Skip to main content

                                                                                                           

                                                                                                             อิมรอน   โสะสัน 

                                                                                                           (นักศึกษาปริญญาเอก สถาบันนโยบายสาธารณะแห่ง AUT,NZ)

 

                                  Image result for NZ parliament

                                                                                The New Zealand Parliament

(ภาพอ้างอิงจาก http://www.radionz.co.nz/national/programmes/insight/audio/201781443/ins...)

 

ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา รัฐบาลประเทศนิวซีแลนด์ในขณะนั้น (led by the National Party) ได้เริ่มดำเนินการ (embarked upon)มาตรการใหม่ขึ้นมาอย่างหนึ่งทางนโยบายสาธารณะ (public policy) ที่เรียกว่า “การลงทุนเพื่อสังคม” หรือ “social investment” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เน้นไปที่นโยบายสังคม (social policy) โดยให้ความสำคัญในเรื่อง ระบบสวัสดิการ (welfare) การบริการทางสังคม (social services) การกินดีมีสุข (well-being) และในพื้นที่ศึกษา (areas) อื่นๆในกรอบของนโยบายสังคมอาจระบุอย่างหยาบๆ เช่น การศึกษา (education) ที่อยู่อาศัย (housing) การลดยากจน (poverty reduction) สุขภาพ (health) แรงงาน (labour) ความมั่นคงทางสังคม (social security) อาชญากรรม (crime) และ การกีดกันทางสังคม (social exclusion) เป็นต้น ซึ่งพื้นที่ศึกษาทางนโยบายสังคมที่ยกมาอาจมีมิติทางนโยบายการเมือง (political policy) เศรษฐกิจ (economic policy) หรืออาจหมายรวมทั้ง นโยบายภายในประเทศ (domestic) และต่างประเทศ (foreign ) ทับซ้อนเหลื่อมล้ำด้วยซ้ำ ถือเป็นเรื่องที่บรรดานักวิชาการด้านนโยบายสาธารณะทั้งหลายเขาก็ยังถกกันไม่เสร็จ เมื่อเขาพูดถึงขอบเขต (boundary and scope) ของนโยบายสาธารณะแต่ละด้าน

“Social Investment” ในที่นี้ หมายถึง การยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนิวซีแลนด์ (New Zealanders) ผ่านระบบบริการทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยสารสนเทศ (information) และเทคโนโลยี (technology) เพื่อศึกษาความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับการบริการสาธารณะ (public service) จากนั้น จึงนำผลที่ได้จากการศึกษามาปรับปรุงระบบการให้บริการและเพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ในระดับการตัดสินใจเชิงนโยบายต่อไป 
สำหรับผมแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ “รัฐบาล” จะต้องคิดในเรื่อง “การลงทุน” อย่างเป็นระบบตั้งแต่เริ่ม (early investment) เพื่อผลสำเร็จในระยะยาวของการบริการ โดยที่จะต้องสร้างระบบการให้บริการทางสังคมที่ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด

 

Image result for NZ parliament

                                                                           (ภาพจาก https://www.parliament.nz)

ต้องเข้าใจว่า “Social Investment” นั้น ต้องให้น้ำหนักความต้องการของประชาชน (the needs of people) เป็นตัวตั้งในการขับเคลื่อนการตัดสินใจในเรื่องของแผนงาน โครงการ หรือแม้แต่การใช้ทรัพยากรต่างๆที่นำมาใช้เพื่อการลงทุน โดยต้องเข้าใจในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1) ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถวัดได้ (Setting clear, measurable goals) ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่พึ่งพิงการให้บริการจากรัฐ 2) การนำสารสนเทศ (information) และเทคโนโลยี (technology) เพื่อศึกษาความต้องการของประชาชนที่เชื่อมั่นในการให้บริการทางสังคมและดูว่าการบริการประเภทใดที่พวกเขากำลังได้รับ 3) ต้องมีการประเมินประสิทธิภาพการให้บริการอย่างเป็นระบบ เพื่อรับทราบถึงการให้บริการว่า “อะไรบ้าง” ที่ยังเป็นที่ต้องการและ “อะไรบ้าง” ที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิก 4) ต้องเอาจริงเอาจังต่อ “ผลลัพธ์” ที่จะได้รับ (Purchasing results) และมุ่งเน้นในการเคลื่อนย้ายทุนสู่การบริการที่มีประสิทธิภาพโดยไม่เลือกปฏิบัติว่า “การบริการชนิดใด” รัฐลงทุน หรือ ภาคส่วนอื่นๆลงทุน รัฐบาลมีหน้าที่สนับสนุนเพื่อการบริการที่ดี มีประสิทธิภาพ

อันที่จริง “social investment” ในแต่และประเทศมีความต่างและคล้ายกันอยู่บ้าง ประเทศนิวซีแลนด์เองถือว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นหลักอันหนึ่ง (a major focus) ของการพิจารณา (debate) และกระบวนการดำเนินทางนโยบาย (policy making) ของประเทศมาหลายปีแล้ว แนวคิดการดำเนินนโยบายนี้ขึ้นมานั้น เป็นที่รับทราบกันว่า มีวัตถุประสงค์หลักๆ สองประการด้วยกัน ประการแรก เพื่อต้องการที่จะยกประเด็นปัญหาสังคมที่ต้องรีบดำเนินการอย่างเอาจริงเอาจัง (serious social problems) ซึ่งขึ้นอยู่กับรัฐบาลแต่ละชุด แต่ประเทศว่า จะจัดลำดับความสำคัญ (policy priorities) ในการแก้ปัญหาต่างๆอย่างไร? ประการที่สอง ต้องการที่จะพัฒนา ปรับปรุงผลลัพธ์ของระบบงบประมาณในระยะยาว ที่เรียกว่า “long-term fiscal outcomes” โดยอาศัย Big data และการจัดระบบของเทคนิคการวิเคราะห์ที่หลากหลาย ( various analytical techniques) ให้เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อที่จะทำให้กระบวนการแทรกแซงเชิงนโยบายเป็นไปอย่างมีเหตุมีผลตามความจำเป็น และเหมาะสมบนฐานของข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้

ในปัจจุบัน “social investment” ยังเป็นประเด็นให้ถกเถียง (controversial) เชิงนโยบายและการปฏิบัติกัน รัฐบาลชุดปัจจุบัน (the New Labour-New Zealand Frist government) ได้ประกาศที่จะทบทวน (review) แนวคิดนโยบายทั้งหมดของรัฐบาลก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะยกเลิก (repeal ) เสียทีเดียว ซึ่งรัฐบาลแต่รัฐบาลก็พยายามที่จะมุ่งหาแนวทาง (approaches) ที่จะตอบสนองปัญหาในสังคมของตัวเองให้ดีที่สุด ในแวดวงวิชาการ ก็มีการถกเถียงสำหรับแนวคิดอยู่ไม่น้อย เช่น แนวคิดนี้มีความหมายและกรอบแนวคิดอย่างไร? เป็นสิ่งที่จะปฏิบัติได้มากน้อยแค่ไหนในบริบทปัจจุบัน? และหากนำมาประยุกต์ใช้เชิงนโยบายจะเหมาะสมกับขอบเขตนโยบาย (policy domains) อะไรบ้าง? เป็นต้น

 

                                                                        

                      The ministers of the Sixth Labour Government, with Governor-General Dame Patsy Reddy, 26 October 2017

                                        (ภาพจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/9f/New-govt-2017.jpg)

 

 

ข้อท้าทายประการหนึ่งคือ ความกล้าหาญที่จะเรียก การวางนโยบายสังคมว่าเป็น “การลงทุน” ซึ่งถ้ามองในเชิงธุรกิจก็อาจจะไม่แปลกกับคำๆนี้ แต่ในทางนโยบายทางสังคมอาจจะไม่ค่อยคุ้นชินกันเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม สำหรับรัฐบาลของประเทศนิวซีแลนด์ที่เป็นผู้ริเริ่มนั้น พวกเขาต้องการที่จะกระตุ้นให้ระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศได้ทบทวนประสิทธิภาพการทำงานในทุกมิติ (รวมทั้งหลักคิดทางปรัชญาของการพัฒนาประเทศ) ได้แก่ การจัดการกับความท้าทายทางสังคมที่มีอยู่และอาจจะดำรงต่อไป(long-standing social challenges) การสร้างระบบการทำงานของหน่วยงานต่างๆที่สามารถทำงานข้ามอาณาจักรของกันและกันได้ ร่วมกันบริหารจัดการแบบแนวราบมากขึ้น (cross-agency working or better horizontal governance ) และสามารถดึงองค์กรอื่นๆนอกภาครัฐ (non-government providers) ที่มีบทบาทในการทำงานทางสังคมให้เข้ามาทำงานร่วมกันมากขึ้น ซึ่งยังถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลที่จะดำเนินการได้

หากกล่าวถึงที่สุดแล้ว การที่รัฐบาลจะสามารถบรรลุผลทางนโยบายต่างๆได้นั้น รัฐบาลเองต้องรู้และเข้าใจที่จะทบทวนบทบาทของตัวเองว่าจะวาง “บทบาท” ของตนอย่างไร “จะเป็นผู้ควบคุมทุกอย่าง” (ruler) หรือ “จะเป็นผู้ที่คอยให้บริการและอำนวยการ” (facilitator/provider) ให้ทุกภาคส่วนของสังคมร่วมกันทำงาน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศร่วมกัน

ประเทศนิวซีแลนด์ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศ “อันดับหนึ่ง” ที่มีคอรัปชั่นน้อยที่สุดของโลกเมื่อ ปี 2017 รับรองโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) จากการสำรวจ 180 ประเทศทั่วโลก พวกเขาเองก็ต้องคิดค้น ปรับปรุง ค้นคว้าแนวทางการบริหารประเทศ บริหารสังคมอย่างต่อเนื่อง เพราะรู้ดีว่า ความต้องการของประชาชนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และโลกก็ก้าวไปข้างหน้าเร็วเกินกว่าที่จะปล่อยให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งในระบบของประเทศรับมือเพียงลำพัง....
(วัลลอฮุอะลัม วะอะลา วะอะห์กัม)

                                                                         Social Investment

                                                                     (ภาพจาก http://bwb.co.nz/books/social-investment)

อ้างอิง

Boston, J., & Gill, D. (2017). Social investment : a New Zealand policy experiment. Wellington, New Zealand : Bridget Williams Books.

Social Investment.retrieve from https://treasury.govt.nz/information-and-services/state-sector-leadershi....