Skip to main content

"Times New Roman";mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;
mso-bidi-language:TH">  
EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">เครือข่ายผู้หญิงฯ ขึ้นเวทีวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ โชว์ตัวผู้จัดรายการ "Times New Roman";mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;
mso-bidi-language:TH">“เสียงผู้หญิงชายแดนใต้” ประกาศเมษาฯ นี้ ได้ฤกษ์เปิดตัวเสียงผู้หญิงฯ ภาคภาษามลายู ออกอากาศ 12 สถานี 1 เว็บไซต์ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้  

 

   .

           เมื่อเวลา 9.00 น. วันที่ 12 มีนาคม 2555 ที่ห้อง A 310 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ร่วมกับภาคีเครือข่ายกว่า 20 องค์กร ได้จัดงาน “วันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 2” โดยในภาคเช้า เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ได้จัดเสวนาเรื่องผู้หญิงชายแดนใต้กับการแปรเสียงแห่งความสูญเสียสู่เสียงแห่งสันติภาพ”

ผู้นำเสวนาประกอบด้วย นางสาวนวลน้อย ธรรมเสถียร อดีตผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุบีบีซี ภาคภาษาไทย นางสาวอัสรา รัฐการัณย์ ผู้ดำเนินรายการวิทยุเสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้ นางสาวดวงสุดา นุ้ยสุภาพ ผู้สูญเสียชาวพุทธ นางแยน๊ะ สะแลแม สตรีดีเด่นด้านการปกป้องสิทธิของตนเอง ประจำปี 2555 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางมาริสา สะมาแห ผู้สูญเสียชาวมลายมุสลิม นายแวหามะ แวกือจิ หัวหน้าสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน สลาตันปัตตานี มีนางโซรยา จามจุรี หัวหน้าโครงการผู้หญิงภาคประชาสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นผู้ดำเนินรายการ

นางสาวมาริสา กล่าวว่า หลังจากที่สูญเสียสามี ตนเก็บตัวเงียบนานหลายปี จนโอกาสได้พบกับนางสาวอัสรา ที่มาขอสัมภาษณ์ตนไปออกรายการวิทยุ จากนั้นชักชวนให้มาจัดรายการวิทยุกับเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ทำให้พบว่ามีผู้สูญเสียเช่นตนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกจำนวนมาก รายการที่จัดมีคนสนใจรับฟังเยอะ ทำให้ตนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง การที่ตนได้แลกเปลี่ยนกับผู้สูญเสียด้วยกัน ส่งผลให้สภาพจิตใจของตนดีขึ้น 

นางสาวดวงสุดา กล่าวว่า เมื่อหลายปีก่อน ตนสูญเสียปู่ ตา และพ่อจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อมาได้มีโอกาสมาทำงานร่วมงานกับเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคม จัดรายการวิทยุเสียงผู้หญิงชายแดนใต้ สิ่งที่ตนนำเสนอผ่านรายการวิทยุคือ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยพุทธกับมุสลิมในพื้นที่ที่ยังดีอยู่ นอกจากนี้ตนยังให้ความสนใจนำเสนอเรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ในภาคใต้ด้วย

นางแยน๊ะ กล่าวว่า สำหรับรายการวิทยุเสียงผู้หญิงชายแดนใต้ ทั้งผู้จัดรายการและผู้ถูกสัมภาษณ์ล้วนแต่เป็นผู้สูญเสียด้วยกัน เป็นการถ่ายทอดบทเรียนให้กับผู้สูญเสียด้วยกัน ที่จะต่อสู้เพื่อดำรงชีวิตอยู่ต่อไปให้ได้ โดยผู้จัดรายการจะใช้ภาษาแบบบ้านๆ เพื่อให้เสียงจากรายการเข้าถึงชุมชนจริงๆ ตนรู้สึกดีใจที่ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นด้านการปกป้องสิทธิตนเอง ประจำปี 2555 จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ทั้งที่ไม่เคยคาดหวังมาก่อน เพราะตนลุกขึ้นมาทำงานด้านนี้ เนื่องจากต้องการช่วยเหลือผู้ที่ประสบความสูญเสียด้วยกัน

.

นายแวหามะ กล่าวว่า ในช่วงแรกที่ได้รับการติดต่อจากเครือข่ายผู้หญิงชายแดนใต้ ขอเวลาออกอากาศรายการเสียงผู้หญิงชายแดนใต้ ตนรู้สึกดีใจ และรีบจัดเวลาให้ สำหรับ 20 ตอนแรก ตนให้ออกอากาศในช่วงเช้า เพื่อทดสอบความนิยม แต่ไม่ได้การตอบรับมากพอ ก็เลยขยับไปออกอากาศในช่วงบ่าย ต่อมาทางสถานีประเมินว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมของรายการนี้ น่าจะอยู่ในช่วง 19.00 น. ปรากฏว่ามีผู้หญิงเข้ามาฟังรายการเยอะขึ้น

“ช่วงแรกๆ รายการนี้มีปัญหามาก แต่หลังจากตอนที่ 30 เป็นต้นมา ทุกอย่างก็ลงตัว เสียงสะท้อนที่ได้รับมากที่สุดของรายการนี้ก็คือ ผู้ฟังต้องการให้จัดเป็นภาษายาวี ซึ่งผู้จัดจะต้องรับไปพิจารณา” นายแวหามะ กล่าว

นางสาวนวลน้อย กล่าวว่า ในฐานะเป็นผู้ฝึกอบรมการจัดรายการวิทยุให้กับเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ช่วงแรกๆ รู้สึกแปลกใจเล็กน้อย ที่คนไม่เคยจัดรายการวิทยุมาก่อน สามารถทำได้ ช่วงเริ่มต้นผู้หญิงกลุ่มนี้มีอาการตื่นตกใจ เนื่องจากไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ โดยเฉพาะกับความเป็นผู้หญิง และยิ่งเป็นผู้สูญเสียทำให้รู้สึกสับสนว่า จะทำหรือไม่ทำอะไรดี

นางสาวนวลน้อย กล่าวต่อไปว่า หลังจากจัดรายการไปได้ระยะหนึ่งพบว่า รายการวิทยุของผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบ มีจำนวนรายการน้อยมาก เมื่อเทียบกับรายการประเภทอื่นๆ แต่พิเศษตรงที่ คนจัดรายการเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ระหว่างจัดรายการผู้หญิงกลุ่มนี้สามารถสะกดอารมณ์ความรู้สึกตังเองได้ ทำให้ถ่ายทอดเรื่องราวของตัวเอง และผู้ได้รับผลกระทบรายอื่นๆ ได้ดี ไม่มีลักษณะคร่ำครวญโวยวาย แสดงให้เห็นว่า สามารถก้าวข้ามอะไรบางอย่างไปได้

นางสาวนวลน้อย กล่าวอีกว่า เมื่อจัดรายกายไประยะหนึ่ง ตนเห็นว่าผู้หญิงกลุ่มนี้ สามารถปรับตัวเป็นสื่อได้ดี มีเนื้อหาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ผู้หญิงกลุ่มนี้ยังเป็นแรงวบันดาลใจให้กับผู้สูญเสียรายอื่นๆ ให้กล้าออกมาพูดกับคนอื่นๆ ได้ ผู้หญิงกลุ่มนี้บทบาทในการสร้างพื้นที่ให้กับความเป็นมนุษย์ เพราะผู้หญิงเป็นทั้งเมียและแม่ ทำให้เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนได้ดี ซึ่งพื้นที่นี้จะกรุยทางไปสู่การเจรจาต่อรองที่มองไม่เห็นให้กับสังคมได้ ดังนั้น จึงเป็นกิจกรรมที่ควรสนับสนุนต่อไป เพราะเป็นการพัฒนางานและพัฒนาคน

นางสาวอัสรา กล่าวว่า ในเดือนเมษายน 2555 เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ จะออกอากาศรายการเสียงผู้หญิงชายแดนใต้ ภาคภาษามลายูถิ่นปัตตานี เป็นการทำรายการต่อจากที่ทำเป็นภาษาไทยมาแล้ว เมื่อปี 2553 จำนวน 100 กว่าตอน และปี 2554 อีก 70 กว่าตอน โดยออกอากาศทางวิทยุ 12 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

“เสียงผู้หญิงชายแดนใต้ เป็นรายการที่จัดโดยผู้หญิงที่สูญเสียคนในครอบครัว จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะมาบอกเล่าว่า ผ่านพ้นภาวะความทุกข์ยากจากการสูญเสียคนในครอบครัว จนสามารถมาทำงานอุทิศตนให้กับการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างไร” นางสาวอัสรา กล่าว

 

 

 

                                        ........................................

 

รายการเสียงผู้หญิงชายแดนใต้

 

สถานีวิทยุม.อ. ปัตตานี FM 107.25 MHz เวลา 13.40-13.50 น.

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา FM 107.25 MHz เวลา 13.40-13.50 น.

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาวิทยาลัยอิสลามยะลา  FM 107.25 MHz เวลา 13.40-13.50 น.

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สุไหงโก–ลก FM 107.25 MHz เวลา 13.40-13.50 น.

สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตันยะลา FM 96.25 MHz เวลา 19.30-19.45 น.

สถานีวิทยุชุมชนคนนิบง FM 107.50 MHz เวลา 19.30-19.45 น.

สถานีวิทยุคลื่นฟ้าใสหัวใจเรียนรู้ FM 100.75 MHz เวลา 16.30-17.00 น.

สถานีวิทยุชุมชนยี่งอเรดิโอ FM 99.75 MHz เวลา 09.10 น.

สถานีวิทยุรือเสาะเรดิโอ FM 107.00 MHz เวลา 16.00-17.00 น.

สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตันปัตตานี FM 91.50 MHz เวลา 19.30-19.45 น.

สถานีวิทยุ SUWARA MUJLIS FM 93.75 MHz เวลา 15.00-15.30 น.

สถานีวิทยุสาส์นคุณธรรม (อัรรีซาละห์) FM 97.25 MHz เวลา 11.50-12.00 น.

 

รับฟังย้อนหลังได้ทาง www.civicwomen.com