Skip to main content

 

 

 

background:white">เมื่อเวลา background:white">13.00 น. วันที่ 25 มกราคม 2555 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีการจัดงาน “สิทธิในกระบวนการยุติธรรมสำหรบเด็กและเยาวชนกับการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง” โดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โครงการ Langrin Learn Rights ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และ กลุ่ม BINTANG PHOTO ในการจัดงานในครั้งนี้มีการจัดนิทรรศการ พร้อมกับเปิดตัวหนังสือ “รอยแผลบนดวงจันทร์” และเสวนาเรื่องกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนกับการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง

นางสาวปรีดา ทองชุมนุม จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการศึกษาการบังคับใช้กฎหมายกับเด็กและเยาวชน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ประเด็นการปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม ควบคุม และซักถาม รวมถึงการควบคุมหรือกักขังเด็ก จะต้องได้รับการคุ้มครอง และดำเนินการภายใต้หลักประกันเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของเด็กและเยาวชนอย่างเคร่งครัด

นายณัฐกร ยกชูธนชัย ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า เมื่อมองจากวิธีคิด วิธีการทำงาน และมิติชุมชน การจับกุมเด็กและเยาวชนที่มาจากการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การนำกฎหมายความมั่นคงมาบังคับใช้กับเด็กและเยาวชนเหมาะสมหรือไม่ ทุกคนต้องเคารพกฎหมาย แต่การบังคับใช้กฎหมายมีบทลงโทษ เมื่อมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้กฎหมายฉบับใด ย่อมเป็นเสียงสะท้อนที่จะนำไปสู่การแก้ไขกฎหมาย หรือยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายฉบับนั้นในพื้นที่

นายปรีอนันต์ ติยานนท์ ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้แยกประเภทของผู้กระทำความผิดว่า กระทำความผิดในข้อหาอะไร มีการโปรแกรมบำบัดแก้ไขฟื้นฟู ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่ให้ออกกำลังกาย ด้านจิตวิทยา การฝึกอาชีพ และกระตุ้นด้านการศึกษาให้เด็กและเยาวชนต้องการกลับไปศึกษาต่อ

นายอุสมาน มะสง จากมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กล่าวว่า 8 ปีของเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้เกิดเด็กกำพร้ากว่า 5,000 คน การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จึงไม่ใช่เพียงแค่ให้เงินแล้วก็จบ แต่ต้องเยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจด้วย