Skip to main content

ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ

 

 

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

                       ก

 

EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">                        ภควิน แสงคง

นายภควิน แสงคง ที่ปรึกษาเครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทยจังหวัดระนองและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แกนนำเครือข่ายไทยพลัดถิ่น เปิดเผยว่า ทางเครือข่ายไทยพลัดถิ่น มีความจำเป็นต้องเคลื่อนไหว  ติดตามร่างพระราชบัญญัติ สัญชาติ (ฉบับที่…) พุทธศักราช ….. ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2555 เป็นต้นไป โดยวันที่ 14 มกราคม 2555 จะจัดเวทีวิชาการเพื่อเรียนรู้ร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่) พุทธศักราช …. ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พุทธศักราช …. วุฒิสภา  ก่อนนำเข้าพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 ต่อไป

นายภควิน เปิดเผยว่า สาเหตุที่ต้องออกมาเคลื่อนไหวในช่วงนี้ เนื่องจากเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้แปรญัติเพิ่มเติมมาตรา 7/1 มีเนื้อหาว่า “มาตรา 7/1 การสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามบทนิยามคำว่า “ไทยพลัดถิ่น” ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ หมายถึง การสำรวจจัดทำทะเบียนของคนไทยพลัดถิ่นซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ”

นายภควิน กล่าวว่า ข้อความข้างต้น ส่งผลให้มีการกำหนดเงื่อนไขของกลุ่มบุคคลที่จะได้สัญชาติไทยไว้ 3 ประการ โดยใช้ทะเบียนราษฎรเป็นเครื่องมือกล่าวคือ 1.ต้องเป็นผู้ที่จัดทำทะเบียนคนไทยพลัดถิ่น 2.ต้องเป็นผู้ที่มีทะเบียนแล้ว 3.ต้องเป็นผู้ที่จัดทำทะเบียนก่อนวันที่กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่...) พุทธศักราช …… จะนำเข้าพิจารณาวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ต่อที่ประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 16 มกราคม 2555 นี้

 

 

..................

 

 

ร่างฯที่ผ่านกรรมาธิการฯวุฒิสภา

เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕

 

บันทึกหลักการและเหตุผล

ประกอบร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. ....

                       

 

หลักการ

 

                        แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ดังต่อไปนี้

(๑) เพิ่มบทนิยามคำว่า “คนไทยพลัดถิ่น” (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔)

(๒) ให้มีคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น และหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น (เพิ่มมาตรา ๙/๑ มาตรา ๙/๒ มาตรา ๙/๓ มาตรา ๙/๔ และ       มาตรา ๙/๕)

                        (๓) ให้คนไทยพลัดถิ่นซึ่งได้การรับรองเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด รวมถึงบุตรของคนไทยพลัดถิ่นดังกล่าวที่ไม่ได้ถือสัญชาติของประเทศอื่นหรือได้สัญชาติไทยแล้ว ก็ได้สัญชาติไทยโดย  การเกิดด้วย (เพิ่มมาตรา ๙/๖ และมาตรา ๙/๗)

 

เหตุผล

 

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปัญหาสัญชาติให้คนไทยพลัดถิ่นซึ่งเป็นคนเชื้อสายไทยที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย โดยให้สัญชาติไทยโดยการเกิดแก่บุคคลดังกล่าวที่ยังไม่ได้ถือสัญชาติของประเทศอื่น และได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งและมีวิถีชีวิตเป็นคนไทย โดยได้รับการสำรวจตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และเพื่อให้เป็นไปตามหลักสืบสายโลหิตตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ จึงกำหนดให้บุตรของคนไทยพลัดถิ่นที่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดโดยพระราชบัญญัตินี้ที่ไม่ได้ถือสัญชาติของประเทศอื่นหรือได้สัญชาติไทยแล้ว ก็ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดด้วย  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

mso-fareast-font-family:Calibri;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">


 

 

ร่าง

พระราชบัญญัติ

สัญชาติ (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. ....

                       

 

.........................................

.........................................

..........................................

 

..........................................................................................................................................................................................................................

 

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ

 

..........................................................................................................................................................................................................................

 

มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....”

 

มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

                        มาตรา ๓  ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “คนไทยพลัดถิ่น” ระหว่างบทนิยามคำว่า “คนต่างด้าว” และบทนิยามคำว่า “คณะกรรมการ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘

                        ““คนไทยพลัดถิ่น” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีเชื้อสายไทยที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่น โดยเหตุอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีต ซึ่งปัจจุบันผู้นั้นมิได้ถือสัญชาติของประเทศอื่น และได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งและมีวิถีชีวิตเป็นคนไทย โดยได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรือเป็นผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกันตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”

 

                        มาตรา ๔  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๙/๑ มาตรา ๙/๒ มาตรา ๙/๓ มาตรา ๙/๔ มาตรา ๙/๕ มาตรา ๙/๖ และมาตรา ๙/๗ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘

                        “มาตรา ๙/๑  ให้มีคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ประกอบด้วย

(๑) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ

 

 

(๒) ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ  และผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินเจ็ดคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยต้องมีนักวิจัยหรือนักวิชาการทางด้านกฎหมายสัญชาติหรือสถานะบุคคล ด้านสังคมวิทยาหรือมานุษยวิทยา ด้านประวัติศาสตร์หรือ  กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาชนรวมอยู่ด้วย เป็นกรรมการ

ให้อธิบดีกรมการปกครองเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีกรมการปกครองแต่งตั้งข้าราชการของกรมการปกครองอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา ๙/๒  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙/๑ (๓) มีวาระการดำรงตำแหน่ง    คราวละสองปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่กรรมการ    ผู้ทรงคุณวุฒิเดิมพ้นจากตำแหน่งตามวาระ

มาตรา ๙/๓  ให้คณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) พิจารณาและให้การรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น

(๒) เสนอแนะและให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงหรือการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับคนไทยพลัดถิ่นโดยไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา ๒๗

(๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๙/๔  ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ การพ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และการประชุมของคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทย  พลัดถิ่นโดยอนุโลม

มาตรา ๙/๕  ผู้ใดอ้างว่าเป็นคนไทยพลัดถิ่นประสงค์จะได้การรับรองความเป็นคนไทย พลัดถิ่น ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอแล้ว ให้เสนอคำขอนั้นต่อคณะกรรมการรับรอง
ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นเพื่อพิจารณา

การพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข  ที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๙/๖  ให้ผู้ซึ่งคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นให้การรับรอง     ความเป็นคนไทยพลัดถิ่น เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

บุตรของคนไทยพลัดถิ่นซึ่งได้รับสัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด เว้นแต่ผู้นั้นถือสัญชาติของประเทศอื่น

มาตรา ๙/๗  ให้นำมาตรา ๙/๖ วรรคสอง มาใช้บังคับกับบุตรของคนไทยพลัดถิ่นซึ่ง   บุตรนั้นได้รับสัญชาติไทยมาก่อนที่คนไทยพลัดถิ่นได้รับการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นตามมาตรา ๙/๖     วรรคหนึ่ง”

 

 

 

                        มาตรา ๕  ให้ถือว่าคนไทยพลัดถิ่นที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยหรือได้สัญชาติไทยแล้ว   ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นคนไทยพลัดถิ่นที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และ  ให้มีสถานะเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดด้วย

 

มาตรา ๖  ในวาระเริ่มแรก ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙/๑ (๓) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

มาตรา ๗  การดำเนินการออกกฎกระทรวงตามมาตรา ๙/๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

มาตรา ๗/๑  การสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามบทนิยามคำว่า “คนไทยพลัดถิ่น” ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ หมายถึงการสำรวจจัดทำทะเบียนของคนไทยพลัดถิ่นซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

มาตรา ๘  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 

 

.........................................

         นายกรัฐมนตรี