Skip to main content

 ออกอากาศในวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน 2552  เวลา 10.05 น. ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ThaiPBS

การกระทำรุนแรงต่อผู้หญิง  ในที่นี้หมายถึงความรุนแรงทางเพศ  ซึ่งเป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นมากกับสตรี และผู้อยู่ในสถานภาพที่อ่อนแอหรือต้องพึ่งพาผู้อื่น เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ  โดยมีการกระทำในหลายลักษณะ เช่น การข่มขืน กระทำอนาจาร ลวนลามทางเพศ ละเมิดสิทธิทางเพศต่างๆ รวมถึงการแทะโลมด้วยวาจาและสายตา การอวดอวัยวะเพศ ฯลฯ   แต่พฤติกรรมที่ปัจจุบันถือเป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายไทย คือ การข่มขืนกระทำชำเราและการกระทำอนาจาร  ซึ่งอาจเกิดขึ้นแม้ในครอบครัวและคนใกล้ชิด เช่น การข่มขืนคนรัก (Date Rape) เป็นต้น

 ผู้ร่วมรายการร่วมแลกเปลี่ยนถึง ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้กระทำ  ที่จะช่วยให้สังคมเข้าใจว่าทำไมผู้กระทำจึงต้องทำร้ายหรือมีพฤติกรรมรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิง รูปแบบของความรุนแรงทางเพศมีอะไรบ้าง และผลกระทบต่อตัวเหยื่อหรือผู้เสียหายและสังคมคืออะไรบ้าง

เหตุใดส่วนใหญ่จึงเป็นฝ่ายชายที่เป็นผู้กระทำความรุนแรงทางเพศ  วิทยากรมีความเห็นอย่างไรกับแนวคิดที่โต้แย้งกันมาจนถึงปัจจุบัน  ว่าผู้กระทำถูกขับดันจากแรงผลักของธรรมชาติ เป็นเรื่องของปัจเจก เป็นเรื่องของฮอร์โมน หรือเกิดจากการเลี้ยงดู หรือเพราะสังคมมีส่วนกล่อมเกลา (nature or nurture) และผู้กระทำมีความรับรู้ต่อผลของการกระทำของตนต่อเหยื่อหรือผู้เสียหายมากน้อยเพียงไร แล้วหญิงกระทำความรุนแรงต่อชายมีหรือไม่ รูปแบบใดบ้าง และผลเป็นอย่างไร

การกระทำเหล่านี้ แก้ไข เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่  มีความสำเร็จอะไรบ้าง มีบทเรียนข้อสังเกตุอะไรบ้าง

กฎหมาย นโยบาย ของประเทศเรามีเพียงพอ หรือถูกใช้ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ มีนวัตกรรมใหม่ๆ อะไรบ้างที่ใช้แก้ไขปัญหาเหล่านี้  (เช่น การสอนเรื่องเพศศึกษา สิทธิมนุษยชน ธรรมะ ฯลฯ) ติตตามชมรายการได้ในวันและเวลาดังกล่าว

ผู้ร่วมรายการ

1.  คุณทิชา ณ นคร               ผู้อำนวยการบ้านกาญจนาภิเษก

2. รศ.อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

3. ดร.นรินทร์ กรินชัย           เลขาธิการและนักจิตวิทยา มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์

4. ดร. เขมิกา ยามะรัต           ผู้ช่วยคณบดี วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินรายการโดย   คุณสุนี ไชยรส