color:#333333;background:#FDFFF2">เผยแผนอนุรักษ์พลังงานฯลดไฟฟ้า1.2หมื่นเมกะวัตต์ เลิกถ่านหิน9โรง-นิวเคลียร์5 “คนนคร”ยอมควักตังค์เพิ่มหากพัฒนาพลังงานทางเลือก พยากรณ์การใช้ไฟฟ้ามิถุนายน 2554 ต่ำกว่าการพยากรณ์ของแผนPDP 668 เมกะวัตต์
นายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิชาการมูลนิธินโยบายสุขภาวะ เปิดเผยว่า จากการที่ตนได้ทำงานวิจัยในพื้นที่ 5 จังหวัดของประเทศไทย ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช เชียงใหม่ นครศรีราชสีมา กรุงเทพมหานคร และระยอง โดยเก็บตัวอย่างจังหวัดละ 400 คน เกี่ยวกับการยอมจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้นหรือไม่ หากมีการผลิตพลังงานทางเลือกและต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสูง
นายศุภกิจ เปิดเผยอีกว่า คนจังหวัดนครศรีธรรมราช เห็นว่าการเก็บค่าไฟฟ้าเหมาะสมมากที่สุดตามแผนพีดีพี ร้อยละ 92.6, มากกว่าแผนพีดีพี ร้อยละ 86.8 ขณะที่คนกรุงเทพฯ เห็นว่าการเก็บค่าไฟฟ้าเหมาะสมน้อยที่สุด ตามแผนพีดีพี ร้อยละ 52.2, มากกว่าแผนพีดีพี ร้อยละ 30.1
“คนที่รายได้ต่ำกว่า 6,000 บาท เห็นว่าค่าไฟฟ้าตามแผนพีดีพีเหมาะสมมากที่สุดร้อยละ 80 และมากกว่าแผนพีดีพีเห็นว่าค่าไฟฟ้าเหมาะสมมากที่สุดร้อยละ 66 ส่วนคนที่รายได้ช่วง 6-8 หมื่นบาท เห็นว่าค่าไฟฟ้าตามแผนพีดีพีเหมาะสมน้อยที่สุดร้อยละ 53.8 และมากกว่าแผนพีดีพีเห็นว่าค่าไฟฟ้าเหมาะสมน้อยที่สุดร้อยละ 26.9” นายศุภกิจ กล่าว
ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 ที่ห้องประชุมอาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช สถาบันวิจัยและพัฒนา หน่วยวิจัยพลังงานหมุนเวียน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นศูนย์ประสานงานจังหวัดนครศรีธรรมราช เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา และองค์กรเครือข่าย จัดเสวนา“ปัญหาพลังงาน...ทำไมจึงกลายเป็นปัญหาของท้องถิ่น” โดยมีผู้เข้าร่วมจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร และตรัง ประมาณ 300 คน
นายศุภกิจ นันทะวรการ นำเสนอผ่านการเสวนาว่า แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 – 2573) ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน มีศักยภาพในการประหยัดไฟฟ้าภายในปี 2573 ภาคอุตสาหกรรม 33,500 ล้านหน่วย ภาคอาคารธุรกิจขนาดใหญ่27,420 ล้านหน่วย ภาคอาคารขนาดเล็กและบ้านเรือน 23,220 ล้านหน่วย รวม 84,140 ล้านหน่วย หรือ 24.2% ของแผนพีดีพี2010 โดยกำหนดเป้าหมายของแผนฯ ประมาณร้อยละ 82 ของศักยภาพ หรือประมาณ 69,000 ล้านหน่วย หรือประมาณ 10,500 เมกะวัตต์ สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 49ล้านตัน/ปี ประหยัดพลังงานได้ 272,000 ล้านบาท/ปี
นายศุภกิจ นำเสนอว่า แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 – 2573) เป็นแผนซึ่งมีความคุ้มค่าในการลงทุน คิดเฉลี่ย 2,000-6,000 บาทต่อตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เป้าหมายการประหยัดไฟฟ้าในปี 2573 เทียบเท่ากับการลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดได้ 10,500 เมกะวัตต์ หากรวมกำลังการผลิตสำรอง 15% แผนอนุรักษ์พลังงานฯ สามารถลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้ 12,077 เมกะวัตต์ สามารถยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรง (7,200 เมกะวัตต์) บวกกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง (5,000 เมกะวัตต์)
นายศุภกิจ นำเสนออีกว่า แผนพัฒนาพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี พ.ศ. 2555-2564ของกระทรวงพลังงาน สามารถพัฒนาด้านพลังงานจากเปอร์เซ็นต์การทดแทนฟอสซิล 25% ไม่รวมNGV กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 9,201 เมกะวัตต์ ปริมาณความร้อน 9,335 ktoe เชื้อเพลิงชีวภาพ 39.97 ล้านลิตรต่อวัน เปอร์เซ็นต์ทดแทนน้ำมัน 44% สำหรับด้านเศรษฐกิจสามารถลดการนำเข้าน้ำมัน 5.74 แสนล้านบาท ส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน 4.42 แสนล้านบาท ด้านสิ่งแวดล้อม การลด CO2 จำนวน 76 ล้านตันต่อปี ในปี 2564 รายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายคาร์บอนเครดิต 2.3 หมื่นล้านบาท ด้านการพัฒนางานนวัตกรรมและเทคโนโลยี แผนงานวิจัยมีแผนปฏิบัติการชัดเจน ปี 2555-2559
นายศุภกิจ นำเสนอด้วยว่า แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2553-257 (แผน PDP 2010) ของกระทรวงพลังงาน พยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.4 เท่า จาก 22,315 เมกะวัตต์ ในปี 2552 เป็น 52,890 เมกะวัตต์ ในปี 2573 และพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 146,182ล้านหน่วยเป็น 347,947 ล้านหน่วยในปี 2573 หรือเพิ่มขึ้น 2.4 เท่า กำลังการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 29,212 เมกะวัตต์ ในปี 2552 เป็น 65,547 เมกะวัตต์ ในปี 2573
นายศุภกิจ นำเสนอว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ 2553-2573 เพิ่มขึ้น 54,005 เมกะวัตต์ โดยมาจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมก๊าซธรรมชาติ 16,670 เมกะวัตต์ การรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 11,669 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 5,000 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน 8,400 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 512 เมกะวัตต์ รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จำนวน 4,617 เมกะวัตต์ และระบบผลิตพลังงานร่วมไฟฟ้า-ความร้อน 7,137 เมกะวัตต์
“ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดจนถึงเดือนมิถุนายน 2554 เท่ากับ 23,900 เมกะวัตต์ ต่ำกว่าการพยากรณ์ตามแผน PDP2010 คือ 24,568 เมกะวัตต์ ไปแล้ว 668 เมกะวัตต์ เมื่อรวมกับกำลังผลิตสำรองอีก 15% จึงสามารถเลิกโครงการโรงไฟฟ้าได้แล้ว 768 เมกะวัตต์” นายศุภกิจ กล่าวนายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิชาการมูลนิธินโยบายสุขภาวะ เปิดเผยว่า จากการที่ตนได้ทำงานวิจัยในพื้นที่ 5 จังหวัดของประเทศไทย ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช เชียงใหม่ นครศรีราชสีมา กรุงเทพมหานคร และระยอง โดยเก็บตัวอย่างจังหวัดละ 400 คน เกี่ยวกับการยอมจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้นหรือไม่ หากมีการผลิตพลังงานทางเลือกและต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสูง
นายศุภกิจ เปิดเผยอีกว่า คนจังหวัดนครศรีธรรมราช เห็นว่าการเก็บค่าไฟฟ้าเหมาะสมมากที่สุดตามแผนพีดีพี ร้อยละ 92.6, มากกว่าแผนพีดีพี ร้อยละ 86.8 ขณะที่คนกรุงเทพฯ เห็นว่าการเก็บค่าไฟฟ้าเหมาะสมน้อยที่สุด ตามแผนพีดีพี ร้อยละ 52.2, มากกว่าแผนพีดีพี ร้อยละ 30.1
“คนที่รายได้ต่ำกว่า 6,000 บาท เห็นว่าค่าไฟฟ้าตามแผนพีดีพีเหมาะสมมากที่สุดร้อยละ 80 และมากกว่าแผนพีดีพีเห็นว่าค่าไฟฟ้าเหมาะสมมากที่สุดร้อยละ 66 ส่วนคนที่รายได้ช่วง 6-8 หมื่นบาท เห็นว่าค่าไฟฟ้าตามแผนพีดีพีเหมาะสมน้อยที่สุดร้อยละ 53.8 และมากกว่าแผนพีดีพีเห็นว่าค่าไฟฟ้าเหมาะสมน้อยที่สุดร้อยละ 26.9” นายศุภกิจ กล่าว
ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 ที่ห้องประชุมอาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช สถาบันวิจัยและพัฒนา หน่วยวิจัยพลังงานหมุนเวียน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นศูนย์ประสานงานจังหวัดนครศรีธรรมราช เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา และองค์กรเครือข่าย จัดเสวนา“ปัญหาพลังงาน...ทำไมจึงกลายเป็นปัญหาของท้องถิ่น” โดยมีผู้เข้าร่วมจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร และตรัง ประมาณ 300 คน
นายศุภกิจ นันทะวรการ นำเสนอผ่านการเสวนาว่า แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 – 2573) ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน มีศักยภาพในการประหยัดไฟฟ้าภายในปี 2573 ภาคอุตสาหกรรม 33,500 ล้านหน่วย ภาคอาคารธุรกิจขนาดใหญ่27,420 ล้านหน่วย ภาคอาคารขนาดเล็กและบ้านเรือน 23,220 ล้านหน่วย รวม 84,140 ล้านหน่วย หรือ 24.2% ของแผนพีดีพี2010 โดยกำหนดเป้าหมายของแผนฯ ประมาณร้อยละ 82 ของศักยภาพ หรือประมาณ 69,000 ล้านหน่วย หรือประมาณ 10,500 เมกะวัตต์ สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 49ล้านตัน/ปี ประหยัดพลังงานได้ 272,000 ล้านบาท/ปี
นายศุภกิจ นำเสนอว่า แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 – 2573) เป็นแผนซึ่งมีความคุ้มค่าในการลงทุน คิดเฉลี่ย 2,000-6,000 บาทต่อตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เป้าหมายการประหยัดไฟฟ้าในปี 2573 เทียบเท่ากับการลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดได้ 10,500 เมกะวัตต์ หากรวมกำลังการผลิตสำรอง 15% แผนอนุรักษ์พลังงานฯ สามารถลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้ 12,077 เมกะวัตต์ สามารถยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรง (7,200 เมกะวัตต์) บวกกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง (5,000 เมกะวัตต์)
นายศุภกิจ นำเสนออีกว่า แผนพัฒนาพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี พ.ศ. 2555-2564ของกระทรวงพลังงาน สามารถพัฒนาด้านพลังงานจากเปอร์เซ็นต์การทดแทนฟอสซิล 25% ไม่รวมNGV กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 9,201 เมกะวัตต์ ปริมาณความร้อน 9,335 ktoe เชื้อเพลิงชีวภาพ 39.97 ล้านลิตรต่อวัน เปอร์เซ็นต์ทดแทนน้ำมัน 44% สำหรับด้านเศรษฐกิจสามารถลดการนำเข้าน้ำมัน 5.74 แสนล้านบาท ส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน 4.42 แสนล้านบาท ด้านสิ่งแวดล้อม การลด CO2 จำนวน 76 ล้านตันต่อปี ในปี 2564 รายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายคาร์บอนเครดิต 2.3 หมื่นล้านบาท ด้านการพัฒนางานนวัตกรรมและเทคโนโลยี แผนงานวิจัยมีแผนปฏิบัติการชัดเจน ปี 2555-2559
นายศุภกิจ นำเสนอด้วยว่า แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2553-257 (แผน PDP 2010) ของกระทรวงพลังงาน พยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.4 เท่า จาก 22,315 เมกะวัตต์ ในปี 2552 เป็น 52,890 เมกะวัตต์ ในปี 2573 และพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 146,182ล้านหน่วยเป็น 347,947 ล้านหน่วยในปี 2573 หรือเพิ่มขึ้น 2.4 เท่า กำลังการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นจาก 29,212 เมกะวัตต์ ในปี 2552 เป็น 65,547 เมกะวัตต์ ในปี 2573
นายศุภกิจ นำเสนอว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ 2553-2573 เพิ่มขึ้น 54,005 เมกะวัตต์ โดยมาจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมก๊าซธรรมชาติ 16,670 เมกะวัตต์ การรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 11,669 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 5,000 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน 8,400 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 512 เมกะวัตต์ รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จำนวน 4,617 เมกะวัตต์ และระบบผลิตพลังงานร่วมไฟฟ้า-ความร้อน 7,137 เมกะวัตต์
“ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดจนถึงเดือนมิถุนายน 2554 เท่ากับ 23,900 เมกะวัตต์ ต่ำกว่าการพยากรณ์ตามแผน PDP2010 คือ 24,568 เมกะวัตต์ ไปแล้ว 668 เมกะวัตต์ เมื่อรวมกับกำลังผลิตสำรองอีก 15% จึงสามารถเลิกโครงการโรงไฟฟ้าได้แล้ว 768 เมกะวัตต์” นายศุภกิจ กล่าว