Skip to main content

 

 
 
จดหมายเปิดผนึก
เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาและประชาสังคมเพื่อสันติภาพปาตานี
8 พฤษภาคม 2555
 
เรื่อง     ข้อเสนอเพื่อสร้างสันติภาพที่ปาตานีจากพลเมืองรากหญ้า
 
เรียน    ผู้แทนองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC)
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย เอกสารข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเยาวชนปาตานี 1 ชุด
           
ด้วยพระนามของอัลลอฮผู้มหาเมตตาและกรุณาปราณี เป็นที่รับรู้ของสังคมสาธารณะทั่วโลกว่าสถานการณ์ความไม่สงบที่ปาตานีซึ่งได้ปะทุขึ้นมาในรูปแบบของการสู้รบกันระหว่างกองทัพรัฐไทยกับกองกำลังติดอาวุธกอบกู้เอกราชปาตานี โดยใช้ชุมชนชนบทและชุมชนเมืองเป็นยุทธบริเวณของการรบแบบจรยุทธ์ ซึ่งแตกต่างจากปรากฏการณ์การต่อสู้เมื่อก่อนปี ค.ศ. 2004 ที่ทั้งสองฝ่ายใช้ป่าเขาเป็นยุทธบริเวณการรบนั้น มาจากรากเหง้าปัญหาของความเป็นจักรวรรดินิยมสยามเมื่อปี ค.ศ. 1786 ทำการสงครามยึดดินแดนและอธิปไตยต่อรัฐปาตานี จนถึงปี ค.ศ.1909 สถานะของความเป็นรัฐปาตานีก็ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนรัฐสยามภายใต้อธิปไตยรัฐสยามอย่างเป็นทางการด้วยสนธิสัญญาอธรรมที่เรียกว่า Anglo-Siamese Treaty ซึ่งต่อมารัฐสยามก็เปลี่ยนชื่อเป็นรัฐไทยเมื่อปี ค.ศ.1939
 
            การมาเยือนของตัวแทน OIC ยังดินแดนปาตานีหรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยครั้งนี้ เป็นที่ตื่นเต้นของประชาชนปาตานีเป็นอย่างมาก เพราะด้วยการที่ตกอยู่ภายใต้บรรยากาศการสู้รบของสงครามแบบจรยุทธ์มาเป็นระยะเวลา 8 ปี และยังไม่มีสัญญาณใดๆ ที่พอจะมีความหวังได้บ้างว่าสันติภาพปาตานีจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน พอได้ทราบข่าวว่า ตัวแทน OIC จะมาเยือนปาตานีด้วยภารกิจหลักคือเพื่อรับรู้ถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงเป็นธรรมดาของคนที่สิ้นหวัง แล้วอยู่ๆ ก็มีอัศวินขี่ม้าขาวจะเข้ามาช่วยเหลือ จะรู้สึกตื่นเต้นและตื่นเต้น
 
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าตัวแปรสำคัญของสันติภาพปาตานีนั้นอยู่ที่ความจริง และเชื่อว่าเมื่อความจริงปรากฏปัญหาปาตานีกับรัฐไทยก็จะคลี่คลายลงไปเอง สรุปคือชะตาชีวิตหรืออนาคตชาวปาตานีขึ้นอยู่กับความจริงนั่นเอง แต่ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ณ ปัจจุบัน อย่างเช่น ความเป็นเผด็จการซ่อนรูปประชาธิปไตยของโครงสร้างการปกครองของรัฐไทย ที่เห็นชัดเจนคือผู้นำประเทศสูงสุดที่ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีไม่มีอำนาจเป็นที่สิ้นสุดในการตัดสินใจกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาความมั่นคงของประเทศรวมถึงปัญหาปาตานีด้วย ดังปรากฏการณ์ของท่าทีนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ กับท่าทีของ ผบ.ทบ.ต่อกรณีการกระจายอำนาจให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองท้องถิ่นพิเศษ ท่าทีนายกรัฐมนตรีเห็นด้วย แต่ท่าที ผบ.ทบ.กลับไม่เห็นด้วย ในขณะเดียวกันสภาพของสถานะทางการเมืองของประชาชนในการจะกำหนดชะตาชีวิตตนเองด้วยการแสดงเจตจำนงทางการเมืองนั้น ก็ยังไม่เกิดขึ้นเพราะทางรัฐไทยยังไม่เปิดพื้นที่ทางการเมืองอย่างเคารพในความคิดเห็นของประชาชนอย่างแท้จริง และประชาชนที่มีความคิดต่างจากรัฐนั้น รัฐมักจะใช้วิธีการปราบปรามด้วยความรุนแรงนำ มากกว่าจะเลือกใช้แนวทางสันติวิธี โดยมีกฎหมายพิเศษสามฉบับรองรับการใช้ความรุนแรงเหล่านั้นของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการโดยไม่ต้องรับผิด คือ กฎอัยการศึก พ.ร.บ.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พ.ร.บ.ความมั่นคง
 
            ตลอดระยะเวลา 8 ปี ท่ามกลางความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนซึ่งปัจจุบันยอดผู้สูญเสียชีวิตพุ่งถึงเกือบ 5,000 รายแล้ว นับได้ว่าเป็นแปดปีที่ชาวปาตานีเฝ้ารอคอยสันติภาพด้วยความหวังอย่างขมขื่น เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาและประชาสังคมเพื่อสันติภาพปาตานี หวังว่าการมาเยือนของตัวแทน OIC ยังปาตานีในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์สูงสุดให้กับประชาชนชาวปาตานี จึงมีข้อเสนอให้กับทาง OIC ในการมีส่วนร่วมกันผลักดันสันติภาพที่ปาตานีให้เกิดขึ้นอย่างเร็ววันตามบทบาทที่ควรจะเป็น ดังนี้
 
1.   OIC ควรตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจผลักดันสันติภาพปาตานีอย่างเป็นทางการ
 
2.   เพื่อเป็นการรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน OIC ควรเปิดโอกาสทางองค์กรเยาวชน องค์กรนักศึกษา และองค์ประชาสังคมในพื้นที่ ได้ร่วมนำเสนอในเวทีแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการด้วย
 
            เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาและประชาสังคมเพื่อสันติภาพปาตานี เชื่อมั่นและศรัทธาในความเป็นพี่น้องของความเป็นมุสลิม ที่เข้าใจในความรู้สึกของหัวอกมุสลิมด้วยกัน ว่าจะไม่ทอดทิ้งกันแน่นอน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า OICจะยืนอยู่เคียงข้างประชาชนและความจริง
 
ด้วยพระนามของอัลลอฮที่มหาเมตตาและกรุณาปราณี
 
เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาและประชาสังคมเพื่อสันติภาพปาตานี
 
 
ติดต่อประสานงาน:
นายกริยา มูซอ
โทร 08-72854086  
อีเมล์ [email protected]
 
 
 
 
In the Name of Allah, The Most Gracious, The Most Merciful
 
Open Letter
The Network of Student, Youth and Civil Society for Patani Peace Process
(Translation)
8 May 2012
 
Subject: Peace Process Proposal from Grassroots Citizen
 
His Excellency the Delegation of OIC
 
Encls: Human Rights Abused to the Patani Youth Fact-finding Paper
 
The conflict in southern Thailand is driven by a deep well of discontent among the Patani-Muslim population and alienation from the Thai state. While the conflict is a product of several factors, it is clear that the long term grievances felt by the Thai-Malay population have created an environment that is ripe for armed insurgent sympathy, recruitment, and community support. The origins of their grievances with the Thai state go back to the process of state penetration and extension of central control into the traditional Patani-Muslim homeland beginning around 1900. Some of the commonly cited grievances by local leaders and academics include: a) the perceived threat to local Pattani-Muslim identity and culture, primarily through extension of the Thai education system, government regulations that restrict the use of local dialects, and official efforts to encourage assimilation of ethnic minorities; b) impunity and abuses by Thai security forces and officials sent to the southern provinces; and c) imposition of central authority in local governance, and the exclusion of local leaders from local positions of authority.
 
These grievances have been a major factor in sustaining the ongoing armed insurgency. Since the mid-1960s, there have been numerous armed insurgent movements operating in the south. While these militant groups have attracted the sympathies of large segments of the local population by appealing to their sense of injustice, they have not yet presented a set of political demands to the Thai Government
 
The Network believes this is an opportune time to re-visit the question of Patani-Muslim political demands through a credible, grassroots process. Since the re-emergence of the conflict in 2004, there have been several well-meaning attempts to consult with the Thai-Malay population in southern Thailand, in order to articulate their concerns and grievances. For example, in 2005 and 2006 the National Reconciliation Commission (NRC) conducted a series of public consultations and met with dozens of prominent Thai-Malay leaders in the conflict-affected provinces of southern Thailand. The NRC’s report, which was issued by the commission before it disbanded in June 2006, included an extensive list of recommendations to address the grievances of the affected population and promote reconciliation. The NRC’s process was generally seen as a positive attempt to improve understanding of Patani-Muslim grievances. However, some perceived it as a top-down process, mostly driven by Thai-Buddhist elites. As a result, some of the more sensitive topics were omitted from the series of dialogues and the NRC’s final recommendations. Furthermore, while the NRC and other groups visited scores of communities throughout the south to gather grassroots opinions, their method for eliciting information did not take into account fundamental characteristics of traditional community interpersonal interaction that normally preclude engaged participation by the average citizen.
 
For visiting the Southern Most Provinces of Thailand by OIC Delegation, the Network would like to urge to review the following issues and recommendations;  
 
1. OIC should set up the specialist committee to push out Peace Process for Patani.
2. OIC should give the opportunity for the civil societies, youth groups and student networks to propose their recommendations for peace process.  
 
The Network believes in Muslim brotherhood that will understand the situation of the Patani-Muslim people and we do hope that OIC will stand beside the Truth and civilian.
           
The Network of Student, Youth and Civil Society for Patani Peace Process
                                                                    
Coordinator Contact :
MR. KARIYA MUSOR  
Tel. 08-72854086