ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา (สจน.)
color:#333333">การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่ง ในการหาพื้นที่ที่จะตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั้งในภาคอื่นๆ และภาคใต้อีก 9 โรง ในวันนี้การนำเสนอโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แผ่วเบาลง เพื่อกลบกระแสความน่ากลัวของผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น แต่กลับมาโหมกระพือโรงไฟฟ้าถ่านหินที่นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย โดย กฟผ.บอกอยู่เสมอว่า
color:#333333">“ประเทศไทยจำเป็นต้องสำรองพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ตลอดไป และพยายามหาพื้นที่ตั้งที่เหมาะสมสะดวกในการขนส่ง โดยสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ และถ้าต้นทุนถูกลง ประชาชนก็จะได้ใช้ไฟถูกลง”
color:#333333">เจ้าหน้าที่ กฟผ. ใช้วาทกรรมดังกล่าว กรอกหูประชาชนในพื้นที่ในทุกวันทุกกิจกรรม ที่ กฟผ. ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่โรงเรียน วัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านการสื่อสารกับผู้ปกครองท้องที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี แจกอุปกรณ์เครื่องเขียน อุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์ทั้งหลายที่มีกิจกรรมเกิดขึ้นในชุมชน วันเด็ก วันสงกรานต์ วันลอยกระทง เป็นต้น
color:#333333">ที่จังหวัดตรัง กฟผ. หมุนเวียนพาประชาชนในพื้นที่ของตำบลวังวน อำเภอกันตัง ไปท่องเที่ยวทุ่งดอกบัวตอง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางหลายรอบ เพื่อแสดงให้เห็นว่า กฟผ.จัดการมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ทั้งหมด 10 โรง ที่มีการผลิตไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้าทั้งหมด 13 โรง โดยไม่ได้พาไปพูดคุยกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ จากการสูดดมมลพิษที่มาจากการเผาไหม้ของถ่านหิน กฟผ. ไม่ได้กล่าวถึงคดีความที่มีการฟ้องร้องกันจนทำให้ กฟผ. ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ชาวแม่เมาะอย่างไร
color:#333333">กฟผ. ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำงานมวลชนสัมพันธ์ โดยการว่าจ้างคนในพื้นที่ดำเนินการทุกวัน จนทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความขัดแย้งแตกแยกเป็นสองกลุ่ม ระหว่างเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยโครงการ ที่จังหวัดตรัง กฟผ.เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ชี้แจงรายละเอียดเบื้องต้นของการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และชี้แจงข้อมูลให้สื่อมวลชนตรังรับทราบว่า
color:#333333">“ใช้ระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้โรงไฟฟ้าเป็นมิตรกับชุมชน โดยชุมชนสามารถอยู่ร่วมอาศัยกับโรงไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ส่วนเรื่องสิ่งแวดล้อมนั้นอาจมีผลกระทบจากโครงการบ้าง แต่ กฟผ.จะปลูกใหม่ทดแทนมากกว่าเท่าตัว ส่วนเรื่องพะยูนที่หลายคนวิตกว่า น้ำหล่อเย็นถ่านหิน จะไปทำลายแหล่งหญ้าทะเลนั้น ปัจจุบันเป็นโรงไฟฟ้าแบบปิด ไม่ได้กองถ่านหินเหมือนในยุคก่อน เพราะฉะนั้นไม่ต้องหวั่นกลัว เพราะน้ำหล่อเย็นจะมีอุณหภูมิต่างจากธรรมชาติแค่ 1 องศา ไม่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ” (หนังสือพิมพ์ข่าวเสรี จังหวัดตรัง วันที่ 30มกราคม –วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555)
color:#333333">กฟผ. ใช้งบประมาณประชาสัมพันธ์จากรายได้ค่าเอฟที (น้ำมันเชื้อเพลิง) ที่ผู้บริโภคจ่าย มานำเสนอให้เห็นภาพทุ่งดอกบัวตองที่แม่เมาะ กระจายผ่านสื่อโทรทัศน์ไปทั่วประเทศเพื่อยืนยันว่า ไม่มีมลพิษ มีแต่ความสวยงานที่อำเภอแม่เมาะ ที่ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ในยุคแรกเริ่ม
color:#333333">หากไล่เรียงการเดินทางของ กฟผ.ในภาคใต้แล้ว ยังเดินทางทั้งในจังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่ เพื่อหาพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าให้ได้ในภาคใต้ หากคนในจังหวัดนั้นให้การยอมรับ
color:#333333">ตัวอย่างของจังหวัดตรัง กฟผ.มาทำงานมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่เป็นเวลาประมาณ 2 ปี กฟผ.ไม่เคยชี้แจงข้อมูลของโครงการอย่างตรงไปตรงมา ทั้งผลกระทบด้านบวก ด้านลบ ต่อหน้าสาธารณะให้คนในจังหวัดตรัง และคนในตำบลวังวนรับทราบอย่างเป็นทางการ ไม่มีข้อมูลใดๆ ที่จะแสดงให้คนตรังได้มีข้อมูลเพื่อพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบด้าน นอกจากการแจกเงินแจกของในพื้นที่
color:#333333">พฤติกรรมและวาทกรรมเช่นนี้คือ “ความรับผิดชอบต่อสังคม (cooperative social responsibility/CSR) ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหรือไม่” เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนต้องตั้งคำถามต่อหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือโครงการพัฒนาของรัฐ หรือของเอกชนก็ตาม
color:#333333">กฟผ.ใช้เงินตรามาผูกมิตรเพื่อสร้างความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับชุมชน โดยใช้ความสัมพันธ์ในหมู่เครือข่ายญาติพี่น้อง ที่เป็นข้อเด่นของสังคมไทยมาเป็นเครื่องมือของการพัฒนา เพื่อให้เกิดการยอมจำนนต่อการทดแทนบุญคุณ และต้องยอมรับต่อการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้า การกระทำเช่นนี้เป็นการเคารพสติปัญญาของคนไทยหรือไม่ ที่พวกเขาสามารถร่วมตัดสินใจต่อทิศทางการพัฒนาตำบล จังหวัดประเทศไทยได้
color:#333333">หาก กฟผ.กล้าพูดแต่ด้านดี กฟผ.ต้องกล้าพูดด้านลบ และความจริงทั้งหมดที่ กฟผ.มีแผนการดำเนินการให้คนไทย คนใต้ และคนจังหวัดตรังรับรู้ทั้งหมด ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญรองรับสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโครงการพัฒนา มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น รับรองสิทธิชุมชน และมีการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่การกระทำดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญยังไปไม่ถึงดวงดาว แต่ กฟผ.กับโฆษณาชวนเชื่อว่า ได้ทำ CSR มีความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว กฟผ.ต้องกล้ารับผิดไม่ใช่รับชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังเช่น กรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และที่อื่นๆ ที่ดำเนินการไปแล้ว ประเด็นของโรงไฟฟ้ามิได้อยู่ที่ว่าจะควรจะมีโรงไฟฟ้าหรือไม่ ที่ทำให้คนไทยต้องแตกแยกกันระหว่างกลุ่มที่เอากับกลุ่มที่ไม่เอา ประเด็นสำคัญที่ กฟผ.ต้องเปิดเผยให้รับรู้กันถ้วนหน้า เพื่อให้คนไทยตัดสินใจร่วมกันว่า จะพัฒนาประเทศไทยแบบไหน ดังนี้
color:#333333">1) ประเทศไทยจะมีทิศทางการพัฒนาพลังงานอย่างไร ทางเลือกของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของระดับประเทศ ซึ่งจะเป็นคำตอบว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าหรือไม่
color:#333333">2) ประเทศไทยได้อะไรจากผลประโยชน์ของโรงไฟฟ้า นอกจากมีไฟฟ้าใช้ ผลประโยชน์ของการลงทุนตกอยู่ที่ใคร กระจายรายได้หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ต้นทุนของการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
color:#333333">3) ความเหมาะสมของพื้นที่มีจริงหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไป และปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ใครรับผิดชอบ มีการรองรับในการแก้ไขปัญหาในระยะยาวหรือไม่
color:#333333">4) ผลกระทบของโรงไฟฟ้ามีอะไร ใครที่ต้องแบกรักภาระผลกระทบทั้งในพื้นที่ จังหวัด และประเทศชาติ เมื่อมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพในอนาคต
color:#333333">5) ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระค่าเอฟที (ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง) มาโดยตลอด เมื่อต้นทุนโรงไฟฟ้าถูก ผู้บริโภคได้จ่ายค่าไฟฟ้าถูกลงจริงหรือไม่ เมื่อแยกประเภทกลุ่มผู้บริโภคที่มีฐานะทางการเงิน และการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกัน
color:#333333">6) การรวมศูนย์การผลิตไฟฟ้า โดย กฟผ.ยังเหมาะสมกับทิศทางการพัฒนาพลังงานของประเทศ และแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้จริงหรือ เมื่อข้อมูลปรากฏชัดว่า ผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และอุตสาหกรรมด้านพลังงานประมาณร้อยละ 75
color:#333333">คนไทยต้องพิจารณาทั้ง 6 ประเด็น และมีข้อมูลในการตัดสินใจอย่างรอบด้านว่า จังหวัดของท่าน ประเทศไทยของท่าน ควรมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ตลอดจนชั่วลูกชั่วหลานของท่านหรือไม่ ที่สำคัญการดำรงชีวิตของท่าน จะอยู่กับโรงไฟฟ้าอย่างมีความสุขได้จริงหรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรกรรมกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ท่านจะพัฒนาด้านใด เพราะฉะนั้นคนไทยจึงต้องตั้งคำถามกับ กฟผ.ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง มิใช่ปัดภาระความรับผิดชอบให้กับการสูญเสียภาษีของประชาชน และคนไทยต้องแบกรับภาระผลกระทบไปจนวันตาย ในขณะที่คนกลุ่มหนึ่งร่ำรวยจากรายได้ของการผลิตไฟฟ้า
color:#333333">คนไทยจะมั่นใจได้อย่างไรว่า เมื่อ กฟผ.แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน จะรับผิดชอบต่อสังคมไทยได้จริง เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงวันนี้รัฐวิสาหกิจแบบ กฟผ.ยังทำให้คนไทยต้องแบกรับภาระผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากโรงไฟฟ้า และรับภาระค่าเอฟทีจากการใช้ไฟฟ้า