นับตั้งแต่สถานการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกคุกคาม คำว่า “โจรใต้” ยังเป็นหนึ่งในคำที่ประดับหน้าแรกหนังสือพิมพ์เกือบทุกวันในหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ เราได้ยินคำนี้บ่อยในรายการโทรทัศน์เช่นเดียวกัน แต่การใช้คำนี้ขาดความเหมาะสมอย่างมาก ถึงแม้ว่าคำนี้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านหรือผู้ชม แต่ไม่ถ่ายทอดความเป็นจริง และสร้างความเข้าใจผิดของผู้อ่านด้วยซ้ำ
ข้อตกลงที่ลงนามในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์กร BRN ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ฝ่ายรัฐประกาศว่า ยอมที่จะเจรจากับ “คนที่มีความคิดเห็นและอุดมการณ์ที่แตกต่างไปจากรัฐ” ต่อหน้าสังคมโลกโดยมีรัฐบาลมาเลเซียเป็นพยาน ซึ่งเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการโดยฝ่ายรัฐว่ามี “คนที่มีความคิดเห็นและอุดมการณ์ที่แตกต่างไปจากรัฐ” และฐานะของขบวนการติดอาวุธก็กลายเป็นคู่เจรจาของฝ่ายรัฐ จากคู่ต่อสู้ในสนามรบ
ในแถลงการณ์ผ่าน Youtube ที่ประกาศเมื่อวันที่ 26 เม.ย. ตัวแทนของ BRN อธิบายว่า องค์กรดังกล่าวไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน แต่ขบวนการปลดปล่อยปาตานี การที่ BRN ใช้คว่า “ปลดปล่อย” (liberation) ไม่ใช่ “เอกราช” (independence หรือในภาษามลายู merdeka) มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะมันบ่งบอกถึงความพร้อมของ BRN ที่จะนั่งโต๊ะเจรจากับฝ่ายรัฐ
เราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับว่าองค์กรนี้เป็นขบวนการปลดปล่อยปาตานหรือไม่ก็ตาม ในการเรียกขบวนการควรใช้ชื่อเรียกที่มีความเหมาะสม เพราะองค์กรนี้คือหนึ่งในคู่เจรจาของรัฐไทย การที่เรียกองค์กรนี้เป็น “โจร” ก็เหมือนกับเรียกรัฐไทยเป็นคู่เจรจาของ “โจร” ซึ่งทำให้ประเทศของตนเสียศักดิ์ศรี เพราะเจรจากับ “โจร” ผมอยากถามว่า ประเทศไหนจะเจรจากับโรจ? ในกระบวนการสันติภาพครั้งนี้ ทั้งสองฝ่าย (ที่ใช้คำว่า party ซึ่งรัฐบาลไทยเป็น Party A ส่วนฝ่าย “คนที่มีความคิดเห็นและอุดมการณ์ที่แตกต่างไปจากรัฐ” เรียกว่าเป็น Party B) จะดำเนินการพูดคุย โดยมีมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก นักวิชาการ นักข่าวหือนักการเมืองบางท่านยังคิดว่า การยอมรับข้อเรียกร้องของ BRN เป็นการยกระดับขององค์กรดังกล่าวหรือเปล่า แต่ฐานะของ BRN ที่เป็นคู่เจรจาในกระบวนการสันติภาพเป็นที่ยอมรับของรัฐบาลตั้งแต่แรกแล้ว มาเลเซียและสื่อที่มาจากหลายสิบประเทศก็เป็นพยานของการลงนาม ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมคนเหล่านี้ต้องตั้งคำถามแบบนี้
อีกประดันหนึ่งก็คือ การใช้คำว่า “โจรใต้” เป็นการสร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ดังที่ข้อมูลจากกองทัพอธิบายว่า ขบวนการปลดปล่อยปาตานีมีโครงสร้างที่แข็งแรงและสายบัญชาการที่ชัดเจน ขบวนการที่รัฐไทยกำลังต่อสู้นั้นไม่ใช่แค่ “โจร” ถ้าขบวนการเป็น “โจร” หรือ “โจรกระจก” จริงๆ ฝ่ายรัฐจะสามารถปราบได้อย่างสบายภายในเวลาอันสั้น เพราะการปราบโจรเป็นสิ่งจำเป็นและสิ่งทีดีสำหรับชาวบ้านด้วย องค์กรที่ฝ่ายรัตต่อสู้มาเป็นเวลาเกือบสิบปี และกำลังเจรจานั้นไม่ใช่ “โจร” แต่ขบวนการที่ดำเนินการต่อสู้ตามอุดมมการ (ที่แตกต่างไปจากรัฐ) และมีโครงสร้างกับสายบัญชาการที่ชัดเจน
แม้แต่ฝ่ายทหาร/กองทัพที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากสงครากลางเมืองนี้ ในแถลงการณ์ก็ไม่ใช้คำว่าโจรใต้ นายทหารชั้นสูง เมื่อให้สัมภาษณ์ก็ใช้คำว่า ขบวนการ บรรดานักการเมือง ข้าราชการและนักวิชาการที่มีข้อมูลที่ถูกต้องก็ไม่ใช้คำว่า “โจรใต้” แต่เมื่อฝ่ายสื่อเขียนหัวข้อข่าว คำนี้ปรากฎขึ้น ทั้งๆ ที่ในคำพูดไม่ปรากฎคำนี้เลย