Skip to main content

อดีตนักการเมืองกลุ่มวาดะห์ร่วมเสวนา หาทางดับไฟใต้ ‘เด่น – วันนอร์ – อารีเพ็ญ – นัจมุดดีน’ ร่วมแถลง 5 ข้อแก้ปัญหาชายแดนใต้ ส่งนัยยะอาจรวมกลุ่มทางการเมือง

วาดะห์ 

วาดะห์รวมกลุ่ม? – นักการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นอดีตแกนนำและสมาชิกกลุ่มวาดะห์ เช่น นายเด่น โต๊ะมีนา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ และ font-style:normal">นายนัจ background:white;font-style:normal">มุด background:white">ดีน background:white">  font-style:normal">อูมา รวมสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองจังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 6 เมื่อ 11 มิถุนายน 2555 ที่โรงแรม ซีเอส ปัตตานี

 

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 11 มิถุนายน 2555 ที่ห้องฟาฎอนี โรงแรม ซีเอส ปัตตานี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแถลงข่าว หลังจากการสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองจังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 6 โดยมีนักการเมืองจากพรรคต่างๆ โดยมีนายเด่น โต๊ะมีนา สมาชิกพรรคมาตุภูมิ อดีตแกนนำกลุ่มวาดะห์ เป็นผู้นำแถลงข่าว

โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าว ส่วนใหญ่อดีตแกนนำและสมาชิกกลุ่มวาดะห์ ได้แก่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์และนายนัจมุดดีน  background:white;font-style:normal">อูมา สมาชิกพรรคมาตุภูมิ นอกจากนี้ยังมีนายนิมุคตาร์ วาบา สมาชิกพรรคภูมิใจไทย นายอับดุลเร๊าะห์มาน อับดุลสมัด ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ระบบบัญชีรายชื่อ(ปาร์ตี้ลิสต์) พรรคเพื่อไทย เป็นต้น

นายเด่น แถลงสรุปข้อเสนอจากการสานเสวนาว่า มี 5 ประเด็น (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบด้านล่าง) เช่น ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) ยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557 ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้นำหลักรัฐประศาสโนบายของรัชกาลที่ 6 มาใช้ในการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ การส่งเสริมให้คนในพื้นที่เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐเป็นส่วนใหญ่ อาจจะเริ่มจากใน ศอ.บต.ก่อน เร่งพัฒนาความยุติธรรมกระแสหลักให้สอดคล้องกับความเป็นจริง รวดเร็ว และเป็นธรรม เป็นต้น

นายวันมูหะมัดนอร์ แถลงด้วยว่า การเสวนาครั้งนี้มีผู้ร่วมเสวนาจากหลายพรรคการเมือง ซึ่งหลังจากได้ข้อสรุปจากการเสวนาแล้วทุกคน ทุกพรรคการเมือง คงจะนำไปเสนอที่ประชุมของพรรคการเมืองการต่างๆ ไม่ว่า พรรครัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งจะมีส่วนผลักดันนโยบาย เพื่อไปสู่การปฏิบัติได้มากยิ่งขึ้นAnchor

นางสาวงามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า โครงการสานเสวนานี้ จัดมาแล้ว 5 ครั้ง โดยสลับกันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เดือนละ 1 ครั้ง ในเวลา 1 ปี โดยทุกครั้งจะมีการสรุปและทำเป็นข้อเสนอ พร้อมแถลงต่อสื่อมวลชน โดยผู้เข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ แต่ละคนเข้าร่วมเสวนามาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง

นางสาวงามศุกร์ เปิดเผยอีกว่า การเสวนาว่าในโครงการนี้ มีการนำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ภาคใต้ 2555 - 2557 และนโยบายการบริหารงานและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของสภาความมั่นคงแห่งชาติมาเป็นฐานในการเสวนาและจัดทำข้อเสนอ โดยข้อเสนอที่ได้จะเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า ในช่วงการสานเสวนา นายวันมูหะมัดนอร์ ได้กล่าวในวงเสวนาว่า นักการเมืองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ น่าจะต้องมีพื้นที่ร่วมกันในการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ข้อเสนอจากการสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองจังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 6

ประเด็นที่ 1

ตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว และในขณะนี้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557 ให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว ที่ประชุมมีความเห็นว่า ทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติใช้ได้ผลจริงในพื้นที่

ประเด็นที่ 2

ตามที่ร่างยุทธศาสตร์ระบุว่าจะ “จะน้อมนำหลักรัฐประศาสโนบายของล้นเกล้าราชกาลที่ 6 ข้อที่ 1 ที่ได้ทรงฯวางไว้ว่า “วิธีปฏิบัติการอย่างใด เป็นทางให้พลเมืองรู้สึกเห็นไปว่า เป็นการเบียดเบียนกดขี่ศาสนาอิสลาม ต้องยกเลิกหรือแก้ไขเสียทันที การใดจะจัดขึ้นใหม่ต้องอย่าให้ขัดกับลัทธินิยมของอิสลาม หรือยิ่งทำให้เห็นเป็นการอุดหนุนศาสนามหมัดได้ยิ่งดี” มาใช้ในการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ” นั้น การปฏิบัติข้อนี้น่าจะเป็นการปฏิบัติ “ลัทธินิยมของอิสลาม” ที่เป็นข้อวินิจฉัย 23 ข้อ ของอดีตจุฬาราชมนตรีท่านประเสร็จ มะหะหมัด โดยข้อราชการได้รับทราบอย่างกว้าง เช่น ปิดประกาศข้อวินิจฉัยในที่ทำการอำเภอและโรงเรียนทุกแห่ง อนึ่ง ขอให้ผู้บังคับบัญชากำชับ ข้าราชการให้เคารพประเพณีนิยมโดยเฉพาะในเรื่องทางเพศอย่างเคร่งครัด และจะต้องลงโทษทางวินัยแก่ผู้ที่ละเมิดอย่างจริงจัง

ประเด็นที่ 3

ตามที่ร่างยุทธศาสตร์ ระบุว่าจะ “ส่งเสริมให้มีส่วนสรรหาเพื่อบรรจุแต่งตั้งผู้มีภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐเป็นส่วนใหญ่” นั้น การปฏิบัติอาจจะเริ่มจากการขออนุมัติให้มีอัตรากำลังของข้าราชการเป็นของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อดำเนินการ บรรจุแต่งตั้งผู้มีลำเนาเป็นส่วนใหญ่ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรเสนอแนะกระทรวงต่างๆ ส่งข้าราชการที่เข้าใจและตั้งใจจริงมาปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มิใช่ผู้ที่ขาดความสนใจหากต้องการเพียงดำแห่นงและใจจดจ่อกับการขอย้ายจากพื้นที่ ทั้งนี้ ขอให้ปฏิบัติตามหลักรัฐประศาสโนบายล้นเกล้าราชการที 6 อย่างจริงจัง

ประเด็นที่ 4

ตามที่ร่างยุทธศาสตร์ระบุว่าจะ “เร่งพัฒนาความยุติธรรมกระแสหลักให้สอดคล้องกับความเป็นจริง รวดเร็ว และเป็นธรรม” ที่ประชุมมีความเห็นว่า กระบวนการยุติธรรมมีความล่าช้า การสอบสวนและส่งฟ้องยังไม่เป็นธรรม เช่นมีการ “ผ่อนฟ้อง” และระว่างปี พ.ศ.2552-2554มีการยกฟ้องถึง 63- 78 เปอร์เซ็นต์ 

ประเด็นที่ 5

             ในประเด็นทางเศรษฐกิจ ตามที่ร่างยุทธศาสตร์ระบุว่าจะดำเนินการถึง 23 เรื่องนั้น ที่ประชุมขอเน้นว่า ขณะนี้ปัญหาความไม่สงบเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยกับการมีงานทำของเยาวชน ซึ่งจะช่วยนำพลังของเยาวชนมาสู่การสร้างสรรค์ อนึ่ง ในปัจจุบันมีพลเมืองไทยไปประกอบอาชีพที่ประเทศมาเลเซียจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพการขายอาหาร เช่น ต้มยำ อาจมีสูงถึง 200,000 คน จึงขอให้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาดำเนินการให้มีการตกลงในระดับนโยบายระหว่างรัฐบาลไทยกับมาเลเซีย เพื่ออำนวยความสะดวกและการสนับสนุนการประกอบอาชีพ และลดค่าใช้จ่ายและอุปสรรคต่างๆ รวมทั้งการขอใบอนุญาตการทำงานได้สะดวกและมีค่าจ่ายที่ลดลง