Skip to main content

.

.

.

พลันที่พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 ประกาศบังคับใช้ "Times New Roman"">เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2555 นับเป็นก้าวที่ประสบความสำเร็จหลังจากการต่อสู้ที่ยาวนานเพื่อเรียกร้องสัญชาติของคนไทยพลัดถิ่น

“ขอบคุณมากค่ะ เรามีวันนี้ได้ เพราะทีวีไทย”

เป็นข้อความหนึ่งของนักข่าวพลเมืองเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น ที่โพสต์บนเฟสบุคของ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">2 นักข่าวสังกัดสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS เนื่องจากพวกเขาได้อาศัย "Times New Roman"">ช่องทาง “นักข่าวพลเมือง” นำเสนอเรื่องราวของตัวเองอยู่เสมอ

นั่นคือตัวอย่างหนึ่งของดอกผล “นักข่าวพลเมือง” ที่วันหนึ่งได้สูดดมและลิ้มรสชาติหวานหอมเมื่อได้รับการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของสังคม

ทว่าภาคใต้ยังมีเรื่องราวของคนชายขอบอีกมากมายที่ไม่อาจเข้าถึงสื่อมวลชน ไม่ว่า ปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน สิทธิชุมชนบนแผนพัฒนาของรัฐ หรือทุนเอกชนที่ก่อความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน

จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์คนที่ขลุกอยู่กับปัญหาลุกขึ้นมาหยิบเครื่องมือสื่อสารเป็นนักข่าวพลเมืองนำเสนอออกไปสู่สาธารณะด้วยรูปแบบต่างๆ ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ “นักข่าวพลเมือง” สถานีโทรทัศน์ color:black;mso-themecolor:text1">Thai PBS background:#FDFFF2"> ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้เกือบทุกจังหวัด ไม่ว่า เครือข่ายไทยพลัดถิ่น เครือข่ายสิทธิคนจนภูเก็ต กลุ่มเด็กใต้จายข่าว กลุ่ม background:white">ยุวทัศน์ กลุ่มมีดหม้อสีขาว color:black;mso-themecolor:text1;background:white;font-style:normal">กลุ่ม mso-themecolor:text1;background:white">โหมเรารักษ์จะนะ "Times New Roman""> white;font-style:normal">กลุ่มเยาวชนรักษ์ถิ่น "Times New Roman"">สตูล ฯลฯ

color:black;mso-themecolor:text1">ขณะใน color:black;mso-themecolor:text1">3 จังหวัดชายแดนใต้ มีกลุ่ม Southern Peace Media และกลุ่ม Insouth Media ซึ่งผ่านการอบรมสื่อวีดีทัศน์จากศูนย์ฝึกอบรมผู้ผลิตสื่อ (Media Training Centre: MTC) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างอินเตอร์นิวส์ (องค์กรพัฒนาคุณภาพสื่อและผู้ผลิตสื่อ) กับคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ต่อมา 2 กลุ่มนี้ได้ส่งผลงานเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ในช่วงนักข่าวพลเมือง และรายการเด็กมีเรื่อง

13 มีนาคม 2555 “ mso-themecolor:text1">งานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ "Times New Roman"">” เพิ่งปิดม่าน "Times New Roman"">ลง ด้วยเป้าหมายร่วมกันของเครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ที่ประกอบด้วย color:black;mso-themecolor:text1">3 ภาคี คือ ภาควิชาการ ประกอบด้วย ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายวัฒนธรรมภาคใต้ ฯลฯ "Times New Roman"">ภาคประชาสังคม คือมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ฯลฯ

และสื่ออย่าง สำนักข่าวอามาน สำนักข่าวบุหงารายานิวส์ ศูนย์ข่าวปัตตานีฟอรั่ม สำนักข่าวกึ่งโรงเรียน อย่าง “โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้” ที่มุ่งฝึกนักข่าวให้ความสำคัญกับเนื้อหาทำข่าวอย่างมืออาชีพ นอกจากนี้ยังประกอบด้วย เครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้ วิทยุท้องถิ่น ฯลฯ mso-themecolor:text1"> ที่ร่วมกันสร้างพื้นที่สาธารณะเพื่อหาทางออกจากปัญหาไฟใต้ที่คุกรุ่น

“งานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้” color:black;mso-themecolor:text1">วันนั้นนอกจากจะมีนักข่าวจากสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ color:black;mso-themecolor:text1">Thai PBS แล้วยังมีสื่อทางเลือกจากภาคใต้ตอนบนเช่นกัน นั่นคือ เครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ที่ร่วมเป็นพี่เลี้ยงนักข่าวพลเมืองและนักศึกษาจำนวนหนึ่ง ดำเนินการถ่ายทอดสดทั้งโทรทัศน์ออนไลน์ และวิทยุออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ทีวีไทยเน็ตเวิร์ค mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:blue">www.tvthainetwork.com  เว็บไซต์เครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ คือ www.mmc.siamvip.com color:black;mso-themecolor:text1;text-decoration:none;text-underline:none"> และ www.suephaktai.com "Times New Roman""> ด้วย

color:black;mso-themecolor:text1">ก่อนหน้านั้นช่วงต้นเดือนมกราคม "Times New Roman";color:black;mso-themecolor:text1">2555 ในงานสมัชชา mso-themecolor:text1;background:white;font-style:normal">ปฏิรูปชายแดนใต้ color:black;mso-themecolor:text1;background:white">  mso-themecolor:text1;background:white">ครั้งที background:white">1 “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา color:black;mso-themecolor:text1">ทีมงานเครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ "Times New Roman";color:black;mso-themecolor:text1">เคยร่วมถ่ายทอดสดครั้งหนึ่งแล้ว

ถ้าหากย้อนมองเครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ จะพบว่าในงานสำคัญๆ ไม่ว่า การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 เมื่อวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ศูนย์ประชุม normal">สหประชาชาติ "Times New Roman"">เวทีสมัชชาสุขภาพภาคใต้ เมื่อวันที่ 13-15 "Times New Roman""> มกราคม 2555 ที่จังหวัดตรัง

เครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ มีการถ่ายทอดสดผ่านวิทยุออนไลน์ www.healthyradio.org "Times New Roman""> ,www.health.station.in.th "Times New Roman""> ,FM 101 MHz จังหวัดสงขลา , "Times New Roman"">www.Banbanradio.org และมีการส่งสัญญาณไปทั่วภาคใต้ กว่า 40 คลื่นความถี่ ส่วนการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ www.mmc.siamvip.com,www.suephaktai.com, www.healthytv.org "Times New Roman"">และwww.Thakhamtv.go.th และ www.tvthainetwork.com

นายอานนท์ มีศรี บรรณาธิการเครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ บอกว่า เครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ เข้ามาร่วมงานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ และงานสมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้ ในฐานะภาคีกับสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ color:black;mso-themecolor:text1">Thai PBS "Times New Roman""> ที่ร่วมจัดอบรมนักข่าวพลเมือง และร่วมถ่ายทอดสดงานต่างๆ มาหลายงาน กระทั่งได้รับการชักชวนให้มาเป็นพี่เลี้ยงอบรมท่ามกลางการปฏิบัติให้กับนักศึกษาที่สนใจ

นายอานนท์ บอกถึงความเป็นมาของเครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ว่า เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ปี "Times New Roman"">2547 โดยมีฐานจากวิทยุชุมชนที่รวมตัวกันหลายพื้นที่ในภาคใต้นำเสนอข่าวสารในชุมชนออกสู่สาธารณะ กระทั่งปี 2550 สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) ได้เข้ามาสนับสนุนงบประมาณ และองค์ความรู้ด้านงานสื่อ

“มีการตั้งกองบรรณาธิการคณะทำงานยุทธศาสตร์สื่อภาค​ใต้ "Times New Roman"">ขึ้น โดยสื่อสาร 4 ประเด็นหลัก คือ ปัญหาแผนพัฒนาภาคใต้ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อม ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัย การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน และการจัดการตนเองซึ่งรวมถึงการกระจายอำนาจในจังหวัดชายแดนใต้ด้วย” mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">นายอานนท์ บอกถึงประเด็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งนำเสนอ

ขณะเดียวกันกองบรรณาธิการคณะทำงานยุทธศาสตร์สื่อภาค​ใต้ ประกอบด้วย โทรทัศน์-วิทยุออนไลน์ font-style:normal">เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคใต้ สื่อวัฒนธรรมพื้นบ้าน อาทิ หนังตลุง มโนราห์ ฯลฯ สื่อสิ่งพิมพ์ คือศูนย์สื่อสังคมภาคใต้ ที่ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์คนปากใต้ หนังสือพิมพ์ฅนฅอน หนังสือพิมพ์เสียงสตูล หนังสือพิมพ์มีดหม้อสีขาว ฯลฯ

โดยผลิตเนื้อหาจากมุมข่าว โดยโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ซึ่งมีนายสุพจ จริงจิตร นักข่าวมากประสบการณ์ผู้เกาะติด "Times New Roman"">ติดประเด็นแผนพัฒนาภาคใต้ และสิทธิมนุษยชนเป็นบรรณาธิการฯ เผยแพร่ข่าวผ่านเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ อย่าง ประชาไท ประชาธรรม ผู้จัดการออนไลน์ ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) เป็นต้น

นี่คือภาพรวมความร่วมมือกันขับเคลื่อนปัญหาของเครือข่ายสื่อทางเลือกภาคใต้