Skip to main content
VIS (Violence-related Injury Surveillance)
เครือข่ายระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
 
 
รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรง
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Violence-related Injury Surveillance - VIS)
ประจำเดือน มกราคม 2550 - ธันวาคม 2552
 
ที่มา
 
          ระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 2550 เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลให้เอื้อต่อการนำไปใช้พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กำหนดนโยบายและวางแผน จัดสรรทรัพยากร ควบคุมป้องกันการบาดเจ็บ และช่วยเหลือเยียวยาผู้สูญเสียจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มประชากรที่เฝ้าระวัง คือ ผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการบาดเจ็บจากสาเหตุภายนอกแบบตั้งใจ (Intentional injury) ทุกราย ที่มารับการรักษาหรือชันสูตรพลิกศพที่โรงพยาบาลของรัฐจำนวน 48 แห่งของจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยรายงานฉบับนี้จะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลระบบเฝ้าระวังฯ เฉพาะเหตุการณ์ที่มีสาเหตุจากความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น
 
สรุปสถานการณ์
 
          มีเหตุการณ์ความรุนแรงจำนวน 2,478 ครั้ง มีจำนวนผู้บาดเจ็บ 5,561 ราย อัตราการบาดเจ็บ 4.6 ต่อแสนประชากรต่อเดือน มีจำนวนผู้เสียชีวิต 1,390 คน อัตราตาย 1.2 ต่อแสนประชากรต่อเดือน อัตราป่วยตาย (case fatality rate-CFR) ร้อยละ 25 มีจำนวนผู้ได้รับผลกระทบในครอบครัวของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวม 4,400 คน
 
 

 

หมายเหตุ: Download รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ที่ VIS Website: http://medipe  2.psu.ac.th/~visหรือ www.deepsouthvis.org 
 
โหลดรายงานฉบับเต็ม

 
เหตุการณ์
สถานที่

 

 

เวลา

 

ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

สถานที่

บุคคล

การบาดเจ็บ

การรักษาพยาบาล

 

 

 

 

การนำส่งจากจุดเกิดเหตุ
 
          ในผู้บาดเจ็บจำนวน 5,561 ราย มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุจำนวน 964 ราย เสียชีวิตขณะนำส่ง  14 ราย มาโรงพยาบาลเอง 848 ราย หน่วย EMS นำส่ง 343 ราย หน่วยกู้ชีพอื่นๆ 75 ราย ทหารนำส่ง 646 ราย ตำรวจนำส่ง 498 ราย ญาติ/ชาวบ้านนำส่ง 507 ราย อื่นๆ 1,352 ราย ไม่ระบุ 314 ราย ค่ามัธยฐานของระยะเวลาจากจุดเกิดเหตุถึงโรงพยาบาล 30 นาที (IQR = 15-60 นาที)

 

 

ในผู้บาดเจ็บที่มาโรงพยาบาลจำนวน 4,583 ราย สถานะขณะจำหน่าย หาย 224 ราย ดีขึ้น 2,460 ราย ไม่ดีขึ้น 180 ราย ตาย 412 ราย ไม่มีข้อมูล 1,307 ราย
 
มีจำนวนผู้ได้รับผลกระทบในครอบครัวของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวม 4,400 คน

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การส่งต่อ
 
          ในผู้บาดเจ็บจำนวน 5,561 ราย มีผู้ป่วยที่ส่งต่อจำนวน 1,527 ราย (1,713 ครั้ง) โดยพาหนะในการส่งต่อเป็นรถพยาบาล 1,671 ครั้ง ไม่ใช้รถพยาบาล 29 ครั้ง ไม่ระบุ 13 ครั้ง มีผู้ดูแลขณะส่งต่อเป็นแพทย์ 22 ครั้ง พยาบาล 992 ครั้ง ไม่มีผู้ดูแล 6 ครั้ง อื่นๆ 651 ครั้ง ค่ามัธยฐานของระยะเวลาในการการส่งต่อ 50 นาที (IQR = 30-67 นาที)