Skip to main content

 

ทำไมอาณาจักร “ออตโตมัน” อันยิ่งใหญ่ของโลกมุสลิมจึงล่มสลาย ?

What led to the decline of the Ottoman Empire?

 

 

“ ความพยายามที่จะแยกตุรกีกับโลกอาหรับและโลกอิสลาม เป็นความพยายามของมรดกเคมาลิสต์”

ผมสนใจข้อความนี้มากๆ เป็นข้อความจากอาจารย์ผู้หนึ่งที่ผมเคารพรักและไคร่รู้ที่จะพิสูจน์ความถูกต้องในข้อมูลชุดนี้ ว่าจริงหรือไม่? ผมต้องออกตัวว่าผมคือบุคคลหนึ่งที่เกลียดระบบเคมาลิสต์ ที่นำโดยมุสตาฟา เคมาล บางคนอาจยังไม่รู้จักว่าเขาคือใคร หากคุนเคยมาเที่ยวตุรกี คุนจะพบรูปปั้นของเขามีอยู่ทุกทุกซอกมุมเมือง ทั้งในมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล หรือที่ราชการต่างๆ  ใช่ผมเกลียดเคมาลลิสต์ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เสียทีเดียว  เหมือนที่ผมเองชื่นชอบแอร์โดอานแต่ไม่ใช่ทั้งหมดเช่นกัน ผมต้องการศึกษาว่าอะไรที่อยู่บนพื้นฐานของความจริง 

ก่อนอื่นจะเข้าใจประเด็นนี้ เราก็ต้องลงสืบไปที่เรื่องราวภูมิหลังตั้งแต่ มุสตาฟา เคมาล หรือ คนเติร์ก เรียกว่า “อตาเติร์ก” หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “บิดาของชาวเติร์ก” นั้นเสียก่อนว่า ก่อนการก้าวเข้ามามีบทบาทอำนาจอย่าเต็มภาคภูมินั้นมีอะไรอยู่เบื้องหลังก่อนหน้านี้ แล้วทำไม มุสตาฟา เคมาล ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ถอนรากถอนโคนอิสลามในตุรกี ทำไมเขาถึงทำเช่นนั้น การจะเข้าใจคำถามนี้ก็ต้องมาหาคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนที่เขาจะเข้ามาล้มล้างระบอบการปกครองอิสลามของออตโตมัน

 

Mustafa Kemal Atatürk และภรรยา  Latife Uşakizade ในช่วงเยือนเมือง Bursa  ปี 1923.

 

ความจริงเรื่อง ความพยายามที่จะแยกตุรกีกับโลกอาหรับและโลกอิสลาม มันตื้นเกินไปที่จะวิจารณ์เช่นนี้ แลดูไม่เข้าใจบริบทหากไม่อ้างอิงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาประกอบด้วยโดยเฉพาะ การไปค้นคว้าหาเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนยุคอตาเตริก นั่นด็คือช่วงก่อนการล่มสลามของอาณาจักรออตโตมัน (Ottoman Empire) นั่นเอง งานเขียนชิ้นนี้จึงพยายามมุ่งหาเหตุว่าทำไม ออตโตมันจึงอ่อนแอและล้มสลายลง (What led to the decline of the Ottoman Empire?แบบสรุปย่อ

 

แผนที่ของอณาจักรออตโตมัน

 

การล้มล่มสลายของ จักรวรรดิออตโตมัน (1918-1920)

ผู้เขียนจึงขอนำข้อสรุปการล่มสลายของออตโตมันมาให้ดูซึ่งขอแยกเป็น สามประเด็นใหญ่ๆ

 

ประเด็นที่ 1 ด้านการปกครอง

เราจะพบว่าช่วงปลายออตโตมันการบริหารงานปกครองที่เริ่มไม่มีประสิทธิภาพอำนาจของสุลต่านที่เคยยิ่งใหญ่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยุคนี้ในทางวิชาการเรียกกันว่ายุค Tanzimat “ยุคแห่งการปฏิรูปของออตโตมัน” มีการเปลี่ยนแปลงมากมายในระบบบริหาราชการแผ่นดินในหัวเมืองต่างๆที่อยู่ห่างไกลออกไป ผมจะยกตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดสุดคือ การให้สิทธิถือครองที่ดินทำกินได้ซึ่งแน่นอน เรื่องนี้ก็ยังผลประโยชน์โดยตรงต่อกลุ่มขุนนางใหญ่ที่ดูแลแว่นคว้นต่างๆโดยเฉพาะหัวเมืองที่ห่างไกล อย่างในอิรัก ซีเรีย , balkan หรือ อื่นๆ

กลุ่มผู้นำหัวเมืองกลายเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองในพื้นที่ขนาดใหญ่และมีอำนาจในการปกครองและต่อรองคนในแคว้นให้สวามิภักดิ์ภักดีตนกลุ่มคนเหล่านี้พูดบ้านๆคือเริ่มคิดไม่ซื่อกับศูนย์กลางปกครองใหญ่ของอาณาจักออตโตมันที่มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่อิสตันบูลขุนนางเหล่านี้ใช้อำนาจและเรียกเก็บภาษีจากประชาชนภายใต้อาณัติของตนเหมือนเดิมตามข้อระเบียบของออตโตมันแต่กลับเลี่ยงละเลยและไม่ส่งภาษีต่างๆโดยเฉพาะภาษีที่ดินทำกินซึ่งเป็นรายได้หลักให้กับให้กับอิสตันบูล(อาณาจักรออตโตมัน)อีกต่อไป

ช่วงดังกล่าวจึงทำให้เราพบว่า การรวมศูนย์อำนาจของออตโตมันที่เคยทรงประสิทธิภาพบัดนี้มันเริ่มเสื่อมลง การเก็บภาษีเข้าคลังหลวงออตโตมันจึงไม่เหมือนเดิมและเงินในคงคลังก็มีแต่ลดน้อยถอยลงในขณะที่ขุนนางหัวเมืองที่คิดกบฎต่างๆกลับมีทรัพย์สินมากขึ้น และเริ่มไม่สวามิภักดิ์ออตโตมันอีกต่อไป แม้จะมีการปราบปรามอย่างขนานใหญ่จากจักรวรรดิ์ออตโตมัน แต่เราอย่าลืมว่า แผ่นดินออตโตมันนั้นกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา มีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึงสามทวีปใหญ่บนพื้นโลกในปัจจุบัน ตั้งแต่ เอเชีย ไปแอฟริกา และยุโรปโดยเฉพาะแถบบอลข่าน ซึ่งผมได้มีโอกาศไปเยือนบอลข่าน ผมสังเกตุว่าร่องรอยอารายธรรมออตโตมันยังคงเด่นชัดทั้งในแง่ของสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้าง ประเพณีและความเชื่อ อย่างในบอสเนียแทบจะเรียกได้ว่าเป็นอีกจังหวัดหนึ่งของตุรกีเลยก็ว่าได้ ในซาราเยโว เมืองหลวงของบอสเนียนั้นเต็มไปด้วยกลิ่นอายแบบออตโตมัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมที่มีร่วมกัน

จึงกล่าวได้ว่า แผ่นดินออตโตมันนั้นกว้างใหญ่และวิถีชีวิตของผู้คนซึมฝังลึกแน่นลงไปด้วย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ อาณาจักรหรือจักรวรรดิใหญ่ๆนั้น ย่อมจัดการบริหารดินแดนและปกครองลำบาก โดยเฉพาะเขตแดนที่ติดกับอาณาจักรอื่น (ปัญหานี้มีกับทุกจักรวรรดิที่ใหญ่ๆ กับเขตแดนชายแดนที่ห่างไกล)ไม่ใช่แค่จักรวรรดิ์ออตโตมัน เป็นปัญหาสากล อาณาจักรที่ใหญ่เช่นนี้แน่นอนเมื่อเกิดการกบฏจากเมืองหนึ่งก็ลามไปทั่วจากแคว้นหนึ่งสู่แคว้นหนึ่งราวกับไฟลามทุ่ง การระงับปัญหานี้ให้เร็วได้ทันควันในแง่การปฏิบัตินั้นคงทำได้ยาก

สรุปประเด็นนี้คือ การสูญเสียแผ่นดินและรายได้มหาศาลจากภาษีประเภทต่างๆที่ออตโตมันเคยได้รับ คือหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ออตโตมันมีงบประมาณและเงินคงคลังที่ลดน้อยลงนั้นก็ย่อมหมายถึง อำนาจที่เคยมีก็เสื่อมตามตัวลงไปด้วย

 

ประเด็นที่ 2  ปัญหาภายในราชสำนักเอง

ความวุ่นวายในราชสำนักที่ปรากฎขึ้นในช่วงปลายออตฏตมัน การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน หากเราได้มีโอกาสมาเยือนพิพิธภัณฑ์ หรือพระราชวังต่างๆของตุรกี เราจะพบว่า ในช่วงปลายของออตโตมันนั้น มีการแย่งชิงบัลลังก์ในระหว่างหมู่ญาติพี่น้องด้วยกันเอง เช่น เรื่องราวของการปลิดชีพ พี่น้องของตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง

 

             สุลต่านองค์ Mehmed VI ในปี 1918 สุลต่านองค์สุดท้ายของอณาจักรออตโตมัน

 

แม้จะแก้ปัญหาด้วยการลงโทษการประหารชีวิตสำหรับผู้คิดกบฎจากปัญหานี้ แต่ทว่าในเวลาต่อมาถูกแทนด้วยการกังขังแทน ปัญหาภายในของเชื้อพระราชวงศ์เองก็ยังคงเกิดขึ้นตามมามากมาย และยังคงดำเนินต่อไป โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพจิตของคนในราชสำนัก และการกักบริเวณให้อาศัยอยู่แต่ในพระราชวังหลวง ผมอ้างจากงานเขียนจากหนังสือเรื่อง Spies, Scandals and Sultans: Istanbul in the Twilight of the Ottoman Empire ของ Roger Allen ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ ด้านภาษาอารบิกและ อักษรศาสตร์เปรียบเทียบที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ( University of Pennsylvania) ก็ได้เขียนเรื่องดังกล่าวนี้ไว้ด้วย การกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตขององค์รัชทายาทของออตโตมัน สุลต่านหลายพระองค์ที่ มีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์มากนัก เนื่องจากการถูกกักพื้นที่บริเวณมาเป็นเวลานาน ความสามารถการทางการบริหารที่เคยมีแบบแผน และมีขั้นตอนที่ชัดเจนก็เริ่มกัดกร่อนลง จนกลายเป็นว่า บารมีของราชสำนักวังหลวงแทบจะหายไปในช่วงปลายราชวงศ์อันจะเห็นได้จาก ที่สุลต่านหลายพระองค์กลายมาเป็นเพียงแค่หุ่นเชิดของรัฐบาลคณะขุนนางต้อง

 

  

การเสด็จออกจากพระราชวังโดลมาบาเช่ ของอดีตสุลต่านองค์สุดท้ายของอณาจักรออตโตมัน หลังจากการล้มล้างราชวงศ์และสถ่ปนาสาธารณรัฐในปี 1922 โดยมุสตาฟา เคมาล

 

ย้อนไปในช่วงราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมาอำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น คนได้รับการศึกษามากขึ้นเพราะอะไรผมจะกล่าวในหัวข้อประเด็นถัดไป ทำให้พระราชอำนาจขององค์สุลต่านนั้นลดลงไปอย่างมากเกิดการทุจริตจากรุ่นสู่รุ่นในสมัยนั้น จนทำให้บ้านเมืองอ่อนแอล้าหลังไม่ทันชาตตะวันตก แม้อำนาจราชสำนักของออตโตมันจะล้นคับฟ้าเหนือแผ่นดินออตโตมันเอง แต่ทางปฏิบัติอำนาจในมือแทบไม่มี การบัญชาการต่างๆต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะขุนนางต่างๆก่อนเสมอ รวมทั้ง ระบบการเล่นพรรคเล่นพวก การกีดกันผู้มีความสามารถเอาพวกตัวเองเป็นใหญ่ก็เป็นอีกสาเหตุใหญ่ๆในตัวราชสำนักเอง ดังนั้นนี้จึงคือข้อสรุปในประเด็นนี

ประเด็นที่ สาม ปัจจัยจากภายนอก

ผมคิดว่านี้น่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดแล้ว ปัญหาสำคัญของ จักรวรรดิออตโตมัน และปัญหาหลายอย่างสะสมกันนับร้อยๆปี ของออตโตมันเริ่มส่งผลออกให้โลกภายนอกรับรู้ จนมีการคิดกันว่าจะจัดการกับออตโตมันอย่างไร จะแบ่งเค้กชิ้นนี้จะเริ่มอย่างไร ? ทำไม่ถึงเป็นเช่นนั้น ใครกันที่มากล้าท้าทายอำนาจอันยิ่งใหญ่ของออตโตมันได้ เราต้องอย่าลืมว่าในช่วงราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 ( 1750 -1850) อย่าลืมว่านี่คือ”ช่วงปฎิวัติอุตสาหกรรม” ( Industrial Revolution) และก่อนหน้านี้ก็มีการปฏิวัติเกษตรกรรมาก่อนด้วย ในภูมิภาคยุโรปตะวันตกเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในภาคกสิกรรม การผลิต และระบบขนส่งที่ทันสมัยมากขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยี ผลักดันให้ตะวันตกในเวลานั้นก้าวล้ำนำหน้าออตโตมัน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดในโลกก็ว่าได้ โดยเฉพาะในบริติช ( อังกฤษ) และฝรั่งเศษ ที่เปลี่ยนแปลงระบอบการพึ่งพาคนในการทำงานไปสู่การใช้เครื่องจักรกลต่างๆมากขึ้น ทำให้ผลผลิตออกมาในคราวละมากๆ สร้างกำไรเป็นกอบเป็นกำให้ชาติยุโรป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องจักรไอน้ำที่ถูกนำมาใช้แทนแรงงานคน และการผลิตเหล็กกล้า

 

 เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James Hargresaves) ใประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายให้ชื่อว่า “Spinning Jenny”  นปี 1764 รูปนี้แสดงโชว์ในพิพิฑพันธ์ที่ Wupprrtal  เป็นหนึ่งในนวัฒกรรมที่ทำให้การทอผ้าสำเหร็จและง่ายดายขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่าขนานใหญในยุโรป

 

มาถึงตรงจุดนี้ผู้อ่านคงเข้าใจและอนุมานได้ระดับหนึ่งแล้วว่า ในขณะที่ออตโตมันกำลังหยุดนิ่งและแนวโน้มเสื่อมถอยนั้น การไม่มีนวัฒกรรมใหม่ๆอะไรใหม่ แต่ขณะที่ชาติยุโรปยุคใหม่ที่กลายเป็นชาติมหาอำนาจในเวลาต่อมา กำลังเริ่มเข้ามามีบทบาทแทน ผลจากการคิดค้นการคมนาคมที่ทันสมัยมากขึ้นทำให้เกิดแนวคิดล่าอาณานิคมตามมาด้วยในช่วงรสว ค.ศ 19 การขยายดินแดนเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ บริติช “ดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน” ไม่ใช่ว่าเพราะบริติชมีปรากฎการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนเหมือนในแสกนดิเนเวีย คำนี้เปรียบเปรยว่าในยุคอาณานิคม แผ่นดินของอังกฤษมีทุกซอกมุมบนพื้นโลก พระอาทิตย์จึงไม่เคยตกดินบนผืนแผ่นดินของบริติชเลยตั้งแต่เอเชียสุดอเมริกาใต้

แผ่นทีอาณาบริเวณที่เคยถูกครอบครองโดยจักรวรรด์นิยมอังกฤษ

การเข้ามาในดินแดนที่อยู่ภายใต้การครอบครองของออตโตมันในช่วงเวลาที่ออตโตมันกำลังระส่ายจึงน่าจะเป็นโอกาศที่ดีที่สุด และเมื่อบริติชสามารถแทรกซึมอิทธิพลเข้ามาในแผ่นดินอาหรับ ในอิรัก ในซีเรีย ในอิหร่าน และพื้นที่อื่นๆเดิมของอาณัตออตโตมัน ดินแดนแถบนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวยังคงยากจน ขาดการเพิกเฉยจากรัฐบาลกลางที่อิสตันบูล เอาง่ายๆ เสียแต่ภาษีให้รัฐ แต่รัฐกลับไม่สนใจอะไรเลย ผู้คนยังขาดการศึกษาแบบสมัยใหม่ ผมจะยกตัวอย่างที่เด่นชัดที่อันหนึ่งที่ผมพบคือ การค้นพบสิ่งที่มีค่ามากที่สุดในโลกและเป็นสิ่งที่มาเปลี่ยนแปลงดินแดนและวิถีของคนแถบนี้ไปตลอดกาล คือ “การตื่นตัวและค้นพบน้ำมัน”

ในช่วง ศรรตวรรศที่ 19 ในบริเวณอิรักและอิหร่านโดยบริษัทบริติช และตัวของประเทศบริติชเองซึ่งกำลังเฟื่องฟูในอุตสาหกรรม ความจำเป็นในการใช้นำมันสูงขึ้นมาก แนวคิดการวางแผนยึดครองแผ่นดินแถบนี้จึงเริ่มขึ้น ความโลภก็มาเยือน ชาติตะวันตกโดยเฉพาะฝรั่งเศษ อังกฤษ รัสเซีย พยายามที่จะเข้ามาครอบครองแถบนี้ ผ่านสงครามต่างๆในการแย่งชิงพื้นที่อันอุดมสมบูรณืในโลกอหารับ ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางพลังงานที่สำคัญของโลก ในขณะที่เปรียบออตโตมันเหมือนอายุขัยของคน ออตโตมันที่บัดนี้เริ่มชรา ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะปกป้องแผ่นดินในอาณัติของตัวเองได้อีกต่อไป และเพราะอะไร ที่ชาติฝรั่งเหล่านี้สามารถดึงดูดผู้คนให้หันมาสนับสนุนตน และคิดกบฎต่ออิสตันบูล นั่นก็คือการเข้ามาของตะวันตกพร้อมกับความรู้และชีวิตใหม่?

สำหรับผมมันคือดาบสองคมที่เลวร้ายที่สุด ที่ผู้รับจะต้องเผชิญอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ในนัยยะหนึ่งขณะที่การศึกษาแบบตะวันตกได้เปลี่ยนแปลงผู้คนที่เคยอดยากให้มีกิน เปลี่ยนแผ่นดินอันว่างเปล่าให้มีชีวิตชีวา และกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ในอีกนัยคมหนึ่งของดาบคือ การเริ่มทำลายวิถีแบบมุสลิมเองการที่อังกฤษเอาเข้ามาสอนวิทยากรตะวันตกที่แทรกด้วยวัฒนธรรมความเชื่อแบบตะวันตกด้วยนั้น ทำคนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษา(แบบตะวันตก) มีความคิดความอ่านที่ทันโลกมากขึ้น การถูกเพิกเฉยมาเป็นเวลานนานจากออตโตมัน ทำให้กลุ่มคนสนับสนุนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คำบอกเล่าจากอาจารย์ชาวอิรักของผมบอกว่า “ช่วงนั้นคนอิรักพูดอังกฤษเหมือนยังกับ Native- English” แนวคิดชาตินิยมจึงถูกปลูกฝังให้คนท้องถิ่นเป็นเครื่องมือที่ประสบความสำเหร็จอย่างมาก โดยเฉพาะในการใช้นำมาต่อต้านออตโตมันของบริติช แต่เป็นดาบสองคมที่เข่นฆ่ามุสลิมเอง เพราะในขณะที่ออตโตมันเองก็เสี่ยงได้ง่ายที่ถูกกบฏจากคนในอาณานิคมตนเอง 

 

เมืองคิรคุก (Kirkuk) เมือง สำคัญในอิรักที่ถูกค้นพบน้ำมันในช่วงเริ่มแรก

การตื่นตัวในทองคำสีดำ หรือน้ำมัน ทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเลียมซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทของตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในภูมิภาคนี้ และนี่คือสาเหตุที่ทำให้แต่ละชาติมหาอำนาจจ้องแต่สนุกกับการตักตวงผลประโยชน์จากโลกอาหรับและแผ่นดินของออตโตมันตลอดช่วงเวลาดังกล่าว โดยที่ออตโตมันได้แต่ทำตาปริปๆเหมือนคนแก่คนหนึ่ง และในที่สุดก็ร่วงโรยตายไปเองพร้อมกับสมรรถนะที่หมดลงและเป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิ์ที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรของออตโตมันด้วยสามประเด็นหลักใหญ่ๆข้างต้น

สุดท้ายนี้ ทำให้เราเห็นว่า  การล้มสลายของออตโตมัน แผ่นดินที่เคยแผ่ไพศาลไปทั่วจักรวาลนั้น ทำให้ตุรกีในปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาอะไร โดยเฉพาะปัญหากับเพื่อนบ้านมากมายทั่วร่วมสารทิศ คุนสามารถกลางแผ่นที่แล้วมาดูได้เลย ตั้งแต่ปัญหากับกรีซ กับประเทศบอลข่าน บัลกาเรีย โรมาเนีย รัสเซีย อาเมเนียร์ และไซปรัส ทุกอย่างล้วนแล้วเป็นผลและบาดแผลที่เกิดมาจากมรดกแห่งความบอกช้ำจากอาณาจักของออตโตมันในการไม่คิดที่จะเรียนรู้โลกที่อยู่บนความแตกต่างของศาสนาและเชื้อชาติบ้าง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ออตโตมันบอกผมว่า ส่วนหนึ่งความใจแคบของออตโตมันคือผลลัพธ์ที่ทำให้คนภายใต้ออตโตมันเองคิด กบฎ ตัวอย่างเช่น การเรียกเก็บภาษีสำหรับคนที่ไม่ใช่มุสลิมในอัตราก้าวหน้า หรือสูงกว่าคนที่เป็นมุสลิมนั่นเองโดยเฉพาะคนในอณาจักรออตโตมันในบอลข่าน ตอนแรกผมก็ไม่เชื่อเรื่องนี้หรอก จนเมื่อเดือนมกราคม ปี 2017 ที่ผ่านมา

ผมสังเกตุว่าทำไมประเทสที่ผมคิดฝังหัวมาตลอดว่าเป็นมุสประเทศมุสลิม อย่างอัลบาเนีย นี่หามัสยิดละหมาดได้ยากยิ่งหนัก คนอัลบาเนียถามทั้งร้อยเก้าสิบเปอร์เซนต์ตอบว่าเป็นมุสลิม แต่บางคนกลับไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครคือนบีมูฮำหมัด ละมหาดอย่างไร ถือศีลอดหรือไม่ เจอมุสลิมเซคิวลาร์ที่เคยคิดว่าแรงเจอมุสลิมอัลบาเนียนี่ตกใจไปเลย และในที่สุดคำตอบที่ผมอยากรู้มานานว่าทำไม อัลบาเนียถึงกลายเป้นประเทศมุสลิมเช่นนี้ เมือได้มีโอกาศคุยกับอีหม่ามในมัสยิดหลังเล็กๆในกรุงติรานา กับสาวเรเซฟชั่นที่โรงแรมผม คำตอบคือ คนอัลบาเนียมีศาสนา อสลามาแต่เกิดใน ไม่ด้นำมาปฎิบัติในชีวิตจริง เพราะพวกเขารู้สึกว่า การบังคับแปลงกายให้เขาเป็นอิสลามในช่วงออตโตมันนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม อีหม่ามเล่าให้ฟังว่า ญาติเขาทั้งหมดก็ไม่มีใครละหมาดและถือศีลอดเลย เพราะเขารังเกียจออตโตมันที่ทำให้คนมีศาสนาด้วยการบังคับจ่ายภาษีในอัตราที่สูงกว่าคนไม่ใช่อิสลาม และรวมทั้งหลักปฑิบัติต่างๆอื่นที่ปฎิบัติกับคนอีกศาสนิกหนึ่งราวกับพลเมืองชั้นสองในสังคม ทำให้หลายคนต้องยอมบังคับปนขืนใจตัวเอง มานับถืออิสลาม ผลในปัจจุบันก็อย่างที่เห็น ผมนั่งรถตรงมาจากเอเธนส์ของกรีซแทบจะหาโดมมัสยิดในประเทศมุสลิมอย่างอัลบาเนียไม่เจอเลย

ดังนั้นจึงสรุปว่า ระบอบออตโตมันเอง ไม่ได้มีด้านสวยงามมาตลอดห้วงประวัติศาสตร์ การเชิดชูออตโตมันเป็นสิ่งที่ควรกระทำในสังคมมุสลิม เพราะเป็นมรดกทางภูมิปัญญาให้กับโลกมุสลิม แต่ทว่าอย่างที่ผมเคยบอก ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะมันยังมีด้านมืดต่างๆที่ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมนักวิชาการมุสลิมถึงไม่เลือกที่จะเอามาแก้ปัญหาตรงนี้บ้าง การโจมตีตะวันตกและอเมริกัน เป็นสิ่งที่ผมได้ยินมาแต่เด็กจนถึงตอนนี้ เราถูกปลูกฝั่งมาให้เชื่อเช่นนี้ตลอด จนเราแทบไม่อยากมองอะไรที่ไม่ดีของมุสลิมเลย เลยจบด้วยการวิจารณ์ฝั่งที่ทำร้ายมุสลิม เพราะมันทำให้คนมีความรู้สึกร่วมได้ดีกว่า การมานั่งแฉมุมืดของโลกมุสลิม และความไร้สมรรถนะของคนมุสลิมในศตรรวรรษนี้ ทั้งๆที่ระบอบกฎหมายอิสลามและตัวศาสนาแข็งแกร่ง แต่ในขณะที่ผู้นำมาใช้ปกครองขาดการเอาใจใส่ในรายละเอียด ในตอนท้ายนี้ผู้เขียนจะข้อยกตัวอย่างอื่นมาอธิบาายว่า ไม่ใช่แค่มาจากระบอบสาธารณรัฐตุรกี ที่นำโดยมุสตาฟา เคมาล อตาเตริกเท่านั้น ที่ทำให้ตุรกีเป็นไปที่แบบไม่ควรจะเป็นอย่างที่มุสลิมแบบเราๆคาดหวัง

ในงานเขีบนของ Rogan, ผู้อำนวยการใหญ่ของศูนย์ตะวันออกกลางศึกษาSt Antony’s College มหาวิทยาลัย Oxford กล่าวเสริมว่า การล้มสลายของออตโตมันก็คือผลพวงจากการมีศัตรูรอบทิศ ทั้งจากมุสลิมด้วยกันเอง หรือทั้งจากต่างศาสนิก เพราะมุสลิมแม้สอนให้รักเพื่อนมนุษย์ในทางการปฏิบัติยังคงมีความเห็นแก่ตัวในการปกครอง  ตัวอย่างเช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธ์อาเมเนียคริสเตียนให้เปลี่ยนมาเป็นมุสลิมในราวปี 1894 – 1896 ออตโตมันฆ่าล้างเผ่าพันธ์อาเมเนียขนานใหญ่เนื่องจากการคิต่อต้านออตโตมันที่ไม่ยอมกลืนกลายมาเป็นเตริกมุสลิม ผมมีโอกาศไปเยี่ยมชมมิวเซี่ยม ที่เมืองหลวงเยเรวานของอาเมเนีย พบว่า ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่โหดร้ายและประวัติศาสตร์สีดำของอาณาจักรออตโตมัน การแปลงกายใต้นโยบาย Turkification เปลี่ยนผสานให้เป็นเตริก ถูกนำมาใช้กับอาเมเนียด้วยในช่วง 1915 ในมิวเซี่ยมที่เยเรวาน จะได้เห็นภาพความโหดร้ายที่ออตโตมันทำต่อชาวอาเมเนีย และภาพเหล่านั้นผมแทบไม่เคยเห็นมาก่อนเลย มุสลิมเราเองก็มักเลี่ยงที่จะพูดถึงหรือแทบไม่มีใครพูดถึงเลย ลองไปหาอ่านหนังสือที่มุสลิมเราเขียนขึ้นมาอ่านดูได้ ผมไคร่รู้ว่า นักวิชาการด้านอิสลามไม่รู้เรื่องนี้กันหรือ การที่มุสลิมออตโตมันฆ่าล้างเผ่าพันธ์คนอาร์เมเนีย มันสมควรแล้วหรือ ทั้งๆที่ในตัวบัญญัติอัลกุรอ่านไม่เคยสอนให้เราฆ่าคนที่ไม่ศรัทธาเหมือนเราเลย ดังนั้นผมขอพูดประโยคเดิมๆที่เคยพูดกับเพื่อนต่างศาสนิกอื่นๆเสมอว่า ในอิสลามเราไม่เคยสอนให้ฆ่าคนอื่นโดยปราศจากเหตุผลที่สมควรจริงๆ เช่นภัยเข้ามาไกล้ตัวจริงๆแล้ว เพื่อปกป้องตัวเอง แต่ไม่ใช่เพื่อการระรานคนอื่น 

 

ผู้อพยพอาเมเนียร์ในเมืองฮารันของซีเรียกำลังกินซากของม้าเนื่องจากความหิวโหย ผลจากการฆ่าล้างเผ่าพันธ์คริสเตียนอาเมเนียนโดยมุสลิมออตโตมัน

 

  บางส่วนของผู้ที่รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธ์โดยออตโตมัน และถูกส่งไป้ยรูซาเล็ม ปี 1918

 

และนอกจากนี้ที่สำคัญคือ การสูญเสียแผ่นดินในแอฟริกาอย่างอัลจีเรีย ตูนิเศีย โมร็อคโค ให้แก่ฝรั่งเศษ กรีซก็ประกาศเอกราชคืนจากออตโตมัน การสูญอำนาจในยุโรปบอลข่านอย่างบัลกาเรีย โรมาเนีย ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้มีโอกาศเยือนมาเลยลองถามทรรศนคติคร่าวๆของคนที่นั่นว่าคิดเห็นยังไงกับคนเติร์ก ส่วนใหญ่คำตอบที่ได้มักมาในรูปแบบลบ ( Negative) นอกจากนี้ออตโตมันยังสูญเสียเซอเบียและมอนเตรเนโกร รวมทั้งประเทศบอสเนียและโคโซโวด้วย ล้วนเป็นการพ่ายแพ้ให้กับชาติยุโรปทั้งสิ้น ผ่านสงครามต่างๆ มากมาย

 

แผ่นที่ของภูมิภาคบอลข่านในช่วงการถูกครอบครองโดยออตโตมัน

 

ดังที่ผู้เขียนกล่าวเอาไว้ ว่านี้คือยุคสมัยแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม การยังยึดพื้นอะไรเดิมๆมาใช้ในการปกครอง แต่ในขณะที่โลกกำลังพุ่งและเปลี่ยนแปลงไปแบบไม่หยุดยั้งระบอบออตโตมันอิสลามเองที่เคยยิ่งใหญ่เกรียงไกรก็ต้องล้ม ให้กับการเวลาและทุกสิ่งบนพื้นโลกที่เปลี่ยนแปลงรวมทั้งความโลภ และการไหลในอำนาจ ก็เป็นอีกสิ่งที่พิสูจน์ยืนยันแล้วว่าจะไม่มีวันยั่งยืนตราบใดที่โลกใบนี้ยผู้สร้างยังไม่ทำลายลง

                   สุดท้ายนี้ผมมีคำถามว่าใครเคยพบเห็นและอ่านงานเขียนด้านมืดขอองประวัติศาสตร์ออตโตมันโดยนักวิชาการมุสลิมไทยบ้าง คำตอบส่วนตัวคือผมไม่เคยเห็น ประวัติศาสตร์ออตโตมันแลดูขาวบริสุทธิ์ไม่มีมลทิน แต่ทว่าเลือดเนื้อและชีวิตมากมายที่ถูกสังเวยให้ออตโตมัน เต็มไปหมด มันสะท้อนอะไรให้สังคมุสลิมเรา สังคมแห่งปัญญา เราสอนให้เป็นบุคคลตัวอย่างจากครูบาอาจารยืศาสนามากมาย แต่ในทางปฎิบัติเรายังไขว้เขวในการปฏิบัติในชีวิตจริง แม้แต่การถกประวิติศาสตร์ที่เราน่าจะเอามาพูดถึง แต่ถ้าเป็นการล้มล้างความเชื่อที่ฝังหัวกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นเรื่องที่ผิด และไม่ควร ก้ไม่น่าจะเรียกได้ว่า มุสลิมเราเป็นสังคมอุดมปัญญา แบบที่ชอบโฆษณากัน สุดท้ายผมอยากบอกว่า เราน่าจะมาสู้กันด้วยข้อมูลความจริงที่จับต้องเชื่อได้ มากกว่าวาทะกรรมและน้ำลายพ่นไฟ ที่ไปปิดกั้นความคิดผู้อื่นมานักต่อนักแล้ว สังคมอุดมปัญญาแห่งอัลอิสลามควรจะน่าได้ไปต่อ และไกลกว่านี้  วัสลาม

PS. งานข้อเขียนนี้ถูกรวบรวมมาจากความรู้ที่ได้รับในคลาสเรียนที่มหาวิทยาลัยในตุรกี และไม่ใช่ผู้ชำนาญแต่เป็นแค่เด็กน้อยคนหนึ่งที่ยังเขลาต่อโลกของพระองค์ อัลลอที่กว้างใหญ่นี้ ข้อมูลที่ผิดพลาดดประการใดพร้อมรับคำติ( พร้อมเหตุผลด้วยอย่าด่าเอามันส์) เพราะผมบอกตรงๆผมรังเกียจคนประเภทมือไม่พายเอาทาราน้ำจำพวกนี้ บทความนี้ส่วนหนึ่งผู้เขียนเองก็เคยนำเสนอในบทความวิจัยในชั้นเรียนรวมทั้งมีโอกาศถกกับเพื่อร่วมชั้นและอาจารย์ด้วย  

ดังนั้นนี่คือสรุปเหตุผล What led to the decline of the Ottoman Empire? สาเหตุใดที่นำไปสู่การล้มสลายของอาณาจักรออตโตมัน ตอนหน้าจะมาเขียนdiscuss ข้อสงสัยของที่มันคลุมเคลือเหลือเกินที่ว่า

“ ความพยายามที่จะแยกตุรกีกับโลกอาหรับและโลกอิสลาม เป็นความพยายามของมรดกเคมาลิสต์อย่างเดียวใช่หรือไม่ ” ?

 

 

มาวิเคราะห์ว่า เพราะสาเหตุใดมุสตาฟาเคมาลถึงสลัดคราบตุรกีจากอิสลาม และเปลื้องชีวิตคนหลังยุคออตโตมันไปเป็นชีวิตแบบตะวันตกอย่างสิ้นเชิงอะไรที่ทำให้เขาคิดเช่นนั้น และบริบทที่ถูกนำมาใช้ในการโจมตีว่า ตุรกี คือผู้ป่วยในทรรศนะของนักวิชาการมุสลิม ที่มักนำมาใช้โจมตีตุรกียุคมุสตาฟา เคมาล นั้นมีความถูกต้องตามบริบทประวัติศาสตร์หรือไม่ ลองมาช่วยค้นหากันหาคำตอบ อินชาอัลลอฮ

 

บันทึกดิบๆ

โดย โลแกน เดมิร ยูฮันนัน

ตุรกี , 24  Mart 2017