Skip to main content
For English version please see below.
 
 
เวทีพูดคุยนานาชาติว่าด้วย
"กระบวนการสันติภาพปาตานีในบริบทของอาเซียน"
วันที่ 7 กันยายน 2555
เวลา 14:00-17:00 .
ณ หอประชุมใหญ่นานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใญ่ จ.สงขลา
จัดโดย
สภาประชาสังคมชายแดนใต้ (CST)
สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า (KPI)
สมัชชาปฏิรูป
มูลนิธิซาซากาว่าเพื่อสันติภาพ แห่งประเทศญี่ปุ่น (SPF)
โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP) ภายใต้สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW)
 
13:30
ลงทะเบียนรับเอกสาร
 
14:00 – 14.45
กล่าวปาฐกถาพิเศษ
 
"ไอพีพีในบริบทของพีพีพี:
พื้นที่กลางสร้างสันติภาพจาก 'คนใน' ภายใต้บริบทของกระบวนการสันติภาพปาตานี"
 
โดย
ดร.โนเบิร์ต โรเปอร์ส
ผู้อำนวยการองค์กรสนับสนุนสันติภาพเบิร์กฮอฟ
 
14:45 – 17:00
วงสนทนา
 
"กระบวนการสันติภาพปาตานีในบริบทของอาเซียน"
 
โดย
 
- แนวคิดเรื่องพหุวิถีและสหอาณาบริเวณสำหรับกระบวนการสันติภาพปาตานี
โดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) และ
ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
- ทำความเข้าใจสันติเสวนาและการเจรจาเพื่อสันติภาพ
โดย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวสารสันติภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ
ประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
 
- บทสนทนาว่าด้วยการปกครองตนเองในฐานะที่เป็นสาระหลักในความขัดแย้งชายแดนใต้
โดย ศ.ดร.ดันแคน แมคคาร์โก
ศาสตราจารย์ประจำสำนักศึกษาการเมืองและการระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยลีดส์, ประเทศอังกฤษ
 
- ประสบการณ์ของการค้นหาทางเลือกบนเส้นทางสันติวิธี
โดย อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง
นักวิชาการอิสระ
 
- การหนุนเสริมสันติภาพจากคนนอก
โดย มาโฮ นากายาม่า
เจ้าหน้าที่มูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า (SPF), ประเทศญี่ปุ่น 
 
- บทบาทของประชาสังคมในกระบวนการสันติภาพ
โดย นายนูรคอลิส ฮิดายัต
อดีตผู้อำนวยการสถาบันช่วยเหลือทางกฎหมาย (LBH), จาการ์ตา, ประเทศอินโดนีเซีย
 
- ประสบการณ์มาเลเซียในจังหวัดชายแดนใต้ของไทย
โดย นายคอยริน อันวาร์
ผู้ประสานงานประจำภูมิภาคแห่งอาเซียน Malaysian Relief Agency (MRA), ประเทศมาเลเซีย
 
 
ดำเนินรายการโดย:
เมธัส อนุวัตรอุดม
สำนักงานสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 

 
แนวคิด
 
            9 ปีของความรุนแรงที่นำมาสู่ความยืดเยื้อเรื้อรังและความสูญเสียที่ไม่จบสิ้น ซึ่งนำมาสู่การวิเคราะห์ประเด็นใจกลางของความขัดแย้งที่เป็นเรื่องของอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ ประวัติศาสตร์ และศาสนาที่เป็นสาเหตุความรุนแรงทั้งเชิงกายภาพ ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์ มีการวิจัยทางวิชาการหลายชิ้นที่ยืนยันว่าปัญหาอัตลักษณ์และการทำลาย การปิดกั้น และกดทับโดยโครงสร้างอำนาจรัฐที่แปลกแยกกับท้องถิ่นได้นำไปสู่การ “ขาดความชอบธรรม” ของอำนาจรัฐและการปกครอง ความอยุติธรรมและการตอกย้ำความรุนแรงที่ไร้ความประนีประนอมระหว่างฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงทุกฝ่าย ทางออกคือการหันมาจับประเด็นปัญหาที่ชัดเจน เสนอทางออกในการจัดการปกครองใหม่ การสร้างความยุติธรรม และการพูดคุยสนทนาเรื่องสันติภาพ
 
            ณ จุดนี้ของกาลเวลา ข้อเสนอเรื่อง “การสร้างกระบวนการสันติภาพที่ปัตตานี” (Patani Peace Process-PPP) ได้ถูกสร้างและก่อรูปขึ้นมาอย่างเด่นชัด หัวใจสำคัญคือการเปิดพื้นที่การพูดคุยระหว่าง “คนใน” ที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์ความขัดแย้ง การวิเคราะห์สันติภาพ และการเสนอ แผนที่เดินทางไปสู่สันติภาพ (Roadmap for Peace) อย่างเป็นรูปธรรม ในท่ามกลางปริบทใหม่ ของการก้าวไปสู่ความเป็นสากล อิทธิพลของปัจจัยระหว่างประเทศยิ่งเด่นชัด การก้าวไปสู่ยุคของความเป็นชาติอาเซียน กระบวนการสันติภาพที่ปัตตานี ก็ยิ่งมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
 
            นี่คือคำถามใหม่ที่จะต้องตอบในที่นี้ก็คือ อะไรจะเกิดขึ้นกับ 'กระบวนการสันติภาพปัตตานีในบริบทของอาเซียน' ?
 
 
Agenda
PPP: PA(T)TANI PEACE PROCESS IN ASEAN CONTEXT
September 7, 2012 (14:00-17:00 pm)
International Convention Center, Prince of Songkla University,
Hat Yai, Songkla, Thailand
 

13:30
Registration
 
14:00 – 14.45
Keynote speech on
 
“IPP in context of PPP: Insider Peacebuilding Platform in the context of Pa(t)tani Peace Process”
 
Prof.Dr.Norbert Ropers
Directors of Berghof Peace Support (BPS)
 
14:45 – 17:00
Peace Dialogue Seminar
 
“Pat(t)ani Peace Process in ASEAN Context”
 
- The Notion of Multi-Track / Multi-Platform for PPP
Asst.Prof.Dr.Srisompob Jitpiromsri
Director of Deep South Watch (DSW) and
Center for Conflict Studies and Cultural Diversity (CSCD), PSU Pattani
 
- Understanding Dialogue and Peace Negotiation
Prof. Dr. Chaiwat Satha-Anand
Director of Peace Information Center, Thammasat University and
Chairperson of Strategic Non-Violence Commission, Thai Research Fund (TRF)
 
- Dialogue on Autonomy, as a core theme, in the Deep South Conflict
Prof.Dr.Duncan McCargo
School of Politics and International Studies, University of Leeds, UK
 
- A Personal Reflection on the Way to Peace
Ahmad Somboon Bualuang
Independent Scholar
 
- Peace Support from Outsider
Maho Nakayama
Staff of Sasakawa Peace Foundation (SPF), Japan
 
- The Role of CSOs in Peace Process
Nurkholis Hidayat
Former Director of Jakarta's Lembaga Bantuan Hukum (LBH), Indonesia
 
- Malaysian’s Experience in the Deep South of Thailand
Mr.Khairil Anwar
Co-ordinator for ASEAN of Malaysian Relief Agency (MRA), Malaysia
 
 
By Process:
Chayanit Poonyarat
Thammasat University, Thailand
Mathus Anuvatudom
Office of Peace and Governance, King Prajadhipok's Institute (KPI), Thailand
 

 

Concept
 
Nine years of violence have made this conflict a protracted one with endless loss. Confirmed by empirical studies, the root cause of the conflict lies in ethnicity, history, and religion resulting in physical, structural, and cultural violence for decades. Suppression and deprivation of Malay identity by the state’s apparatus, not complying with local culture and practices, have led to the ‘legitimacy deficit’ of the governance, the local feelings of being treated unjustly, and, consequently,  vicious violence committed by conflict parties. The solution to this prolonged conflict is to address the root cause by plainly exploring alternative governance arrangements, safeguarding justice, while sustaining peace dialogue.
           
At this moment of time, the idea of Pat(t)ani Peace Process (PPP) has been initiated and clearly articulated. Central to its concept is to open and expand a common dialogue space for "insiders" to collaboratively analyze the conflict and concretely propose a distinct Roadmap for Peace within the new context. The closer to the time of ASEAN Community, the clearer the peace process at Pat(t)ani would eventually be.
 
Therefore, a new question is now raised, that is, what would happen to Pat(t)ani Peace Process within the ASEAN context?
 

 

Event date