Skip to main content

.

 

“เกือบ 1 ปีแล้ว มีคนพากำนัน ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านบางส่วน ไปดูงานที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีการแจกของให้ชาวบ้านด้วย เข้าไปดูเองซิ บริเวณสวนปาล์มติดป่าชายเลนนั่นแหละ ที่ถูกกว้านซื้อเตรียมสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน”

ชาวบ้านคนหนึ่งบอก พลางชี้นิ้วไปตามเส้นทางแล้วหลบหน้าเข้าบ้านในทันที

                               ………………………….

ข่าวคราวโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง เริ่มปรากฏต่อสาธารณะชนอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 เมื่อนายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ ผู้ช่วยผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดตรัง ณ ศาลากลางจังหวัดตรัง

นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ ชี้แจงถึงความจำเป็นที่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ตรัง และจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ว่า ภาคใต้ใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 2,263 เมกะวัตต์ แต่กำลังผลิตของภาคใต้มีเพียงแค่ 2,135 เมกะวัตต์ ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องรับซื้อไฟฟ้ามาจากภาคกลาง เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

.

“หากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ตรัง จะทำให้จังหวัดตรังและจังหวัดอื่นในภาคใต้มีไฟฟ้าใช้ด้วย ซึ่งนับวันปริมาณเชื้อเพลิงสำรองประเภทก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีไม่ถึง 20 ปี ขณะที่ถ่านหินลิกไนต์สำรองที่เหมืองแม่เมาะเหลือไม่ถึง 30 ปี จึงจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้า หากไม่ได้สร้าง รัฐบาลจะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากตะวันออกกลาง ทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น” นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ อธิบายถึงความจำเป็นของการสร้างโรงไฟฟ้า ต่อหน้าหัวหน้าส่วนราชการ

นายสุมิต วงศ์แสงจันทร์ ชี้แจงถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในจังหวัดตรัง มีอยู่ 3 พื้นที่ คือ "Times New Roman"">บ้านทุ่งค่าย ตำบลบางสัก อำเภอกันตัง, บ้านหาดทรายขาว ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง และบ้านนายอดทอง ตำบลวังวน อำเภอกันตัง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีเรือขนส่งถ่านหินอยู่แล้ว และมีพื้นที่ขนาด 1,000 ไร่รองรับ เหมาะต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

“ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการลงพื้นที่ให้ข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จากการพบปะกับผู้นำชุมชน ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้แสดงท่าทีคัดค้านหรือให้การสนับสนุน แต่ยินดีเป็นผู้ประสานงานให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” นายสุมิต บอกถึงขั้นตอนและท่าทีของชุมชนต่อโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง

ต่อมา นายสมชาติ ศรีปรัชญากุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการก่อสร้างโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าราชการอำเภอกันตัง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ศาลาประชาคมอำเภอกันตัง

สำหรับเหตุผลที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยคัดเลือกอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 ใน 9 โรงของภาคใต้ นายสมชาติ ศรีปรัชญากุล บอกว่า เพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการขนส่งถ่านหินทางทะเล จากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียเข้ามาได้ง่าย

ส่วนกรณีที่ชาวบ้านกังวลว่า โรงไฟฟ้าถ่านหิน จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่นั้น นายสมชาติ ศรีปรัชญากุล ยืนยันว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมที่จะปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยในระบบปิดตั้งแต่ขั้นตอนการขนส่งทางทะเล จนถึงกระบวนการผลิตในโรงไฟฟ้า

“จะมีการติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ฝุ่นก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ ระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง ติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำ มีหอหล่อเย็นเพื่อลดอุณหภูมิน้ำ ให้มีระดับใกล้เคียงแหล่งน้ำธรรมชาติ มีโรงบำบัดน้ำทิ้งและกักเก็บในบ่อพัก เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของ กฟผ.” นายสมชาติ ศรีปรัชญากุล ย้ำ

.

ต่อมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดตรัง ประกอบด้วย ชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง เครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน เครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำตรัง มูลนิธิหยาดฝน มูลนิธิอันดามัน โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา ร่วมกันจัดเวทีเรียนรู้ “โรงไฟฟ้าถ่านหินดีจริงหรือ?” ที่ห้องประชุมคอซิมบี้เทศบาลเมืองกันตัง "Times New Roman""> มีผู้คนเข้าร่วมประมาณ 150 คน

"Times New Roman"">“ผมอ่านเอกสารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดูแล้ว ผมเชื่อว่าพิษภัยของโรงไฟฟ้าถ่านหิน คงไม่เลวร้ายเหมือนโรงไฟฟ้าแม่เมาะในอดีต เดี๋ยวนี้มีเทคโนยีใหม่ๆ ที่มีมาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะเขียนข้อมูลเท็จลงในเอกสาร” ชายคนหนึ่งพูดผ่านไมโครโฟนพลางชูเอกสารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เป็นเอกสารตอบโต้กลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ที่ออกมาให้ข้อมูลถึงอันตรายที่ชุมชนจะได้รับจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยอ้างอิง "Times New Roman"">รายงานการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรังของ "Times New Roman"">การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรังกับโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 700 เมกะวัตต์ ของบริษัท เก็คโค่ font-style:normal">วัน จำกัด จังหวัดระยอง

"Times New Roman"">ขณะที่เจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยบอกว่า ขณะนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง อยู่ในขั้นตอนการลงพื้นที่ให้ข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นประชาชน ยังไม่ได้คัดเลือกสถานที่ และยังไม่มีการซื้อที่ดิน

ทว่า รายงานการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งปรากฏอยู่ในเอกสารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระบุแผนดำเนินการคัดเลือกสถานที่ว่า เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554–วันที่ 30 มีนาคม 2554 จากนั้นเริ่มกระบวนการจัดซื้อสถานที่ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2554–วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ส่วนขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น ดำเนินการระหว่างวันที่ "Times New Roman"">1 เมษายน 2554–วันที่ 31 พฤษภาคม 2554

"Times New Roman"">จึงไม่แปลกที่ช่วงท้ายของ “เวทีโรงไฟฟ้าถ่านหินดีจริงหรือ?” "Times New Roman""> ผู้เข้าร่วมเวทีจึงเรียกร้องให้จัดเวทีสาธารณะโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ทั้งในระดับอำเภอ และระดับจังหวัด โดยให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประสานงานเชิญเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไท "Times New Roman"">ย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาเปิดเผยข้อมูล

"Times New Roman"">ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับรู้ข้อมูลอย่างรอบด้าน