Skip to main content

text1">10 ตำบลรือเสาะ จับมือตั้ง “ชมรมตาดีกา” หลังภัยไฟใต้ส่งผลกระทบกิจกรรมครูตาดีกา จนต้องยุบ “ชมรมตาดีกานะห์ฎอ” เหตุต้องสงสัยเป็นภัยความมั่นคง

.

                                                        ซารีปะ ดอเลาะ

 

color:black;mso-themecolor:text1">นายมุสตอปา อูเซ็ง อายุ color:black;mso-themecolor:text1">62 ปี ครูสอนศาสนาโรงเรียนนะห์ฎอตุลสูบาน อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส  color:black;mso-themecolor:text1"> เปิดเผยว่า เหตุการณ์ความไม่สงบ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่อชมรมตาดีกานะห์ฎอ หรือ Pertanam (Persatua Tadika Nahdhah Maju) จนต้องยุติบทบาทของชมรมฯ ลง เนื่องจากสมาชิกของชมรมฯ ถูกเพ่งเล็งว่า เป็นแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ทำให้สมาชิกชมรมฯ ไม่กล้าเข้าไปสอนโรงเรียนตาดีกาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตนเชื่อว่าคงไม่สามารถฟื้นฟูชมรมฯ ขึ้นมาใหม่ได้อีก 

color:black;mso-themecolor:text1">นางซารีปะ ดอเลาะ อายุ color:black;mso-themecolor:text1">49 ปี ประธานชมรมตาดีกา หรือ Putra และครูสอนศาสนาโรงเรียนนะห์ฎอตุลสูบาน เปิดเผยว่า ชมรมตาดีกานะห์ฎอ เป็นชมรมที่อยู่ภายใต้โรงเรียนนะห์ฎอตุลสูบาน มีอุสตาซ และอุสตาซะห์ของโรงเรียนนะห์ฎอตุลสูบาน เป็นผู้ดูแล สำหรับชมรมตาดีกานะห์ฎอดำเนินการมานานกว่า 20 ปี หลังจากเกิดเหตุการณ์ปี 2547 ชมรมตาดีกานะห์ฎอก็ถูกยุบ และไม่มีการรวมตัวกันอีก จนกระทั่งปี 2554 จึงมีการก่อตั้งชมรมใหม่ขึ้นมา ชื่อว่า Putra (Persatuan tadika Resok) ดูแลโรงเรียนตาดีกาในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีกระบวนการทำงานเหมือนเดียวกับ Pertanam เป็นการรวมตัวของครูโรงเรียนตาดีกาทั้ง 10 ตำบล โดยส่งตัวแทนตำบลละ 2 คน มาร่วมจัดกิจกรรมระหว่างโรงเรียนตาดีกาด้วยกัน ทำให้ง่ายต่อการประสานงานและจัดหลักสูตรโรงเรียนตาดีการ่วมกัน

color:black;mso-themecolor:text1">สำหรับชมรมตาดีกา หรือ color:black;mso-themecolor:text1">Putra เป็นชมรมที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาและจัดหลักสูตรโรงเรียนตาดีในระดับอำเภอ ผ่านสัมพันธ์ระหว่างครูด้วยกัน เพื่อให้ได้หลักสูตรที่เหมือนกัน มีจุดประสงค์เดียวกันคือพัฒนาสังคมให้มีความร่วมมือร่วมใจและส่งเสริมการทำความดี

color:black;mso-themecolor:text1"> 

 หมายเหตุ 

โครงการค่ายอบรมข่าวนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการโดย โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ) สนับสนุนโดย โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP Projet)

color:black;mso-themecolor:text1">