Skip to main content

อารีด้า สาเม๊าะ

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

สัมภาษณ์นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมร่วมกับองค์กรภาคประชาชนร่างพ.ร.บ.ป้องกันและต่อต้านการทรมาน อธิบายทำไมไทยต้องออกกฎหมายต้านทรมานตามอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติ

 

      h

 

mso-fareast-theme-font:minor-latin;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">                 พูนสุข พูนสุขเจริญ

         ก่อนสิ้นปี 2554 มีความเคลื่อนไหวสำคัญอีกอย่างหนึ่งในกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานเกี่ยวกับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั่นคือการร่างร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและต่อต้านการทรมาน พ.ศ....  โดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกับเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เป็นเจ้าภาพหลัก

เป็นการเคลื่อนไหวควบคู่ไปพร้อมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการร่างแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการซ้อมทรมานด้วยเช่นกัน

แน่นอนว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้มีเป้าหมายอยู่ที่ปัญหาการซ้อมทรมานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งที่ผ่านมามีการร้องเรียนจากคนในพื้นที่ว่า ถูกเจ้าหน้าที่รัฐทำร้ายร่างกายเพื่อให้รับสาภาพระหว่างถูกควบคุมตัวมาตลอดในช่วงก่อนหน้านี้

นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ เจ้าหน้าที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรมคือหนึ่งในทีมงานที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเรื่องนี้ อธิบายว่า ทำไมประเทศไทยต้องมีกฎหมายต่อต้านการทรมาน ดังนี้

“ประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้ มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี หรือเรียกสั้นๆ ว่าอนุสัญญา CAT แห่งสหประชาชาติ ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2551 ทำให้ประเทศมีพันธกรณีจำเป็นต้องออกกฎหมายตามอนุสัญญาฯ ดังกล่าว แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายลูกเกี่ยวกับการเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการทรมานผู้ต้องขังเพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูล

ขณะเดียวกัน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กำลังร่างกฎหมายลูกเกี่ยวกับการซ้อมทรมานในส่วนของภาครัฐ โดยมีแนวโน้มว่าจะมีการร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา และร่างแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยการเพิ่มบางมาตราเข้าไป เช่น นิยามการซ้อมทรมานและเพิ่มฐานความผิดในเรื่องของการทรมาน ฉะนั้นภาครัฐจะยังใช้กลไกเดิมอยู่

ทว่า เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เตรียมที่จะเสนอกลไกใหม่ออกมา เพราะเห็นว่า กลไกเดิมไม่เอื้อต่อการลดการทรมานได้ โดยเสนอให้มีคณะกรรมการเฉพาะ 2 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการสืบสวนสอบสวน และคณะกรรมการเยียวยา เพื่อให้การทำงานประเด็นการซ้อมทรมาน สามารถหาผู้กระทำผิดได้ ซึ่งต่างจากกลไกเดิมที่ผู้ถูกซ้อมทรมาน ต้องหาหลักฐานมายืนยันว่าถูกซ้อมจริง แทนที่ควรจะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะพิสูจน์ว่า ไม่ได้ซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัว

ที่ผ่านมามีตัวอย่างผู้ถูกควบคุมตัว ในฐานะผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้องเรียนต่อองค์กรอิสระว่า ถูกซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพในระหว่างการถูกควบคุมตัว ซึ่งแทนที่จะมีกลไกตรวจสอบสืบสวน สอบสวนตามข้อเท็จจริง เพื่อพิสูจน์ว่ามีการซ้อมทรมานจริงหรือไม่ กลับถูกเจ้าหน้าที่ฟ้องร้องข้อหาแจ้งความเท็จ ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าที่จะร้องเรียนเพื่อเอาผิดต่อเจ้าหน้าที่

คดีนักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมานเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า ไม่สามารถเอาผิดทางอาญาเจ้าหน้าที่กระทำผิดได้ เพราะไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่กระทำการซ้อมทรมานนักศึกษา จึงทำให้สามารถฟ้องร้องได้แค่ในส่วนของทำร้ายร่างกายอย่างเดียว

ขณะนี้เครือข่ายองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน นำโดยเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF) ได้พยายามให้มีการแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าว โดยจะเสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและต่อต้านการทรมาน พ.ศ. ... ซึ่งเป็นกฎหมายที่ภาคประชาชนเสนอ แต่ต้องมีเสียงสนับสนุน 10,000 รายชื่อ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ร่างกฎหมายฉบับนี้ จะถูกเสนอพร้อมๆ กับร่างกฎหมายของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นโอกาสในการถกเถียงแลกเปลี่ยนกันในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหาจุดร่วมที่ดีที่สุดของกฎหมายดังกล่าว แต่ก็มีเสียงที่ไม่เห็นด้วยจากภาครัฐ โดยให้เหตุผลว่า เป็นการตั้งคณะทำงานที่ซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองงบประมาณ

ขณะนี้เครือข่ายองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เตรียมประสานงานกับองค์กรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการร่วมเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว ให้ได้ 10,000 รายชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร

สำหรับประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว สามารถติดตามข่าวสารได้ทางเวปไซต์ www.naksit.org หรือข่าวประชาสัมพันธ์จากองค์กรภาคีในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงาน

“คุณสมบัติประชาชนที่สามารถมาร่วมเสนอร่างกฎหมายต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง และได้ใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาด้วย”

ส่วนหลักฐานประกอบคือสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมกรอกข้อมูลยินยอมด้วย เพื่อให้แน่ชัดว่าเป็นความยินยอมจากประชาชนจริง แต่ถ้ายังไม่พร้อมจะให้ชื่อแก่เครือข่าย ก็สามารถมีส่วนร่วมในทางอื่นได้ เช่นการรณรงค์ต่อต้านการซ้อทรมาน เป็นต้น”