นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้าเสนอรัฐปรับสถานบริการขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น เน้นภาษาที่เข้าถึงชาวบ้าน ให้พื้นที่กับวิถีอิสลามมากขึ้นเพื่อลดเงื่อนไขความรุนแรงชายแดนใต้
เวลา 13.00 น. วันที่ 14 พฤษภาคม 2555 นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสันติสุข รุ่นที่ 2 สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้าเสนอผลการศึกษาเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในงานเสวนา “สันติธานี : วิถีวัฒนธรรมสู่สันติสุขชายแดนใต้” ณ ห้องคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมรามาการ์เด้นท์ กรุงเทพฯ
ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้ากล่าวเปิดงานสัมมนาโดยกล่าวชี้แจงว่านักศึกษาหลักสูตรนี้ในรุ่น 2 ได้เสนอแนะการพัฒนารูปแบบการบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ 3 แห่ง คือการบริการในสถานพยาบาล โรงเรียนและสถานีตำรวจ รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งเป็นนโยบายที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นกว่าในรุ่น 1
ดร.บวรศักดิ์อธิบายว่าการศึกษาดังกล่าวเกิดจากการลงพื้นที่ของนักศึกษาซึ่งมีทั้งสิ้น 90 คนเป็นเวลาสิบเดือน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 ถึงเดือนธันวาคม 2553 โดยได้สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องและหาข้อมูลจากพื้นที่ ตลอดจนการถกเถียงระหว่างนักศึกษากันเอง จนสามารถหารูปแบบที่เป็นข้อเสนอดังกล่าวได้ แต่เนื่องจากพื้นที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนาที่เข้มข้นเป็นพิเศษ การศึกษาจึงมีความละเอียดและต้องใช้เวลาในวิเคราะห์พอสมควร ทำให้นักศึกษารุ่นนี้ มีผลสรุปออกมาช้ากว่าที่หลักสูตรกำหนด
“สถาบันพระปกเกล้าและนักศึกษาตระหนักดีว่าปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่อาจจะยุติลงหรือสร้างสันติสุขขึ้นได้ หากปราศจากความเข้าใจของคนในสังคมไทยโดยรวม ต่อปัญหาและแนวทางแก้ไข และด้วยความตระหนักดังกล่าว ความเข้าใจของสังคมไทยจะช่วยผลักดันให้ความรุนแรงลดลงและจะทำให้การดำเนินงานของภาครัฐและภาคประชาชนเกิดความสมดุลในที่สุด” ดร.บวรศักดิ์กล่าว
นักศึกษาที่เป็นตัวแทนนำเสนอในงานดังกล่าวประกอบด้วย แพทย์หญิงเพ็ชรดาว โต๊ะมีนา ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตเขต 15 กระทรวงสาธารณสุข นางสาวนารี เจริญผลพิริยะ ประธานคณะทำงานสันติอาสาสักขีพยาน นายสมปอง อินทร์ทอง รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ อดีตนายกเทศมนตรีนครยะลา นายไพศาล อาแซ ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามดาราวิทย์ นายสมโภช สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
นายสมปองนำเสนอว่า คนมักจะเข้าใจผิดว่าคนสามจังหวัดต้องการแบ่งแยกดินแดนซึ่งหลังจากการลงพื้นที่เพื่อรับฟังข้อเสนอจากพื้นที่ ปรากฏว่าไม่มีแนวคิดนั้นอยู่ ชาวบ้านเพียงแต่ต้องการได้รับความเคารพในวิถีปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม
นายสมปองกล่าวว่าสถานบริการขั้นพื้นฐานของรัฐเป็นจุดที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่รู้สึกไม่ได้รับความเคารพ จึงมุ่งเสนอการปรับการบริการดังกล่าว โดยเฉพาะสถานบริการสามแห่งที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด คือ โรงพยาบาล โรงเรียนและสถานีตำรวจ
โรงพยาบาลควรจะมีการให้บริการที่สอดคล้องต่อวิถีวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ เช่น การเอื้อให้มีการอาบน้ำละหมาดแก่ผู้ป่วยอาการสาหัส การอ่านอัลกุรอานแก่ผู้ป่วย ฯลฯ
แพทย์หญิงเพ็ชรดาวกล่าวว่า mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">ปัญหาการเข้าถึงบริการสาธารณะสุขของประชาชนสามจังหวัดชายแดนใต้ มีมานานหลายศตวรรษ โดยเฉพาะการเข้าถึงบริการที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิตลง ซึ่งวัฒนธรรมและศาสนาไม่สามารถแยกออกจากวิถีชีวิตมุสลิมได้
mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">จากการพบปะพูดคุยกับผู้ใช้บริการสาธารณสุขทั่วประเทศ พบว่าชาวบ้านต้องการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เช่น การสื่อสารด้วยภาษาที่ท้องถิ่นเข้าใจได้จะสร้างความรู้สึกเป็นมิตร หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ต้องการผู้ให้บริการที่เป็นผู้หญิง เพื่อความสบายใจในการให้บริการ การคลอดในโรงพยาบาลอยากให้มีโต๊ะบีแด (หมอตำแย) อยู่ในห้องรอคลอดและหลังคลอด
นายไพศาลนำเสนอว่าที่ผ่านมาผู้ปกครองบางคนปฏิเสธไม่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐ เนื่องจากเกรงว่าการเข้าโรงเรียนรัฐจะทำให้เด็กลืมอัตลักษณ์ของคนมลายูมุสลิม จึงขอเสนอว่าโรงเรียนจะต้องทำให้การเรียนการสอนสอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของชาวบ้านในพื้นที่ เน้นคุณธรรม จริยธรรมและวิถีวัฒนธรรมของพื้นที่
น.ส.นารีเสนอว่าความเป็นธรรมในโรงพักเป็นประเด็นที่มีการเรียกร้องมากที่สุดเรื่องหนึ่ง การเลือกปฏิบัติทำให้เกิดความคับข้องใจในหมู่ประชาชนซึ่งจะต้องแก้ไขด้วยการยึดหลักดังต่อไปนี้ 1) หลักนิติธรรม 2) ความโปร่งใส 3) การมีส่วนร่วมของประชาชน 4) ความรับผิดชอบไม่ปกป้องคนผิด 5) หลักคุณธรรม จริยธรรม 6) หลักความคุ้มค่า ซึ่งหมายถึงว่า ถ้าตำรวจใช้ทรัพยากรอย่างไม่สิ้นเปลือง การเบียดเบียนประชาชนจะไม่เกิดขึ้น 7) ความเคารพวัฒนธรรมท้องถิ่น
น.ส.นารีนำเสนออีกว่า บรรยากาศของสันติธานีจะต้องไม่มีกฎหมายพิเศษ ควรยกเลิกกฎอัยการศึกและพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมทั้งการถอนทหารออกจากพื้นที่ด้วย
นายสมโภชนำเสนอประเด็นเศรษฐกิจชุมชนว่าชุมชนจะเข้มแข็งได้ต้องเกิดจากการมีกลไกในการจัดการปัญหาที่ดี มีผู้นำที่เป็นที่พึ่งได้ทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และผู้นำธรรมชาติ เมื่อประชาชนมีผู้นำที่เข้มแข้ง บริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม จะทำให้ชาวบ้านเชื่อมั่นว่าปัญหาของตนจะได้รับการแก้ไขซึ่งสิ่งเหล่าจะส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน และท้ายที่สุดจะนำไปสู่การจัดการความไม่สงบในพื้นที่ และเมื่อชาวบ้านเข้มแข็ง พวกเขาจะไม่ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มผู้ไม่หวังดี
นายพงษ์ศักดิ์ได้นำเสนอประเด็นการตั้งสภาพลเมือง เพื่อเป็นกลไกในการเปิดพื้นที่ให้
“เมื่อข้อเสนอจากประชาชนได้รั
Calibri;mso-hansi-theme-font:minor-latin;mso-bidi-font-family:"Cordia New";
mso-bidi-theme-font:minor-bidi;color:#222222">
ส่วนผู้มาวิจารณ์งานศึกษาในครั้งนี้ได้แก่นายดมัย มู่สา ผู้อำนวยการสำนักความมั่นคงจังหวัดชายแดนใต้และชนต่างวัฒนธรรม สภาความมั่นคงแห่งชาติ พลตรีนักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานปฏิบัติการที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร นายปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้ และนายประสิทธิ เมฆสุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้
ผู้วิจารณ์ต่างมีความเห็นร่วมกันว่าข้อเสนอของนักศึกษาที่ได้กล่าวมานี้เป็นรูปธรรมซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้เลยและเชื่อว่าจะสามารถลดเงื่อนไขความรุนแรงในพื้นที่และสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ได้มากขึ้น
mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">นายปิยะกล่าวว่าการแก้ปัญหาในพื้นที่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหรือปัจจัยสามข้อ คือ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">1) สิ่งที่กำลังจะขับเคลื่อนแก้ไข ผู้ที่กำลังจะลงมาทำมีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ หรือเปล่า เช่น การทำงานในโรงเรียน ครูที่จะลงไปสอนมีความรู้จริงหรือเปล่า มีความเสียสละหรือเปล่า 2) การมีส่วนร่วมของชาวบ้านมาร่วมคิด ร่วมทำ ประเมิน ทบทวน มากน้อยแค่ไหน mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222"> "Times New Roman";color:#222222">การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#222222">3) การยอมรับในพื้นที่ มีมากน้อยแค่ไหน สามประเด็นนี้เป็นสูตรที่อยากให้ทางทีมศึกษานำไปพิจารณาในดำเนินการตามโมเดลสันติธานี
นายประสิทธิ เมฆสุวรรณ กล่าวว่านอกจากดำเนินการในเรื่องความคับข้องใจของประชาชนแล้ว รัฐยังควรจะต้องทำให้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนหยุดฆ่าประชาชนด้วย ซึ่งสิ่งที่ยังไม่มีใครทำเลยคือการจัดการกับความคิดของกลุ่มที่ยังหวังจะแบ่งแยกดินแดน ซึ่งมีอยู่จริง
ภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ พยายามจะเปิดพื้นที่กลางที่นำคนที่คิดต่างสุดขั้วมาพูดคุยว่าตัวเองต้องการอะไร แล้วมาช่วยกันหาวิธีการนำความต้องการของเขาให้ปรากฏเป็นจริง โดยลดการทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ งานเหล่านี้ยังมีคนสนใจน้อยมากและรัฐควรจะทำ
หมายเหตุ: สำหรับผู้สนใจอ่านรายงาน “สันติธานี : วิถีวัฒนธรรมสู่สันติสุขชายแดนใต้” ฉบับเต็ม ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.deepsouthwatch.org/node/3207#en