อารีด้า สาเม๊าะ
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
จบลงไปแล้วสำหรับเวทีใหญ่ต้อนรับปีมะโรง สมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 4–5 มกราคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ถึงเนื้อหาจะดูสวนทางกับบรรยากาศการพักผ่อน จากการต้อนรับปีใหม่ของคนในสามจังหวัดชายแดนใต้ แต่ผู้คนก็เข้าร่วมเวทีนี้กันเนืองแน่นร่วมพันคน เข้ามาร่วมถกร่วมฟังประเด็นชวนเครียด ทั้งการใช้กฎหมายเพื่อรักษาความมั่นคง (ของรัฐ) และประเด็นการกระจายอำนาจ เมื่อบวกรวมกับบรรยากาศที่ดูเป็นทางการ จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ที่ให้ความสนใจส่วนใหญ่ จะเป็นผู้ใหญ่มีอายุ แต่กระนั้นก็มีเยาวชนแซมปนให้เห็นอยู่ไม่น้อย
ส่งผลให้บรรยากาศในห้องประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แตกต่างอย่างชัดเจนกับบรรยากาศนอกห้องประชุมที่มีแดดร้อนแรง แต่กลับมีกลุ่มนักเรียนชายวัย 14–15 ปี นั่งหลบแดดอยู่บริเวณชายคาหน้าห้องประชุม ดูไม่น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของเวทีนี้ แต่เด็กน่าจะมีเหตุผลอะไรบางอย่าง ที่นำพวกเขาเข้าร่วมงานนี้
เมื่อเดินไปสอบถามได้ความว่า เป็นนักเรียนมัธยมต้นของโรงเรียนจริยธรรมวิทยาศึกษามูลนิธิ จากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่เดินทางเข้าร่วมเวทีนี้กว่า 30 คน โดยการนำของอาจารย์อับดุลซูโกร ดินอะ ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมวิทยาศึกษามูลนิธิ หนึ่งในกรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
นักเรียน – น้องๆ นักเรียนมัธยมต้นจากโรงเรียนจริยธรรมวิทยาศึกษามูลนิธิ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
กลุ่มนักเรียนชายประมาณ 10 คน ที่นั่งหลบร้อนกันอยู่ช่วยกันอธิบายว่า มาเพื่อเข้าร่วมเวทีปฏิรูปชายแดนใต้ เมื่อถูกถามว่าเวทีสมัชชามีไว้เพื่ออะไร คำตอบที่ได้รับน่าสนใจยิ่ง
“เพื่อให้คนในสามจังหวัดชายแดนใต้ ได้มีอำนาจในการตัดสินใจ และเกิดความยุติธรรม”
เป็นคำตอบที่ตรงวัตถุประสงค์การจัดเวที “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน”
ถึงกระนั้นก็ยังมีหนุ่มน้อยใส่แว่นอีกคนทำหน้าไม่เข้าใจคำถาม คำตอบจากปากหนุ่มน้อยคือ
“ไม่รู้”
เมื่อถูกถามด้วยคำถามยาวกว่าหนึ่งประโยค หนุ่มน้อยนายนี้ ถึงกับหันไปถามเพื่อนๆ ด้วยภาษามลายูว่า
“พี่เขาถามอะไร”
ไม่น่าแปลกใจมากนัก ถ้าเป็นเด็กนักเรียนจากสถาบันปอเนาะ ที่สอนด้วยภาษามลายูทั้งหลักสูตร อาจจะไม่เข้าใจภาษาไทย แต่โรงเรียนจริยธรรมวิทยามูลนิธิ เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ที่ไม่น่าจะมีเด็กไม่เข้าใจภาษาไทย
เมื่อสอบถามกลับไป ก็ได้คำตอบที่ทำให้แปลกใจมากยิ่งขึ้น เมื่อเพื่อนๆ ช่วยกันตอบว่า
“เขาอยู่ต่างประเทศมานานครับ เพิ่งกลับมา” ทำให้เด็กชายคนนี้ น่าสนใจทันที
เด็กชายคนนี้ชื่อ อัฟฟาน บากา อายุ 16 ปี เพิ่งกลับมาใช้ชีวิตในประเทศไทยได้เพียง 1 ปี 6 เดือน
ก่อนหน้านี้อยู่ที่รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกามานานกว่า 15 ปี นานพอที่จะทำให้อัฟฟานไม่เข้าใจภาษาไทยมากนัก
จึงไม่แปลกที่จะได้ยินคำตอบอย่างตรงไปตรงมาจากปากของเด็กหนุ่มวัย 16 ปี คนนี้ เมื่อถามว่า ได้อะไรจากเวทีนี้บ้าง
“I don’t understand what they are talking about”
ถ้าแปลตรงไปตรงมาก็คือ “ผมไม่เข้าใจว่าเขาพูดเรื่องอะไรกัน”
นั่นด้วยเนื้อหาที่ยากเกินวัยนี้จะเข้าใจ และภาษาไทยที่ยังใช้ได้ไม่แข็งแรง ทำให้หนุ่มน้อยคนนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากการมาในครั้งนี้มากนัก และยังมีเหตุผลที่น่าฟังตามประสาเด็กๆ อยู่
“ผมอยากออกมาเปิดหู เปิดตา และอยากให้สังคมข้างนอกรู้จักโรงเรียนของพวกเรา ผ่านเครื่องแบบนักเรียนที่พวกผมใส่มา แค่นั้นเอง” ทั้งหมดยังคงเป็นคำตอบผ่านภาษาอังกฤษอยู่เช่นเดิม
เหตุผลของเด็กๆ ดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากมุมมองของสองหนุ่มนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 คณะศิลปศาสตร์ วิชาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง ที่เข้าร่วมแค่วันเดียวคือวันที่ 5 มกราคม 2555 ซึ่งวันนี้มีการถกกันในประเด็นที่ทั้งสองสนใจ นั่นคือ “การกระจายอำนาจ”
นักศึกษา – สองหนุ่มนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 คณะศิลปศาสตร์ วิชาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี
หนึ่งในสองคนคือ นายซาบีดี หลงหัน เป็นนักศึกษาชาวจังหวัดสตูล ที่บอกว่า เข้าร่วมเวทีครั้งนี้ เพื่อมาฟังเรื่องกระจายอำนาจโดยเฉพาะ และมีความเชื่อมั่นว่า การกระจายอำนาจจะสามารถช่วยให้ปัญหาของสามจังหวัดดีขึ้น หากประชาชนในพื้นที่มีสิทธิในการตัดสินใจด้วยตัวเอง จากการติดตามเวทีกระจายอำนาจมาสักพักเห็นว่า เป็นเรื่องดีทำให้ประชาชนเข้าใจเรื่องการกระจายอำนาจ เพราะประชาชนคือเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่
อีกเหตุผลของความสนใจ เขาอธิบายสั้นๆ ว่า “ผมสนใจในฐานะที่เป็นมุสลิมคนหนึ่ง ประเด็นหลักของคนที่นี่คือคนมุสลิมกำลังเดือดร้อน ผมจึงอยากมารับฟังว่า ที่นี่พี่น้องเราจะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร”
นี่เป็นเพียงกลุ่มผู้ให้ความสนใจเวทีสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ชายแดนใจต้ไม่ทอดทิ้งกัน” คราวนี้ ที่ทำให้เห็นว่า การกระจายอำนาจเป็นที่รับรู้และเข้าถึงกลุ่มคนทุกระดับหรือไม่
สำคัญยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาควรจะมีส่วนร่วมออกแบบการอยู่ร่วมกันของบ้านเมืองตัวเองอย่างไร
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
8ปีไฟใต้ จัดงานใหญ่สมัชชาปฏิรูป เน้นกระจายอำนาจ-แก้ปัญหายุติธรรม
http://www.deepsouthwatch.org/node/2626
สมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้ ค้นทางดับไฟสู่การจัดการตนเอง
http://www.deepsouthwatch.org/node/2636
2555สมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้ เดินสายจัด200เวทีกระจายอำนาจ
http://www.deepsouthwatch.org/node/2601
เวทีสมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้ ครั้งที่ 1 "ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน"
http://www.deepsouthwatch.org/node/2619
เปิดเบื้องหน้าเจาะเบื้องหลัง 2555ปีปฏิรูปชายแดนใต้
http://www.deepsouthwatch.org/node/2648
2555‘สามจังหวัดชายแดนภาคใต้’เดินหน้าปฏิรูป
http://www.deepsouthwatch.org/node/2644
เยียวยาเหยื่อไฟใต้ สู่กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์ (1)
http://www.deepsouthwatch.org/node/2651
เยียวยาเหยื่อไฟใต้ สู่กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์ (2)
http://www.deepsouthwatch.org/en/node/2660
กระจายอำนาจ สู่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐชายแดนใต้ (1)
http://www.deepsouthwatch.org/node/2662
กระจายอำนาจ สู่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐชายแดนใต้ (2)
http://www.deepsouthwatch.org/node/2665
กระจายอำนาจ สู่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐชายแดนใต้ (3)
http://www.deepsouthwatch.org/node/2671
กระจายอำนาจ สู่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐชายแดนใต้ (4)
http://www.deepsouthwatch.org/en/node/2678
กระจายอำนาจ สู่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐชายแดนใต้ (5)
http://www.deepsouthwatch.org/node/2687
‘สมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้’เริ่มแล้ว ถกปมยุติธรรม–กระจายอำนาจวันนี้
http://www.deepsouthwatch.org/node/2688
เริ่มแล้ว‘สมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้’ สภาประชาสังคมจี้เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
http://www.deepsouthwatch.org/node/2690
ประชาสังคมจี้รัฐเยียวยาไฟใต้ทุกกลุ่ม ให้ทบทวนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน–กฎอัยการศึก
http://www.deepsouthwatch.org/node/2693
สาวมุสลิมหนีตามทหารอีสาน กอ.รมน.เผยมีเป็นพัน รับรีบแก้
http://www.deepsouthwatch.org/node/2696
ประเวศ วะสี ‘ชายแดนใต้ต้องไม่ทอดทิ้งกัน’
http://www.deepsouthwatch.org/node/2697
เปิดข้อมูลเหยื่อไฟใต้ ที่ภาคประชาสังคมเยียวยา
http://www.deepsouthwatch.org/node/2699
กระจายอำนาจชายแดนใต้ เสนอ6รูปแบบการปกครอง
http://www.deepsouthwatch.org/node/2702
ประชาสังคมชายแดนใต้ประกาศ เปิดเวทีผลักดัน‘กระจายอำนาจ’
http://www.deepsouthwatch.org/node/2701
คำตอบประชาสังคมชายแดนใต้ ทำไมต้องกระจายอำนาจ?
http://www.deepsouthwatch.org/node/2700
อิสมาแอลลุตฟี จะปะกียา ‘อัลลอฮทรงบัญชาให้เรารักษาความยุติธรรม’
http://www.deepsouthwatch.org/node/2708
กระจายอำนาจชายแดนใต้ เสนอ6รูปแบบการปกครอง
http://www.deepsouthwatch.org/node/2702
‘พงศ์โพยม’เตือนอย่าหลงโมเดล ทิ้งโจทย์13ข้อปฏิรูปชายแดนใต้
http://www.deepsouthwatch.org/node/2710
เยาวชนกับเวที(เครียดๆ)‘กระจายอำนาจ’ สีสันวันส่งท้ายสมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้
http://www.deepsouthwatch.org/node/2718