ไมตรี จงไกรจักร
เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง
ตัวแทนคนไทยพลัดถิ่นไปจำนวน 6 คนเดินทางไปพบกับสื่อต่างๆ ด้วยตัวเอง เช่น เนชั่น คมชัดลึก เดลินิวส์ แนวหน้า มติชน ช่อง 5 ช่อง 3 ช่อง 7 ช่อง 11 เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของตนเอง ให้สื่อมวลชนเห็นถึงปัญหาจากร่างพระราชบัญญัติสัญชาติฯ มาตรา 3 ที่จะส่งผลต่อพี่น้องไทยพลัดถิ่น 90 เปอร์เซ็นที่อยู่ในเครือข่ายฯ จะไม่สามารถเข้ารับสิทธิตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ที่กำลังจะผ่านที่ประชุมวุฒิสภา ในวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2555 นี้
“อีกสองเดือนหนูก็จะจบ ม.3 แล้ว หนูก็ยังไม่รู้เลยว่าจะไปเรียนต่อที่ไหน อนาคตหนูจะเป็นอย่างไร ฐานะทางบ้านหนูก็ยากจนเสียเหลือเกิน ปัญหาใหญ่ระดับประเทศก็รุมเร้าจนหนูเองเกือบจะหมดหวังกับผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้แล้ว หนูเป็นคนไร้สัญชาติ มันทำให้หนูมองไม่เห็นอนาคตตัวเองเลย ความฝันหนูคงต้องพังทลายลงแน่ เส้นทางชีวิตที่หนูฝันไว้ หนูอยากเป็นนักพัฒนาชุมชน อยากนำความรู้ไปพัฒนาหมู่บ้าน” ชาลิด้า ขุนภักดี กล่าวอย่างสิ้นหวัง
“ถ้ายายมีโอกาสได้บัตรประชาชนแล้วยายตาย ไม่ต้องไปแจ้งตายหรอก...ให้เผาบัตรประชาชนพร้อมไปกับยาย เผื่อเกิดชาติหน้า..ยายจะได้เกิดเป็นคนมีบัตรประชาชน” ยายบี วัย 63 ปี ตอกย้ำอีกคน
mso-hide:all">บ้านและสังคมที่ตัวเองอยู่ แต่ฉันคงไม่มีโอกาสได้เรียน ส่วนคนที่มีฐานะบางคนไม่เรียน การต่อสู้มาตลอดระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ที่เราต่อสู้กันมา บางคนถามว่า สู้เพื่ออะไร สู้เพื่อใคร สู้แล้วได้อะไร ถ้าวันนี้มีคนถามอีก ฉันก็จะตอบว่า จะด้วยหัวใจ สู้เพื่อความฝัน ความหวัง อนาคตและ"สิทธิเสรีภาพ สิทธแห่งความเป็นคนไทย อย่างเต็มตัว ไม่กี่เดือนแล้ว สิ ที่ฉันจะเรียนจบ....ม.3 ฉันและพี่ชาย อยากเรียน ฉันอยากเรียนพัฒนา ส่วนพี่ อยากเรียนศิลปะ พี่ชายฉันชอบวาดรูป เขาอยากเป็ครูสนอศิลปะ ส่วนพี่สาวคนโตของฉัน เขาออยากเป็นนักข่าวและนักเขียน....เราสามคนพี่น้องต่างมีความฝันคนละแบบแต่สิ่งที่เราฝันมันเลือนลางเหลือเกิน.......เราสามคนแม้จะมีความฝันคนละแบบ แต่เราก็มีเป้าหมายร่วมกันคือ อยากเอาความรู้มาช่วยคนที่เดือดร้อน มาพัฒนาประเทศและชุมชน สังคมที่เราอยู่ เราสามคน....กำลังจะจบ ม.3 ในไม่ช้านี้........ฉันคิดแล้วร้องไห้ พี่สาวและพี่ชายฉันปลอบใจฉันว่า ...อย่าท้อ เพราะคนเราต้องมีความหวัง พี่ชายอาสาที่จะส่ง ฉันกับพี่สาวเรียน และเขาก็ค่อยเรียน กศน.เอา แต่พี่สาวบอกว่า ไม่อยากให้น้องเรียน กศน.ไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่ถ้าเรียนสายตรงแล้ว ก็อยากให้เรียนไป.....ความหวัง ความฝัน อนาคต ไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง ในกี่วันที่ผ่านมา อาจารย์ถามเด็กๆทุกคน รวมถึงฉันและเพื่อนๆว่า ใครมีแผนที่จะไปเรียนต่อที่ไหน ฉันพยายามหนีหน้าครู พยายามหนีหน้าเพื่อน เพื่อไม่อยากตอบคำถามนี้ ฉันเจ็บปวดมาก .........คิดๆไปคิดมาว่า จะทำยังไง........ถ้าหากความดีที่ทำและสร้างมา.....มันคงส่งผลให้มีคนดีๆที่จะมาสนับสนุพวกเราในการเรียนต่อ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีของฉัเด็กๆ ผู้สูงอายุ ผู้หญิง กำลังเร่งมือเก็บของใส่กระเป๋า เตรียมข้าวสาร หม้อ กะละมัง ฯลฯ ขนขึ้นรถ เพื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ
“เร่งมือเข้าหน่อย เสาร์ อาทิตย์นี้แหละอาจเป็นครั้งสุดท้ายของการต่อสู้ของพวกเรา หรือลุงอาจจะตายเสียก่อนที่จะได้บัตร ก็ได้ยังไม่รู้เลย เครื่องหนังตะลุงเอาขึ้นรถด้วย แล้วคณะมโนราห์เขาจัดของขึ้นรถเรียบร้อยหรือยัง เราไปนอนหน้ารัฐสภากันเลยนะเตรียมให้พร้อม” ผู้อาวุโสของเครือข่ายตะโกนบอก
เมื่อปี 2554 ขบวนคนไทยพลัดถิ่นได้เดินเท้าจากด่านสิงขรถึงรัฐสภา เพื่อผลักดันร่างกฎหมายสัญชาติ ว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่น จนผ่านวาระ 1–2–3 ของสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) สามวาระรวด
ปัจจุบันกฎหมายดังกล่าว กำลังอยู่ในการพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติฯ วุฒิสภา ปัญหาก็คือคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ ตัดและเพิ่มเติมตัวบท ในมาตรา 3 จนทำให้คนไทยพลัดถิ่นที่พยายามผลักดันกฎหมายนี้ ไม่มีโอกาสจะได้สัญชาติไทยอีกต่อไป
สาระสำคัญอยู่ที่การกำหนดคำนิยาม “คนไทยพลัดถิ่น” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีเชื้อสายไทยที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่น โดยเหตุอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีต ซึ่งปัจจุบันผู้นั้นมิได้ถือสัญชาติของประเทศอื่น และได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่ง และมีวิถีชีวิตเป็นคนไทย โดยได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรือเป็นผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกันตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ก่อนวันที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีผลใช้บังคับ
ข้อเท็จจริงก็คือ
ที่ผ่านมากรมการปกครองไม่เคยออกประกาศสำรวจ “คนไทยพลัดถิ่น” เป็นการเฉพาะ มีแต่การสำรวจชนกลุ่มน้อย และคนไร้สถานะทางทะเบียนฯ เท่านั้น แน่นอน อาจจะมีชื่อคนไทยพลัดถิ่นบางส่วนอยู่ในจำนวนนั้นบ้าง แต่ก็เป็นจำนวนน้อย ดังนั้น การตัดออกและเพิ่มเติม เนื้อความในมาตรา 3 ทำให้คนไทยพลัดถิ่น ที่ออกมาผลักดันกฎหมายนี้ ตกหล่นไม่ได้รับสัญชาติเกือบทั้งหมด
กรณีข้อกังวลของสมาชิกวุฒิสภา ที่ว่าจะมีคนนอกที่ไม่ใช่คนไทยจะอาศัยกฎหมายฉบับนี้ขอสัญชาติไทยเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องตัดและเพิ่มเติมตัวบทในมาตรา 3 นั้น
ข้อเท็จจริงก็คือ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ระบุจะให้สัญชาติไทยเฉพาะ “ผู้มีเชื้อสายไทย....และได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่ง” แล้วเท่านั้น ซึ่งสามารถตรวจสอบจากบ้านที่อยู่อาศัยจริงได้ชัดเจนในทุกชุมชน
อันที่จริงแล้ว ร่างกฎหมายนี้มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เพราะกำหนดให้มี คณะกรรมการที่มาจากหลายฝ่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ฝ่ายความมั่นคง นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่ออกหลักเกณฑ์/พิจารณารับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ซึ่งจะเป็นกระบวนการและกลไกในการแก้ไขปัญหาที่โปร่งใส และสร้างความเป็นธรรมได้มากกว่าที่ผ่านมา
เครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น จึงนำเรื่องราวชีวิตความเป็นจริงของคนในซอกหลืบของสังคมมาเปิดเผยอีกครั้ง โดยเปิดเวทีสื่อสารต่อสาธารณะ “ไทยพลัดถิ่นชี้แจงสมาชิกวุฒิสภากรณีมาตรา 3 ของร่างพระราชบัญญัติสัญชาติฯ” ที่หน้ารัฐสภามาตั้งแต่เวลา 17.00 น. วันที่ 28 มกราคม 2555
เวลา 10.00 น. วันที่ 29 มกราคม 2555 ก็ได้เปิดเวทีเสวนามาตรา 3 ทำลายโอกาสไทยพลัดถิ่นได้พิสูจน์ตัวตน ต่อด้วยเวทีวัฒนธรรมทำความเข้าใจมาตรา 3 ร่างพระราชบัญญัติสัญชาติฯ
วันที่ 30 มกราคม 2555 รณรงค์และยื่นข้อเสนอต่อประธานวุฒิสภา ประธานกรรมาธิการวุฒิสภาทุกคณะ พร้อมกับส่งตัวแทนเข้าร่วมฟังการประชุมวุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
“เมื่อไหร่......กรรมาธิการวิสามัญฯ วุฒิสภา และผู้มีอำนาจจะเข้าใจเราสักที เมื่อไหร่จะเลิกพูดถึงความมั่นคง เมื่อไหร่จะเลิกมองว่าเราเป็นตัวร้ายทำลายความมั่นคง และเมื่อไหร่คุณจะคืนความมั่นคงในชีวิตให้พวกเราคนไทยพลัดถิ่นเสียที...
หากพี่น้องไทยพลัดถิ่นคือคนที่จะเป็นตัวทำลายความมั่นคง ได้โปรดฆ่าพวกเราเสียเถอะ หรือสร้างเรือสร้างแพขนาดใหญ่ แล้วขนพวกเราไปทิ้งกลางทะเลก็ได้ เราไม่รู้ว่าจะอยู่ต่อไปทำไม เพราะแม้แต่คนที่ร่วมสายเลือดยังไม่เชื่อว่า เราคือสายเลือดเดียวกัน.....
มันไม่มีประโยชน์เลยที่พวกเราจะต้องอยู่บนโลกใบนี้ แบบคนไร้ตัวตนในสังคมเช่นนี้อีกต่อไป โปรดพิจารณา”
อาริฉ๊ะ แก้วนพรัตน์ เยาวชนที่เติบโตผ่านกระบวนการต่อสู้มา 10 ปีเต็ม พูดออกมาด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ