ไอแบงก์ปล่อยกู้พิเศษ เหยื่อคาร์บอมบ์ถนนรวมมิตร ยะลา ไม่ต้องมีทรัพย์ค้ำประกัน แม่ค้ากือโป๊ะเผย เจอ 3 หน ยอดขายตกฮวบ ถนนทั้งสายโดนคาร์บอมบ์แล้ว 6 ครั้ง
ปรับปรุง - ห้องแถวบนถนนรวมมิตร ย่านเศรษฐกิจในเขตเทศบาลนครยะลา ส่วนใหญ่ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุง หลังจากได้รับความเสียหายจากแรงระเบิดคาร์บอมบ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตหลายคน บาดเจ็บอีกหลายร้อย
เมื่อเวลา 12.00 น.วันที่ 2 พฤษภาคม 2555 ห้องขวัญจุฑา โรงแรมปาร์ควิว อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา หอการค้าจังหวัดยะลา เชิญธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุคาร์บอมบ์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 บริเวณถนนรวมมิตร ในเขตเทศบาลนครยะลา เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้กรณีพิเศษ วงเงินกู้ตั้งแต่ 5,000 – 500,000 บาท โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยทางธนาคารคิดกำไร ร้อยละ 6
background:#FDFFF2">นายวีชิระ ตนภักดี ผู้จัดการส่วนสินเชื่อ color:#333333;background:#FDFFF2">1 ศูนย์ประจำจังหวัดยะลา ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และสังคม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังเหตุคาร์บอมบ์ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ภาคสนานไปเยี่ยมเยียน พูดคุยกับผู้ที่ได้ผลกระทบ พบว่า เงินเยียวยาจากรัฐยังมีจำนวนไม่พอสำหรับฟื้นฟูกิจการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จึงประสานกับหอการค้าจังหวัดยะลาจัดสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในย่านถนนรวมมิตรขึ้นมา
background:#FDFFF2">“ตามข้อมูลการเยียวยาของรัฐพบระบุว่า มีผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าว 150 ราย คาดว่าสามารถปล่อยสินเชื่อได้ภายใน 1 เดือน หากผู้ประกอบการส่งเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์” นายวีชิระ กล่าว
background:#FDFFF2">นายนฤพล สุคนธชาติ ผู้ประกอบการร้านอาหารและผับย่านถนนรวมมิตร ซึ่งได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด เปิดเผยว่า หลังเหตุคาร์บอมบ์ ตนได้รับเงินช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพรายละ 15,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอ ต่อการฟื้นฟูกิจการ
background:#FDFFF2">“ผมมีร้าน #FDFFF2">2 แห่งที่ได้รับความเสียหายจากระเบิด ใช้เงินซ่อมแซมประมาณ 300,000 บาท ซึ่งโครงการสินเชื่อของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยครั้งนี้เป็นเรื่องดี น่าจะช่วยผู้ประกอบในย่านถนนรวมมิตรนำไปฟื้นฟูกิจการได้ แต่ต้องดูเงื่อนไขก่อนว่าเป็นอย่างไร” นายนฤพล กล่าว
background:#FDFFF2">“เงินเยียวยาไม่มีใครอยากได้แน่นอน ทุกคนอยากได้ความปลอดภัยและความสงบสุข จะได้มีคนมาเที่ยวเยอะ เศรษฐกิจจะได้ดี มีความเชื่อมั่น” นายนฤพล กล่าว color:#333333;background:#FDFFF2">
background:#FDFFF2">นายนฤพล กล่าวด้วยว่า การกำหนดมาตรการให้พื้นที่ถนนรวมมิตรเป็นเขตปลอดภัย หรือ Safety Zone สามารถช่วยผู้ประกอบการได้เยอะในเรื่องความปลอดภัย และสร้างเชื่อมั่นต่อผู้ประกอบการได้มาก แต่อาจจะลำบากสำหรับลูกค้าที่มาซื้อขายบริเวณดังกล่าว คิดว่ามาตรการนี้ควรมีต่อไป
background:#FDFFF2">“เศรษฐกิจในย่านถนนรวมมิตรเริ่มดีขึ้นเมื่อ color:#333333;background:#FDFFF2">6 เดือนที่แล้วก่อนเกิดเหตุระเบิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 เพราะคนเริ่มคลายความกลัว แต่หลักเหตุระเบิดทุกอย่างก็หยุดลงอีกครั้ง” นายนฤพล กล่าว
background:#FDFFF2">นายกฤตนัย เอื้ออำรงกูล เจ้าของร้านขายโจ๊กหมูในย่านถนนรวมมิตร เปิดเผยว่า ตอนนี้ ยอดขายโดยรวมในย่านถนนรวมมิตรตกต่ำลงเกินกว่าครึ่ง บางร้านขาดทุนมากถึงกับจะย้ายไปที่อื่นหรือเซ้ง ยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมก็ยิ่งทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลงไปอีก color:#333333;background:#FDFFF2">
background:#FDFFF2">“ผมต้องการดูแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของหอการค้าจังหวัดยะลาก่อนตัดสินใจกู้เงินว่า มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน เพราะหากกู้ไปแล้ว อาจจะเป็นการสร้างภาระเพิ่ม เพราะเศรษฐกิจย่านถนนรวมมิตรขณะนี้ตกต่ำมาก และผมเองก็มีภาระที่จะต้องจ่ายมาก เช่น ค่าเช่าที่ค้าขาย ค่าผ่อนรถ เป็นต้น” นายกฤตนัย กล่าวว่า color:#333333;background:#FDFFF2">
background:#FDFFF2">นางปาลิตา ลิมน์ไตรรัตน์ แม่ค้าข้าวเกรียบ(กือโป๊ะ) และน้ำชาย่านถนนรวมมิตร เปิดเผยว่า ตนเป็นมุสลิมได้รับผลกระทบเหตุระเบิดบริเวณถนนรวมมิตรมาแล้ว color:#333333;background:#FDFFF2">3 ครั้ง จากทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งแรก วันที่ 27 พฤษภาคม 2553 ครั้งนี้พี่ชายเสียชีวิต ครั้งที่ 2 วันที่ 25 ตุลาคม 2554 และครั้งล่าสุดวันที่ 31 มีนาคม 2555
background:#FDFFF2">นางปาลิตา เปิดเผยว่า ก่อนเกิดเหตุระเบิดเมื่อวันที่ color:#333333;background:#FDFFF2">27 พฤษภาคม 2553 ขายกือโป๊ะได้วันละ 60 กิโลกรัม หลังจากนั้น ยอดขาดลดลงเหลือวันละ 20 กิโลกรัม ส่วนหลังเหตุคาร์บอมบ์วันที่ 31 มีนาคม 2555 ยอดขายเหลือ 10 กิโลกรัมต่อวัน