Skip to main content

 

ความท้าทายของมุสลิม:พหุวัฒนธรรมระหว่างต่างศาสนิกเเละมุสลิมเอง

 

อุสตาซ อับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์(อับดุลสุโก ดินอะ)

 

 

เมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2561 ผู้เขียนได้ร่วมเสวนาสาธารณะ หัวข้อ “ สนทนากับพหุวัฒนธรรม บทสะท้อนจากนักวิชาการอิสลาม"ซึ่งมีนักวิชาการอิสลามอย่าง ผศ.เจ๊ะเลาะ แขกพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด คณบดีคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยฟาฏอนี อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) กรรมการฝ่ายวิชาการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และ อุสตาซซอลาฮุดดิน หะยียูโซ๊ะ เลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำเเหง และรองผู้อำนวยการสถาบันวะสะฏียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา สำนักจุฬาราชมนตรี

จากการเสวนาครั้งนี้มีความท้าทายสำหรับผู้เขียนในการจัดการพหุวัฒนธรรมสองส่วน

หนึ่งพหุวัฒนธรรมระหว่างมุสลิมกับต่างศาสนิก

สองพหุวัฒนธรรมระหว่างมุสลิมกันเอง

สำหรับข้อที่หนึ่งผู้อ่านสามารถอ่านรายละเอียดในหนังสือผู้เขียนได้ในหนังสือวิถีมุสลิมกับความหลากหลายวัฒนธรรม ( โปรดอ่านรายละเอียดใน http://www.prd.go.th/ewt_dl_link.php?nid=75311)ซึ่งในหนังสือนี้จะฉายภาพถึงวิถีชีวิตมุสลิมในภาพรวมมีหลักศรัทธา หลักปฏิบัติที่เเตกต่างจากคนต่างศาสนิก ในขณะที่เป้าหมายของศาสนาอิสลามซึ่งพระเจ้าได้ส่งศาสนฑูตมุฮัมมัดเพื่อให้ความเมตตาต่อประชาชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ สีผิวใดหรือเเม้กระทั่งสิงห์สาราสัตว์ เเต่เมื่อกลับไปดูปฏิบัติการณ์บางอย่าง บางคน ในพื้นที่ซึ่งได้รับข้อมูลจากคนต่างศาสนิกโดยเฉพาะพระในพื้นที่เช่นเด็กๆมุสลิมบางส่วนเมื่อเห็นพระยังถ่มนำ้ลายต่อพระ ซึ่งสิ่งนี้ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักวิชาการมุสลิมว่าจะทำอย่างไรที่จะอธิบายให้คนของตัวเองได้เข้าใจในหลักการอิสลามที่ถูกต้องจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติให้ได้ ไม่เพียงเท่านั้นหากกิจกรรมใดที่เป็นกิจกรรม(อาจจะ)ร่วมเเต่อาจจะมีบางส่วนเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาเช่นกิจกรรมวันไหว้ครู การเสียชีวิตของต่างศาสนิกเเละกิจกรรมทางสังคมที่อาจมีบางส่วนที่อาจมีพิธีกรรมทางศาสนา เรื่องเหล่านี้ก็เป็นโจทย์สำคัญสำหรับมุสลิมโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะช่วยชี้เหตุผล หลักการว่าส่วนไหนทำได้ไม่ได้เเค่ไหนอย่างไรเพื่อมุสลิมเองจะได้ปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน รัฐได้จัดการได้ถูกต้องเเละชาวบ้านต่างศาสนิกจะได้เข้าใจ

นี่คือคือความท้าทายของมุสลิมกับต่างศาสนิกต่างวัฒนธรรม

สำหรับประเด็นนี้ผู้เขียนมีข้อเสนอเเนะดังนี้คือหนึ่งการศึกษาหลักการอิสลามกับพหุวัฒนธรรม สองการยอมรับเรื่องพหุงัฒนธรรม สามการสานเสวนาระหว่างคนต่างศาสนิกต่างวัฒนธรรมในทุกระดับไม่ว่าประชาชน นักวิชาการ ผู้นำศาสนา สี่การหนุนเสริมการเเก้ปัญหาด้วยสันติวิธี

สำหรับความท้าทายข้อที่สองคือความเห็นต่างระหว่างนักวิชาการอิสลามในพื้นที่ในประเด็นปลีกย่อยด้านหลักศรัทธา(ท่านสามารถอ่านรายละเอียดวิทยานิพนธ์ผู้เขียนได้ในhttp://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?research_id=108)หรือความเเตกต่างด้านหลักปฏิบัติอันเนื่องมาจากในโลกมุสลิมเองมีนิกายต่างๆอันส่งผลวิถีปฏิบัติของมุสลิมเองต่างกันด้วย(โปรดอ่านรายละเอียดในหนังกฎหมายอิสลามของผู้เขียน

https://www.deepsouthwatch.org/node/10243)

จากทัศนะที่เเตกต่างของนักวิชาการอิสลามในอดีตส่งผลให้วิถีหลักศรัทธา หลักปฏิบัติของมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายเเดนภาคใต้จนเป็นวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตที่เเตกต่างด้วยเช่นกันซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ความขัดเเย้งด้วยเช่นกัน พูดได้ว่า "จากพหุทัศนะสู่พหุวัฒนธรรมในสังคมมุสลิม" ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายของมุสลิมโดยเฉพาะผู้นำศาสนาซึ่งประชาชนมักจะอ้างเเบบชาวบ้านระหว่างสายเก่ากับสายใหม่ซึ่งมีทัศนะที่เเตกต่างจะสามารถสานเสวนาผ่านปฏิบัติการณ์ทางวิชาการภายใต้เเนวคิดเเสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง ในขณะเดียวกันปัญหาร่วมสมัยต่างๆ จะทำอย่างไรที่จะมีการปรึกษาหารือ ปฏิสัมพันธ์กับผู้รู้ทั้งสองสายกับผู้รู้ระดับโลกเพื่อสามารถเเก้ปัญหาให้สอดคล้องเหมาะสมทันยุคทันสมัย