Skip to main content

               .   

              ในวันที่ 12 มีนาคม เวลา 15.30 -17.30 น. ที่ห้อง B 103  ของคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่ม Southern Peace Media Group จะมีการสาธิตแลแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเครือข่าย Video Advocacy โดยการใช้เครื่องมือ Google Hang out แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเคลื่อนไหวทางสังคมของนักพิทักษ์สิทธิจากประเทศมาเลเซีย เวสท์ ปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย ติมอตะวันออก โดยการใช้วิดีโอ ลิงค์สดจากประเทศดังกล่าว และตลอดการแลกเปลี่ยนจะใช้ภาษา BAHASA เป็นหลัก

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">Southern Peace Media ถือว่าเป็นทีมตัดต่อแนวหน้าของจังหวัดชายแดนใต้ก็ว่าได้ ฝีมือการตัดต่อวิดีโอเพื่อทำสารคดีเชิงข่าวหลายชิ้นของพวกเขา ถูกเผยแพร่สู่สายคนทั้งประเทศมาแล้วนับไม่ถ้วน เริ่มตั้งแต่เผยแพร่ผ่านรายการนักข่าวพลเมือง รายการบ้านเธอบ้านฉัน สารคดีสั้นประกอบรายการสิทธิวิวาทะ ซึ่งทั้งหมดนี้ออกอากาศผ่านช่องไทย พีบีเอส และยังมีผลงานที่พวกเขาอยู่เบื้องหลังอีกจจำนวนหลายชิ้น แต่ส่วนใหญ่มีเนื้อหานำเสนอเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน

4 ปีที่ผ่านมา กลุ่ม mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">Southern Peace Media มีผลงานจำนวนหลายชิ้นที่โดดเด่น พวกเขาจึงตัดสินใจ รวบรวมผลงานมาแสดงในวันสื่อทางเลือก แต่สิ่งที่พิเศษกว่าการจัดแสดงผลงานของพวกเขาคือ การสาธิตการใช้ Google Hang out เปิด “Peace room บนโลกออนไลน์” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนต่างประเทศ เกี่ยวกัยงานขับเคลื่อนทางสังคมของพวกเขา

มาหามะสาบรี เล่าว่าที่ผ่านมาได้พัฒนาฝีมือ โดยการเข้าร่วมอบรมการตัดต่อวิดีโออย่างต่อเนื่อง  จึงทำให้เห็นการการเติบโตของพวกเขาอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ก็เพื่อสื่อสารประเด็นเหล่าสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้ให้เป็นที่น่าสนใจของสังคมง่ายยิ่งขึ้น และเขาได้เรียนรู้วิธีการมากมายจากเพื่อนต่างประเทศ ซึ่งประสบสถานการณ์คล้ายกับจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน

ยังเพิ่มความน่าสนใจ เมื่องานในวันที่ 12 มีนาคมนี้ เพื่อนของเขาที่จะมาร่วมวิดีโอลิงค์ ร่วมแสดงผลงานที่ผ่านมาของพวกเขาเอง ซึ่งหมายถึงผู้เข้าร่วมงานจะสามารถรับชมผลงานจากหลายประเทศในวันเดียว ซึ่งผู้เข้าร่วมแทบจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆเลย และการเปิดประชุมเพื่อนต่างประเทศของเขาในครั้งนี้ ก็ใช้เพียงโปรแกรมที่ทุกคนรู่จักเป็นอย่างดี อย่าง color:#222222">google plus นั้นเอง

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222"> “ในวันงาน ผมจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเข้าค่ายที่มาเลเซีย เมื่อสองเดือนที่แล้ว จะเล่าให้ฟังว่า นักพิทักษ์สิทธิต่างประเทศเข้าขับเคลื่อนประเด็นที่พวกเขาเรียกร้องยังไง ให้เพื่อนที่อยู่หลายประเทศได้รับรู้และช่วยกันรณรงค์ ซึ่งใช้เครื่องมือที่ทุกคนรู้จักและคุ้นเคยอย่างมาก อย่างโปรแกรมแชทธรรมดา ซึ่งน่าสนใจมากครับ คิดว่านักพิทักษ์สิทธิในพื้นที่น่าจะสนใจ”

.

นายมาหามะสาบรี เปรยไว้ว่า ในวันที่ 12 มีนาคมนี้ เขาจะสาธิตการใช้โปแกรมแชทที่ได้รับความนิยมอย่าง color:#222222">G+ ที่หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่า สามารถเปิดประชุมข้ามประเทศได้สบาย แถมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพียงแค่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงพอที่จะสามารถส่งสัญญาณได้ไม่ติดขัด

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">“ใครที่สามารถนำคอมพิวเตอร์แบบพกพามาร่วมงานได้ เราจะมีการสาธิตสดว่าผู้เข้าร่วมจะสามารถเข้ามาเป็นเครือข่ายใน google Hang out ว่าใช้งานอย่างไร ทางกลุ่มจะมีบริการอินเตอร์เนตให้ฟรี และใครที่สนใจอาจจะเข้ามาเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนผลงานกับทางต่างประเทศได้ในอนาคตครับ”

เขายังปิดท้ายด้วยว่า ใครที่ยังไม่เคยชมผลงานของพวกเขา ก็สามารถติดตามได้ที่ "Times New Roman";color:#222222">www.southernpeacemedia.tv ยังฝากถึงเครือข่ายสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ที่สนใจแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากค่าย SAMBAL 2 ว่าพวกเขาใช้ วิดีโอในการผลักดันประเด็นที่พวกเขาเรียกร้องอย่างไรนั้นเชิญได้ที่ห้อง B 103 ในวันที่ 12 มีนาคม 255 เวลา15.30 – 17.30 น.