสงขลาครั้งที่ 8 ของวันที่ 1 มกราคม 2555 ว่า ลักษณะฝนตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2554 จนถึงเช้าวันที่ 1 มกราคม 2555 กลุ่มฝนขนาดใหญ่เคลื่อนที่จากด้านตะวันออกของประเทศมาเลเซียมุ่งเข้าสู่พื้นที่ทางภาคใต้ของเรา ทำให้มีฝนตกเต็มพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง คาดว่าวันนี้ฝนยังตกอยู่

           nj

                ภาพถ่ายเมื่อเวลา 07.13 น.เช้าวันนี้ ที่ 1 มกราคม 2555

 

สถานการณ์น้ำในจังหวัดสงขลา

มีฝนตกปกคลุมเต็มพื้นที่ ระดับปานกลางถึงหนัก เริ่มมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่แล้ว วันนี้ต้องเฝ้าติดตามตลอด น้ำจากเทือกเขาจะลงมาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับระบบระบายน้ำของแต่ละพื้นที่

 

nm

          ภาพจากสถานีเรดาร์สทิงพระ เวลา 01.30 น.วันที่ 1 มกราคม 2555

 

jj

         ภาพจากสถานีเรดาร์สทิงพระ เวลา 08.30 น.วันที่ 1 มกราคม 2555

 

 

ระดับน้ำในคลองอู่ตะเภา ยังไม่น่าเป็นห่วง แต่น่าจะสูงขึ้นในวันสองวันนี้

 

   กด

            ระดับน้ำคลองอู่ตะเภา ที่บ้านบางศาลา เวลา 08.35 น.

 

,;/

                   ระดับน้ำคลองอู่ตะเภา ที่คลอง ร. color:black">1

 

d

     ระดับน้ำคลองอู่ตะเภา ข้างที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ เวลา 08.35  น

 

ต่อมา เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติในจังหวัดสงขลา ครั้งที่ 9 ของวันที่ 1 มกราคม 2555 เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในจังหวัดสงขลาว่า ด้วยฝนได้ตกสะสมในพื้นที่จังหวัดสงขลาต่อเนื่องมาในช่วงปลายเดือน และได้ตกหนักเต็มพื้นในวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ต่อเนื่องข้ามปีถึงวันที่ 1 มกราคม 2555 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของหลายอำเภอที่อยู่ชายควน การสัญจรของพี่น้องในบริเวณดังกล่าวมีความยากลำบาก เนื่องจากน้ำไหลลงคลองไม่ทัน แต่ระดับน้ำในคลองสายใหญ่อย่างคลองอู่ตะเภา คลองภูมี คลองจะนะ คลองเทพา เป็นต้น ยังไม่ล้นฝั่ง ซึ่งเทศบาลนครหาดใหญ่ได้ขึ้นธงเหลือเป็นการให้เตรียมตัวรับมือแล้ว

แต่ช่วง 3-4 ชั่วโมง ในภาคเช้า อัตราการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำคลองอู่ตะเภาด้านหาดใหญ่ใน มีค่าประมาณ 3 ชั่วโมง ต่อ  ขีด ถ้าหากอัตราไม่ลดลง ประมาณเที่ยงคืนก็จะขึ้นถึงคอสะพาน นั่นหมายถึงน้ำจะทะลักเข้าเมืองหาดใหญ่

แต่ทั้งนี้ มีเงื่อนไขตัวแปรสำคัญ 2 ประการ คือ 1.ศักยภาพของคลอง ร.1 ที่จะสามารถแบ่งการระบายน้ำหลีกออกมิให้เข้าคลองอู่ตะเภา 2.น้ำจากเขาคอหงส์และนาหม่อมที่ไหลลงตัวเมืองหาดใหญ่โดยตรงจะลดลง

จากภาพถ่ายกลุ่มฝนในช่วงหลังเที่ยง พบว่าฝนในบางพื้นที่ลดลงมาก แถบชายแดนพื้นที่สงขลา ด้านปัตตานี(เทพา) และมาเลเซีย(เขาน้ำค้าง)