Skip to main content

“ศาลเชื่อว่ามีขบวนการกู้ชาติรัฐปัตตานี ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่ตั้งขึ้นเพื่อมุ่งหมายกระทำการแบ่งแยกราชอาณาจักร ยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร ทั้งใช้กำลังประทุษร้าย กระทำการอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย รวมทั้งกระทำการอันใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐ โดยมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาล อันเป็นความผิดฐานกบฏ และก่อการร้ายจริง แม้คำเบิกความจะเป็นคำให้การชั้นสอบสวนและซักถาม จะเป็นการซัดทอดจากผู้เป็นสมาชิกของขบวนการด้วยกัน แต่ก็ไม่ได้เป็นการปัดความผิดของตน เป็นเพียงการเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่ประสบพบเห็นมา มีการนำชี้สถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่ามีอยู่จริง

นี่เป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริง ที่ศาลฎีกาใช้พิจารณาควบคู่กับพยานหลักฐาน ในคดีของนายมูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ หรืออันวาร์ ซึ่งผลการพิจารณาเป็นที่กันดีแล้วว่าศาลฎีกา กลับคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น  ให้จำคุกนายมูฮาหมัดอัณวัร 12 ปี ฐานเป็นผู้ก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจร

“ศาลเชื่อว่ามีขบวนการกู้ชาติรัฐปัตตานี”

ก่อนหน้าที่จะมีการพูดคุยแนวทางสร้างสันติภาพ ระหว่างสภาความมั่นคงแห่งชาติ กับ ขบวนการกู้ชาติรัฐปัตตานี หรือ บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต  สังคมไม่เชื่อว่ามีขบวนการกู้ชาติรัฐปัตตานีอยู่จริง จนกระทั่งการปรากฏตัวของนายฮัสซัน ตอยิบ ผ่านสื่อที่ติดตามทำข่าวการพูดคุยสันติภาพ และจากการแถลงของนายฮัสซัน ตอยิบ ผ่านคลิปวีดีโอ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2556 ขณะที่การเจรจารอบที่ 3 มีขึ้นในวันถัดไปคือ 29 เมษายน 2556

นับตั้งแต่นั้น สังคมจึงเชื่อการมีอยู่ของขบวนการกู้ชาติรัฐปัตตานี หรือบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต หลายคนอาจคิดทบทวนย้อนหลังไปอย่างน้อยก็ย้อนไปจนถึงช่วงต้นปี 2547 ที่มีเหตุการณ์ปล้นและเหตุรุนแรงที่เกิดนับแต่นั้นเรื่อยมา รวมแล้วมีคนตายไปจากเหตุการณ์นี้กว่า 5 พันคน แม้จะไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการจากบีอาร์เอ็น ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุทั้งหมดจริงหรือไม่ แต่สังคมส่วนใหญ่ก็ย่อมมองว่าเป็นฝีมือของบีอาร์เอ็น เพราะไม่เห็นใครอีกนอกจากนี้

ถึงแม้จะมีหลายเหตุการณ์ที่สร้างกระแสความสงสัยจากข้อสังเกตหลายประการของกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ว่าอาจจะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ ซึ่งถ้าจะให้แน่ชัดในประเด็นนี้ก็คงต้องมีการตรวจสอบกันอีกมาก  และนอกจากกระบวนการของศาลแล้วองค์กรอื่นคงทำได้ยาก

บนเวทีความขัดแย้งขณะนี้ ขบวนการบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต และแนวร่วม จึงตกอยู่ในวงกลมของแสงสปอร์ตไลท์ ที่จะสอดส่องติดตามความเคลื่อนไหวไปตลอดทุกทิศทาง จากเดิมที่อยู่หลังฉาก นับจากนี้บีอาร์เอ็น จะเป็นตัวแสดงหลัก

หนึ่งในเหตุผลการต่อสู้ของบีอาร์เอ็น คือประเด็นการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สะสมมายาวนาน งานวิจัยของศาสตราจารย์ดันแคน แมคคาร์โก้ นักรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ ที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลระดับปฐมภูมิ ให้คำตอบถึงสาเหตุปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ได้น่าสนใจ ในนิยาม “โรคความชอบธรรมบกพร่อง”

ไม่ว่ายุคสมัยใด หรือที่ใดในโลก ปัญญาชนคนวัยหนุ่มสาว คือผู้ที่จะต้องก้าวขึ้นมาต่อสู้ขัดขวาง “ความไม่เป็นธรรม” ตามจิตสำนึกและความมุ่งหวังในการสร้างสังคมที่เป็นธรรม ให้เกิดขึ้นจริง ด้วยจิตสำนึกแห่งสาธารณะไม่ว่าจะเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นที่มุมใดในโลก ปัญญาชนคนวัยหนุ่มสาวย่อมอยากก้าวเดินออกไปต่อสู้ ตามจิตสำนึกแห่งมนุษยธรรม นี่คืออุดมการณ์ของปัญญาชนคนหนุ่มสาวทั่วโลก

ปัญญาชนคนหนุ่มสาวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เช่นกัน การแสดงตัวเคลื่อนไหวรณรงค์ให้สังคมสนใจปัญหาการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการบริหารของรัฐบาล ตลอดระยะเวลา 9 ปี ที่ผ่านมา ทำให้หลายคนไม่สามารถทนแรงกดดันจากปฏิกิริยาโต้กลับทั้งจากสังคมและฝ่ายรัฐได้ สุดท้ายพวกเขาก็เข้าป่าจับอาวุธ หลายคนต้องจบชีวิตลงในวัยหนุ่ม คนที่เหลือก็ยังคงเคลื่อนไหวต่อไปในสภาพอารมณ์ความกดดันที่อัดอั้นอยู่ภายใน ระบายออกมาเป็นถ้อยคำที่เสี่ยงต่ออิสระภาพของพวกเขาเอง

ผมไม่โทษที่เจตนาบริสุทธิ์ของนักศึกษาปัญญาชนมุสลิมหลายๆ คนจะถูกแปลความหมายหมิ่นเหม่ไปในทางที่กระทบต่อความมั่นคง เพราะเข้าใจว่าการแสดงออกด้วยการเขียนเป็นตัวหนังสือภาษาไทย ไม่ใช่ความถนัดของคนในพื้นที่ ซึ่งคุ้นเคยกับภาษามลายู จึงทำให้การแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ เรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และกฏบัตรแห่งสหประชาชาติ ถูกเหมารวมว่าเป็นการแสดงออกที่กระทบกับความมั่นคง และถูกเหมารวมว่าคนที่มีพฤติกรรมเช่นนั้น เป็นสมาชิกของขบวนการกู้ชาติรัฐปัตตานี ซึ่งเงื้อมมือของ พรก.ฉุกเฉิน และ กฏอัยการศึก พร้อมจะมาคว้าตัวพวกเขาไปเข้าสู่กระบวนการสอบสวนได้ทุกเวลา

คนที่น่าเป็นห่วงในหมู่เพื่อนๆ ขณะนี้คือ “ฮาเต๊ป โซะโก” นักกิจกรรมภาคประชาสังคม ที่มีรายงานว่าเขาถูกคุกคามทางโทรศัพท์และโซเชี่ยลมีเดีย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเขาเป็นอย่างไร ควรเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่สร้างกระแสสังคมกดดัน ซึ่งไม่ช่วยส่งเสริมบรรยากาศการสร้างสันติภาพในชายแดนใต้แต่อย่างใด Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:Calibri;
mso-hansi-theme-font:minor-latin">

ส่วนกรณีของอันวาร์ ชะตากรรมวันนี้ของเขามาจากการซัดทอดของผู้ต้องหาคดีฆ่าตำรวจ แม้พิสูจน์ได้ในภายหลังว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนั้น เขาต้องสู้กับข้อกล่าวหาในอีกคดีอั้งยี่ ซ่องโจร ซึ่งเขาถูกซัดทอดจากผู้ต้องหาในคดีฆ่าตำรวจว่าเขาเคยเข้าร่วมในกระบวนการปลูกฝังแนวความคิดจากบีอาร์เอ็น และในห้วงเวลาที่ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษา เป็นห้วงเวลาอันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าขบวนการกู้ชาติรัฐปัตตานี หรือบีอาร์เอ็น มีตัวตนอยู่จริง ผลจึงปรากฏดังที่รับรู้กันอยู่ในขณะนี้ Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:Calibri;
mso-hansi-theme-font:minor-latin">

คำถามเพื่อความรู้ต่อกรณีนี้คือ ถ้าหากนักศึกษาปัญญาชนไม่ว่าจะพุทธหรือมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลุกขึ้นมาสารภาพกับสังคม ว่า พวกเขาไม่เคยและจะไม่เข้ารับการปลูกฝังแนวความคิดจากกลุ่มใด แต่พวกเขาคิดว่าพวกเขาเห็นด้วยกับทุกกลุ่ม ทุกขบวนการ  ที่เคลื่อนไหวต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในสังคม

มีความคิดเห็นเป็นเช่นนี้ พวกเขาจะมีความผิด ต้องติดคุกเช่นนั้นหรือไม่? Calibri;mso-ascii-theme-font:minor-latin;mso-hansi-font-family:Calibri;
mso-hansi-theme-font:minor-latin">