Skip to main content

ศอ.บต. ส่งสรุปประชุม กพต. เตรียมนำเข้า ครม.24 เมษา’55 พิจารณาหลักเกณฑ์เยียวยา ขออนุมัติ 2 พันล้านช่วยเหยื่อไฟใต้ ตั้งแต่ปี 2547 รายละ 7.5 ล้าน แบ่ง 4 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ขอเพิ่ม 400 ล้านเหยื่อคาร์บอมบ์หาดใหญ่ ส่วน 4 ศพปุโละปุโยให้ก่อน 3 ล้าน ที่เหลือทยอยจ่ายรายปี เห็นชอบทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองสนธิกำลังดูแลสงขลา

 

 

 แแ

(ภาพจากhttp://www.dailynews.co.th/crime/20573)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ทำบันทึกข้อความ เรื่องสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 ที่ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่งถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว เพื่อเตรียมนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบต่อไป

ที่ประชุมกพต.ครั้งดังกล่าว มีมติทั้งหมด 12 เรื่อง โดยมี 3 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ 1. Calibri;letter-spacing:.1pt">เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและ mso-fareast-font-family:Calibri">ผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และขออนุมัติเงินงบประมาณ 2,080 ล้านบาทจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) 2.เห็นชอบการช่วยเหลือเยียวยา Calibri">ชาวบ้านตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ถูกยิงเสียชีวิต mso-fareast-font-family:Calibri">4 ศพ บาดเจ็บ 5 ราย และ letter-spacing:-.6pt">3.เห็นชอบการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก mso-fareast-font-family:Calibri">เหตุลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์ mso-fareast-font-family:Calibri">3 จุด เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555

นายสมเกียรติ อ้นทอง ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555 ว่า ผลการประชุมกพต.ครั้งดังกล่าว จะมีการนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันอังคารที่ 24 เมษายน 2555

นายสมเกียรติ เปิดเผยว่า สำหรับ เรื่องแรก มีมติ Calibri;letter-spacing:.1pt">เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและ mso-fareast-font-family:Calibri">ผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และขออนุมัติเงินงบประมาณเยียวยา 2,080 ล้านบาท จากคณะรัฐมนตรี

นายสมเกียรติ เปิดเผยต่อไปว่า .1pt">หลักเกณฑ์ Calibri">ดังกล่าว มีสาระสำคัญ คือ ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 จนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ประชาชนทั่วไป 2.เจ้าหน้าที่รัฐ 3.ผู้ที่ถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือกลุ่มเฉพาะที่คณะกรรมการมีมติให้ช่วยเหลือเยียวยา หรือคนที่ถูกบังคับให้สูญหาย และ 4.ผู้ถูกควบคุมตัวหรือถูกคุมขังหรือถูกดำเนินคดี ซึ่งต่อมาปรากฏหลักฐานว่าผู้นั้นมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือมีการถอนฟ้อง หรือมีคำพิพากษายกฟ้อง

นายสมเกียรติ เปิดเผยว่า ในจำนวนวงเงินงบประมาณ 2,080 ล้านบาท จะแบ่งงบประมาณให้กับกลุ่มที่ 1 จำนวน 500 ล้านบาท กลุ่มที่ 2 จำนวน 200 ล้านบาท กลุ่มที่  3 จำนวน 1,000 ล้านบาท และกลุ่มที่ 4 จำนวน 300 ล้านบาท

นายสมเกียรติ เปิดเผยอีกว่า เรื่องที่ 2 การช่วยเหลือเยียวยา mso-fareast-font-family:Calibri">ชาวบ้านตำบลปุโละปุโย ถูกยิงเสียชีวิต mso-fareast-font-family:Calibri">4 ศพ บาดเจ็บ 5 ราย ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ กระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้ช่วยเหลือเยียวยา รายละ 3 ล้านบาท และให้เป็นเงินออมระยะยาว รายละ 4 ล้านบาท โดยจ่ายเป็นรายปี ปีละ 1 ล้านบาท

นายสมเกียรติ เปิดเผยอีกว่า เรื่องที่ 3 การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก mso-fareast-font-family:Calibri">เหตุลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์ mso-fareast-font-family:Calibri">3 จุด เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 คือบริเวณถนนรวมมิตร อำเภอเมือง จังหวัดยะลา บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรแม่ลาน อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี และบริเวณศูนย์การค้าลีการ์เดนส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

นายสมเกียรติ เปิดเผย mso-fareast-font-family:Calibri">ว่า ที่ประชุม กพต.เห็นชอบให้ ศอ.บต.ขอขยายวงเงินช่วยเหลือเยียวยาจากกรมบัญชีกลางจาก letter-spacing:-.5pt"> 230 ล้านบาท เป็น 400 ล้านบาท ให้ ศอ.บต.ร่วมกับทางจังหวัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายและขอรับการจัดสรรงบประมาณ mso-fareast-font-family:Calibri">สำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น mso-fareast-font-family:Calibri">

ส่วนด้านมาตรการรักษาความปลอดภัย เห็นชอบตามข้อเสนอของจังหวัดสงขลา ที่ขอให้มีตำรวจ ทหาร เข้ามาสนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง ขอเพิ่มอัตรากำลังของฝ่ายปกครอง รวมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ในงานความมั่นคง เช่น กล้องวงจรปิด โดยมอบให้จังหวัดสงขลา ร่วมกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณา Calibri">

ที่ประชุมยังเห็นชอบที่จังหวัดยะลาเสนอขอรับการสนับสนุน mso-fareast-font-family:Calibri">โครงการติดตั้งกล้องวงจรปิด ( mso-fareast-font-family:Calibri">CCTV) ในพื้นที่เสี่ยงและในเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 138 จุด 150 ตัว งบประมาณ 99 ล้านบาท

ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ประชุมมอบให้กระทรวงการคลัง ร่วมกับสำนักงบประมาณ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จังหวัดสงขลา และ ศอ.บต. พิจารณาสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นเวลา mso-fareast-font-family:Calibri;letter-spacing:-.2pt">5 ปี mso-fareast-font-family:Calibri"> ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาลดภาษีโรงเรือนและภาษีป้าย ลงร้อยละ Calibri">30 เป็นเวลา 2 ปี เป็นต้น

 

ล้อมกรอบ

 

เปิด มติ กพต.ว่าด้วยการเยียวยาเหยื่อไฟใต้

 

ต่อไปนี้ เป็นบันทึกข้อความขอศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ นร ๕๒๐๒.๑ เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ ที่ส่งถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีสาระสำคัญในเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้

.....................

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)/สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ได้จัดประชุม กพต. ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันพุธที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุม ๕๐๑ ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ โดยมี รองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) ปฏิบัติหน้าที่ประธาน กพต. เป็นประธานการประชุม สรุปผลการประชุม ได้ดังนี้

          เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน ๑๒ เรื่อง โดยมี 3 เรื่องที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเนื้อหาดังนี้

Calibri;letter-spacing:.1pt"> 

Calibri;letter-spacing:.1pt">เห็นชอบหลักเกณฑ์–ขอ mso-fareast-font-family:Calibri;letter-spacing:.1pt">2,080 ล้านช่วยเหยื่อ

mso-fareast-font-family:Calibri;letter-spacing:.1pt">ขอความเห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและ mso-fareast-font-family:Calibri">ผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

mso-fareast-font-family:Calibri">สาระสำคัญ

mso-fareast-font-family:Calibri">๑. หลักเกณฑ์และวิธีการ ให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน ดังนี้

๑.๑ บุคคลที่เป็นผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบที่จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟู แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม

กลุ่มที่ ๑ ประชาชนทั่วไป

กลุ่มที่ ๒ เจ้าหน้าที่ของรัฐ

กลุ่มที่ ๓ ผู้ที่ถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ก่อเหตุรุนแรงที่คณะกรรมการฯมีมติช่วยเหลือเยียวยาเฉพาะกรณี ที่ต้องช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้เสียหายที่ถึงแก่ความตาย หรือทุพพลภาพ หรือกรณีการบังคับบุคคลให้สูญหาย  ให้นำระเบียบ กพต. ว่าด้วยการช่วยเหลือเยียวยาฯ  พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๗ (๑) และ (๒) มาใช้โดยอนุโลม

กลุ่มที่ ๔ กรณีผู้ถูกควบคุมตัวหรือถูกคุมขังหรือถูกดำเนินคดีเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย และถูกควบคุมตัวหรือคุมขัง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว  ต่อมาปรากฏหลักฐานว่าผู้นั้นมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือมีการถอนฟ้อง หรือมีคำพิพากษายกฟ้องและคณะกรรมการเยียวยาฯ  พิจารณาว่าต้องได้รับการเยียวยา

 

๒. หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้เสียหายและได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ การรักษาพยาบาล การส่งต่อฟื้นฟูผู้พิการหรือฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านจิตวิญญาณ

mso-fareast-font-family:Calibri">๓. กรอบวงเงินงบประมาณสำหรับการช่วยเหลือ จำนวน ๒,๐๘๐ ล้านบาท

mso-fareast-font-family:Calibri">๔. การขับเคลื่อนงาน -.4pt">: คณะกรรมการเยียวยาฯ ได้แต่งตั้งอนุกรรมการ จำนวน ๘ คณะ เมื่อคณะกรรมการเยียวยาฯ หมดวาระ ให้อำนาจหน้าที่และการดำเนินงานของคณะกรรมการเยียวยาฯ เป็นของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.)

มติที่ประชุม

๑. ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

๒. อนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๒,๐๘๐ ล้านบาท

๓. ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติต่อไป

mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">เยียวยา mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">4ศพให้ก่อน3ล้านที่เหลือปีละล้าน

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">            การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ตามระเบียบ กพต. ว่าด้วยการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันสืบเนื่อง   มาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.๒๕๕๕

          สาระสำคัญ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">            ๑) mso-fareast-font-family:Calibri"> เกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๕  ชาวบ้านตำบลปุโล๊ะปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ถูกยิงถึงแก่ความตาย จำนวน ๔ ราย และได้รับบาดเจ็บ ๕ ราย กอ.รมน. ภาค ๔ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่ ๑๐/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕  และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้มีมติและความเห็นเป็นเอกฉันท์ สรุปว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น  เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ กระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ mso-fareast-font-family:Calibri">

mso-fareast-font-family:Calibri">          ๒) ตามระเบียบ กพต. ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจังหวัดปัตตานี ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕  พิจารณาให้ความช่วยเหลือเยียวยารายละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท และครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ ได้มีมติ เสนอเลขาธิการ ศอ.บต. ให้นำเสนอ กพต. ตามระเบียบ กพต. ข้อ ๗ (๑) และรายการท้ายระเบียบ กพต. ว่าด้วยอัตราค่าช่วยเหลือ (๑) และ(๒) กพต. โดยการเสนอของเลขาธิการ ศอ.บต.  กรณีการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเฉพาะกรณี ให้ช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติมอีกไม่เกิน จำนวนเงิน ๗.๐๐๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ กพต. อาจจะกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือด้วยก็ได้ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">            มติที่ประชุม mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">            เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเฉพาะกรณี กพต. มีมติให้ความเห็นชอบช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติม กรณีผู้เสียชีวิตทั้ง ๔ ราย รายละไม่เกินจำนวนเงิน ๗.๐๐๐๐ ล้านบาท โดยกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจ่าย ดังนี้ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">                        ๑. ช่วยเหลือเยียวยา รายละ ๓.๐๐๐๐ ล้านบาท

                   ๒. ช่วยเหลือเยียวยา เป็นเงินออมระยะยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาลหรือตั๋วเงินธนาคาร    ในวงเงินอีกรายละ ๔.๐๐๐๐ ล้านบาท โดยจ่ายเป็นรายปี ปีละ ๑.๐๐๐๐ ล้านบาท เพื่อใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพ หรือใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาของทายาท ครอบครัวผู้เสียชีวิต หรือประโยชน์อื่น เช่น อุปการะบุตร หรือ ประกอบพิธีฮัจญ์ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

 

เยียวยาเหยื่อคาร์บอมบ์หาดใหญ่ – ยะลา

            การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕

          สาระสำคัญ

          ๑) mso-fareast-font-family:Calibri"> ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิด เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ จำนวน ๓ จุด คือ ๑) บริเวณถนนรวมมิตร อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ๒) บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรแม่ลาน อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี และ ๓) บริเวณศูนย์การค้าลีการ์เดนส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา mso-fareast-font-family:Calibri">

mso-fareast-font-family:Calibri">          ๒) ข้อเสนอของจังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลา

๒.๑) ด้านการช่วยเหลือเยียวยา

        ๒.๑.๑) mso-fareast-font-family:Calibri">จังหวัดสงขลาได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อช่วยเหลือเยียวยา จำนวน ๑๐๐ ล้านบาท

mso-fareast-font-family:Calibri">        ๒.๑.๒) จังหวัดยะลา ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อช่วยเหลือเยียวยา จำนวน ๗๐ ล้านบาท

mso-fareast-font-family:Calibri">๒.๒) ด้านมาตรการรักษาความปลอดภัย

        ๒.๒.๑) จังหวัดสงขลาเสนอขอรับการสนับสนุน ดังนี้

                   - ขอปรับสถานะของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดจังหวัดสงขลา จากประเภทที่ ๒ เป็นประเภทที่ ๑ เพื่อให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร เข้ามาสนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง

                   - ขอปรับเพิ่มกรอบอัตรากำลังปลัดอำเภอและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือพนักงานราชการประจำตำบลทุกตำบลจำนวน ๓๙ อัตรา

                   - ขอปรับเพิ่มอัตรากำลังสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนของกองร้อย อส.จ.สงขลา จาก ๖๐ อัตรา เป็น ๑๒๐ อัตรา กองร้อย อส.อ.สะเดา และกองร้อย อส.อ.เมืองสงขลา จากที่มีอยู่กองร้อยละ ๒๔ อัตรา เป็นกองร้อยละ ๑๒๐ อัตรา เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยในเขตเมืองชายแดนและศูนย์ราชการ

                   - ขอสนับสนุนอุปกรณ์ ในงานความมั่นคง เช่น กล้องวงจรปิด รถจักรยานยนต์ อาวุธปืนพกสั้น เสื้อเกราะประจำกาย

           ๒.๒.๒) จังหวัดยะลาเสนอขอรับการสนับสนุน mso-fareast-font-family:Calibri">โครงการติดตั้งกล้องวงจรปิด ( mso-fareast-font-family:Calibri">CCTV) ในพื้นที่เสี่ยงและในเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน ๑๓๘ จุด ๑๕๐ ตัว งบประมาณ ๙๙.๓๗๕๓ ล้านบาท

๒.๓) ด้านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังสาธารณะภัย

        Calibri;letter-spacing:-.3pt">จังหวัดสงขลา ขอสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชน ดังนี้ mso-fareast-font-family:Calibri;letter-spacing:-.3pt">

mso-fareast-font-family:Calibri;letter-spacing:-.3pt">        Calibri">(๑) เงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ Calibri">MLR –๒.๗๕

mso-fareast-font-family:Calibri">           mso-fareast-font-family:Calibri">- วงเงิน ๓,๐๐๐.๐๐๐๐ ล้านบาท สำหรับกิจการเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว ตั้งแต่โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าย่อย ในจังหวัดสงขลา ระยะเวลา ๕ ปี

mso-fareast-font-family:Calibri">           mso-fareast-font-family:Calibri">- ธนาคารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอิสลาม และ SME แบงค์

mso-fareast-font-family:Calibri">        (๒) การขอยกเว้นภาษีโรงเรือน และภาษีป้ายร้อยละ ๓๐ เป็นระยะเวลา ๒ ปี

mso-fareast-font-family:Calibri">        (๓) การจ่ายสินไหมประกันภัยให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในจังหวัดสงขลา ที่มีวีซ่าหรือหนังสือเดินทางถูกต้องจำนวน ๑.๐๐๐๐ ล้านบาท ปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.๒๕๔๘ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ระเบียบกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท ถ้าเป็นหัวหน้าครอบครัวจะได้เพิ่มอีก ๒๕,๐๐๐ บาท ระเบียบกระทรวงพัฒนาสังคมฯ จำนวน ๖,๐๐๐ บาท และสินไหมประกันภัยจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน ๓๐๙,๐๐๐ บาท รวม ๔๔๐,๐๐๐ บาท โดยจะขอให้รัฐบาลเพิ่มในส่วนการเยียวยาตามมติคณะรับมนตรี พ.ศ.๒๕๔๘ จ่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่มีวีซ่าและหนังสือเดินทางถูกต้องเพิ่มจากเดิมจนครบ ๑.๐๐๐๐ ล้านบาท คือจ่ายเพิ่ม ๕๖๐,๐๐๐ บาท 

mso-fareast-font-family:Calibri">        (๔) ขอลดค่า Landing fee ที่ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ให้กับเครื่องบินเช่าเหมาลำหรือสายการบินจากต่างประเทศให้เป็นกรณีพิเศษ

mso-fareast-font-family:Calibri"> 

mso-fareast-font-family:Calibri">                 มติที่ประชุม

mso-fareast-font-family:Calibri">             ๑. ด้านการช่วยเหลือเยียวยา เห็นชอบให้ ศอ.บต. ขอขยายกรอบวงเงินทดรองราชการ ไปยังกรมบัญชีกลางจากเดิม ๒๓๐ ล้านบาท เป็น ๔๐๐ ล้านบาท สำหรับงบประมาณที่ขอจัดสรรจำนวน ๑๗๐ ล้านบาท ให้ ศอ.บต. ร่วมกับทางจังหวัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายและขอรับการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งสำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณ Calibri">งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้ในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปอยู่แล้ว mso-fareast-font-family:Calibri">

mso-fareast-font-family:Calibri">             ๒. ด้านมาตรการรักษาความปลอดภัย Calibri">

๒.๑ ให้ความเห็นชอบตามข้อ ๒.๒.๑ และมอบให้จังหวัดสงขลา ร่วมกับ กอ.รมน. และกระทรวงมหาดไทย ไปพิจารณาในรายละเอียดและเสนอขอตั้งกรอบอัตรากำลังและงบประมาณ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ต่อไป

๒.๒ ให้ความเห็นชอบตามข้อ ๒.๒.๒ mso-fareast-font-family:Calibri">โดยขออนุมัติงบประมาณ จากงบกลางปี ๒๕๕๕ จำนวน ๙๙.๓๗๕๓ ล้านบาท รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นและให้ประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ดูแลระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้เน้นเพื่อการป้องกันและการเตือนภัยมากกว่าการใช้เป็นหลักฐานทางคดีหลังเกิดเหตุ

             ๓. ด้านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังสาธารณะภัยเห็นชอบดังนี้

๓.๑ Calibri">มอบให้กระทรวงการคลัง ร่วมกับสำนักงบประมาณ สศช. จังหวัดสงขลา และ ศอ.บต. พิจารณาสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ธุรกิจท่องเที่ยว ตั้งแต่ โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าย่อย ระยะเวลา ๕ ปี Calibri">

mso-fareast-font-family:Calibri">๓.๒ ให้กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาลดภาษีโรงเรือน และภาษีป้าย ลงร้อยละ ๓๐ ระยะเวลา ๒ ปี

mso-fareast-font-family:Calibri">๓.๓ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พิจารณาการการจ่ายค่าสินไหมประกันภัยให้กับนักท่องเที่ยวเพิ่มเติมตามที่เสนอ mso-fareast-font-family:Calibri">