เปิดตัวรายการวิทยุเสียงผู้หญิงชายแดนใต้ภาคมลายู 2 ก.ค.เริ่มออกอากาศ รวม 47 ตอน เพิ่มอีกช่องทางสร้างโอกาสให้ผู้ได้รับผลกระทบ “สุภิญญา กลางณรงค์” กรรมการ กสทช. ชี้ เสียงผู้หญิงเป็นปัจจัยสำคัญของการปฏิรูปสื่อ
โซรยา จามจุรี
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 15 มิถุนายน 2555 ที่ห้องประชุมเช็คดาวุด อัลฟาฎอนี วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้หญิงภาคประชาสังคมเปิดตัวรายการวิทยุ“เสียงจากผู้หญิงชายแดนภาคใต้” ภาคภาษามลายู และพบปะเสวนากับเครือข่ายสื่อวิทยุ สนับสนุนโดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี Oxfam และสหภาพยุโรป
นางโซรยา จามจุรี หัวหน้าโครงการผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ เปิดเผยว่า รายการวิทยุ “เสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้”ภาคภาษามลายูมีเรื่องที่ออกอากาศทั้งหมด 47 ตอน ระยะเวลา 2 เดือน จะเริ่มออกอากาศในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 ผ่าน 14 สถานีและ 3 เว็บไซต์ ได้แก่ Hpp://www.civicwoman.comHpp://www.exten.pn.psu.ac.thและHpp://www.deepsouthwatch.org แต่ละตอนยาวประมาณ 17 นาที โดย 15 นาที เป็นเนื้อหาภาษามลายู ส่วนอีก 2 นาทีเป็นสรุปภาษาไทย
นางโซรยา เปิดเผยอีกว่า รายการเสียงจากผู้หญิงชายแดนภาคใต้ภาคภาษามลายู มาจากเสียงสะท้อนผ่านรายการวิทยุ เสียงผู้หญิงชายแดนใต้ภาคภาษาไทยเมื่อปีที่ผ่านมา จากการประเมินพบว่า ประชาชนในพื้นที่ต้องการให้จัดรายการเป็นภาษามลายูด้วย ปีนี้เครือข่ายผู้ภาคประชาสังคมชายแดนใต้จึงทำรายการภาคภาษามลายูขึ้นมา โดยจะใช้ภาษามลายูท้องถิ่น
นางโซรยา เปิดเผยด้วยว่า ส่วนเนื้อหาของรายการ มีการนำผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาพูดในรายการ ซึ่งจากการที่เขาต้องสูญเสียสามีหรือลูก หรือสามีอยู่ในเรือนจำ มาสะท้อนถึงความยากลำบากที่ตัวเองได้รับและสะท้อนถึงการก้าวข้ามความยากลำบากของผู้ที่ผู้ดำเนินรายการ
นางโซรยา เปิดเผยว่า นอกจากนี้ทางรายการจะนำผู้หญิงที่เป็นชาวประมง มาสะท้อนถึงปัญหาจากการประกอบอาชีพประมงหรือการที่ชาวบ้านต้องสูญเสียอาชีพและสูญเสียทรัพยากรในทะเล ส่วนผู้หญิงที่อยู่สังคมที่มีการระบาดของยาเสพติด มานำเสนอวิธีการต่อสู่กับปัญหายาเสพติดในชุมชน
“รายการวิทยุ “เสียงประชาสังคมชายแดนภาคใต้” ยังเป็นรายการที่มีการเยียวยาระหว่างที่เป็นผู้ดำเนินรายการกับผู้ฟังรายการนี้ด้วย อีกทั้งยังเป็นเยียวยาคนไทยพุทธและมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” นางโซรยา กล่าว
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดพิธีว่า รายการนี้เป็นรายการวิทยุที่เหมาะสมที่สุดที่จะเปิดโอกาส หรือเป็นปากเป็นเสียงให้กับผู้ที่เดือดร้อน ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และผู้ที่ไม่ได้รับโอกาส จะได้มีช่องทางสั้น เร็วและง่ายที่สุด เพื่อให้ได้รับโอกาสหรือความเป็นธรรม เพราะใช้ภาษาเดียวกันกับที่ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ใช้
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวในการปาฐกถาเรื่อง“ศักยภาพผู้หญิง และวิทยุในชุมชนท้องถิ่นชายแดนใต้กับการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ” ว่า ประเด็นของกลุ่มผู้หญิงประชาสังคมชายแดนใต้ที่จัดรายการวิทยุ เป็นปัจจัยสำคัญของการปฏิรูปสื่อ เพราะเสียงผู้หญิงหรือเสียงของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเสียงที่ไม่เคยได้ยินมานาน
นางสาวสุภิญญา กล่าวอีกว่า เพราะฉะนั้นหน้าที่ของการปฏิรูปสื่อหรือหน้าที่ของรัฐ คือส่งเสริมให้กลุ่มประชาชนที่ถูกหลงลืมมาตลอด สามารถมีพื้นที่ในการแสดงออก ความคิด ความต้องการ เพราะว่าการที่ให้กลุ่มประชาชนที่ถูกหลงลืมได้แสดงออก จะทำให้เราให้เห็นปัญหาที่แท้จริงได้
สำหรับสถานีวิทยุที่รายการวิทยุ“เสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้” ภาคภาษามลายที่จะออกอากาศในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555ใน 14 สถานีวิทยุ ดังนี้
ลำดับ |
สถานีวิทยุ สถานีวิทยุชุมชนและสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา |
คลื่นความถี่ |
1 |
สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี |
F.M. 107.25 MHz |
2 |
สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา |
F.M. 100.75 MHz |
3 |
สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา |
F.M. 90.25 MHz |
4 |
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สุไหงโก-ลก |
F.M. 106.50 MHz |
5 |
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน สลาตันปัตตานี |
F.M. 91.50 MHz |
6 |
สถานีวิทยุ SUWARA MAJIS |
F.M. 93.75 MHz |
7 |
สถานีวิทยุสาส์นคุณธรรม (อัรรีซาละห์) |
F.M. 97.25 MHz |
8 |
สถานีวิทยุชมชนคนนิบง |
F.M. 107.50 MHz |
9 |
สถานีวิทยุ คลื่นฟ้าใสหัวใจเรียนรู้ |
F.M. 100.75 MHz |
10 |
สถานีวิทยุชุมชน ยี่งอ เรดิโอ ( วิทยุรวมเกล้า) |
F.M. 99.75 MHz |
11 |
สถานีวิทยุชมชนรือเสาะเรดิโอ |
F.M. 107.00 MHz |
12 |
สถานีวิทยุอัรตัรเรดิโอ |
|
13 |
รายการหน้าต่างสังคมทางวิทยุอสมท.จชต |
|
14 |
สถานีวิทยุศอ.บต. |
|