Skip to main content

าส

mso-themecolor:text1">โมฮำหมัด อามีน ประธานสำนักงานเลขาธิการกลุ่ม mso-themecolor:text1">MILF ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ Tresita “Ging” Deles ผู้เป็น Presidential Adviser on the Peace Process (OPAPP) Secretary ซึ่งเป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีด้านกระบวนการสันติภาพ เกี่ยวกับเงื่อนไขการรวมตัวของโมโร เพื่อสร้างสันติภาพในมินดาเนา

mso-themecolor:text1">“แนวความคิดนี้ของรัฐบาลตื้นเขินเกินไป” โมฮำหมัด อามีน กล่าว

mso-themecolor:text1">ข้อเสนอของ Deles ระบุว่า หนทางสร้างสันติภาพถาวรต้องรวมเงื่อนไขสามอย่าง นั่นคือ

mso-themecolor:text1">หนึ่ง การเจรจากับกลุ่ม MILF ต้องประสบผลสำเร็จ

mso-themecolor:text1">สอง ข้อตกลงสันติภาพฉบับสุดท้ายที่ทำไว้กับกลุ่ม mso-themecolor:text1">MILF ต้องได้รับการนำไปปฏิบัติครบถ้วน

mso-themecolor:text1">สาม ต้องปฏิรูปธรรมาภิบาลการปกครองตนเองของมุสลิมในมินดาเนา

mso-themecolor:text1">โมฮำหมัด อามีนบอกว่า ประเด็นการรวมตัวกันของโมโรในมินดาเนา ไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มกบฏ หรือกลุ่มติดอาวุธที่มีอยู่หลายกลุ่มเท่านั้น แต่รวมถึงกลุ่มคนทั่วไปอื่นๆ ด้วย พวกเขาต้องมีเป้าหมายร่วมกัน การรวมตัวจึงยากอย่างยิ่ง และมันจะไม่เกิดขึ้น เว้นแต่การต่อสู้ของกลุ่ม MILF ที่กำลังขับเคลื่อนอยู่นั้น ทำไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของแต่ละคน ซึ่งอาจรวมไปถึงได้ร่วมงานกับรัฐบาล หรือได้ผลประโยชน์รูปแบบอื่นตอบแทน

mso-themecolor:text1">“สูตรรวมตัวของรัฐบาลอันนี้ ไม่มีเจตนาอย่างอื่นนอกจากพยายามจะตรึงสภาพการณ์ที่ทรงตัวเอาไว้ นั่นคือให้กลุ่มโมโรอยู่ด้วยกันให้ได้ ภายใต้โครงสร้างการเมืองอันใหญ่โตของประเทศฟิลิปปินส์” เป็นคำกล่าวของโมฮำหมัด อามีน

mso-themecolor:text1">กับคำถามที่ว่า ความต้องการร่วมกันของโมโรคืออะไร โมฮำหมัด อามีนชี้ว่า เป้าหมายของพวกเขาไม่มีอะไรมากไปกว่า ต้องการตัดสินชะตากรรมของตัวเอง จัดการชีวิตของตนเองในวิถีทางที่สอดคล้องกับสิทธิทางการเมือง การรวมตัว สิทธิด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม และศีลธรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กำหนดสถานภาพ และความสัมพันธ์ของพวกเขากับรัฐบาลกลาง ที่มะนิลาอย่างชัดเจน

mso-themecolor:text1">พวกเขาต้องการมีรัฐของตัวเองที่ “เป็นของพวกเขา เพื่อพวกเขา และโดยพวกเขา” ที่สามารถจะมองหาวิธีการในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา โดยที่ไม่ต้องหวาดกลัว หรือต้องเอาใจใคร

mso-themecolor:text1">สรุปว่าหากจะให้การรวมตัวกันนั้นเกิดขึ้นจริง ก็ต้องมีกลไกที่มีอำนาจอย่างแท้จริง มีทรัพยากร และขอบเขตในการจัดการ เพื่อจะได้ดำเนินการตามความต้องการคือ ตอบสนองความต้องการของกลุ่ม “บังสาโมโร” ได้