Skip to main content

แปลและเรียบเรียง นายอิสมาอีล ฮายีแวจิ

สำนักสื่อวารตานี [WARTANI]

 

ฮัมซะห์ โกมลซัง NGO บังซาโมโรแนะคนปาตานีร่วมมือกับองค์กรเคลื่อนไหวสันติภาพในประเทศ ทำความรู้จักกับสังคมและองค์กรระหว่างประเทศ บทเรียน 4 ขั้นตอน แนวทางสู่สันติภาพมินดาเนา บังชาโมโร

 
ผู้ดำเนินรายการ : อาเต๊ฟ โซ๊ะโก
นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า
หัวหน้าฝ่ายการต่างประเทศ สถาบันเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา [YDA]
 
            ถ้าหากข้อมูลผมไม่ผิดพลาด ผมคิดว่าเชื้อสายคนบังซาโมโรเป็นเชื้อสายเดียวกันกับเชื้อสายคนมลายู แต่บังเอิญพวกเขาเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่บนหมู่เกาะที่ห่างไกลออกจากไป เดิมทีตอนที่บังซาโมโรมีรัฐที่อิสระ พวกเขามีรัฐเป็นของตนเองที่มีชื่อว่ารัฐสุลต่านซูลู รัฐโกตาบาตู หรือมินดาเนา
 
ซึ่งคนที่นั่นจะเรียกตนเองว่าคนบังซาโมโร เดิมที่ประเทศฟิลิปปินส์ยังไม่มี แต่เป็นประเทศสเปนที่เข้ามาในภูมิภาคบนพื้นที่ที่เป็นประเทศฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน และได้ทำการยึดดินแดนที่เป็นประเทศฟิลิปปินส์ทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศซึ่งประเทศสเปนยึดไปแล้วประมาณ 400 ปี
 
แต่รัฐสุลต่านซูลูกับรัฐโกตาบาตูยังเป็นรัฐที่อิสระอยู่อีก สรุปคือรัฐเขายังมีอธิปไตยป็นของตนเอง และยังมีเอกราชเป็นของตนเอง แต่พอมาถึงช่วงสงครามโลกประเทศสเปนพ่ายแพ้ต่ออิทธิพลของสหรัฐอเมริกาก็เลยทำการมอบประเทศฟิลิปปินส์ให้กับสหรัฐอเมริกา แต่ในหนังสือการมอบไม่ได้มอบเฉพาะภาคเหนือและภาคกลางของประเทศฟิลิปปินส์อย่างเดียว กลับไปมอบมินดาเนา หรือรัฐสุลต่านซูลู หรือรัฐโกตาบาตูด้วย
ส่งผลทำให้พวกเขาตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้ตั้งใจ และเมื่อสหรัฐอเมริกาให้อิสรภาพและเอกราชแก่ประเทศฟิลิปปินส์ พวกเขาเลยตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของประเทศฟิลิปปินส์จนถึงทุกวันนี้ ฟังดูแล้วรู้สึกว่ามันคล้ายๆกับที่ไหนสักที่หนึ่ง มันเหมือนประเทศสารขัณธ์ตามที่เขาเรียก นี่เป็นสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างหนึ่ง
 
อันที่จริงส่วนตัวผมแล้วมีความต้องการที่จะมอบเวลาและเวทีเฉพาะให้แก่คุณฮัมซะห์ทั้งหมดเลย เพราะเขาคงต้องใช้เวลาเล่าสู่กันฟังเยอะมาก แต่สำหรับวันนี้คงจะเป็นไปได้ยาก
 
แต่ก็ไม่เป็นไร หากเวลาวันนี้ไม่อำนวยเราก็มีประเด็นที่อยากจะแลกเปลี่ยนเป็นการเฉพาะ ซึ่งสิ่งที่ผมคิดว่าต้องการจะได้จากคุณฮัมซะห์ก็คือ ยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวที่ชัดเจนต่อเรื่องRight to Self Determination [RSD] หรือสิทธิการเคลื่อนไหวเพื่อนำไปสู่สิทธิในการกำหนดชะตากรรมหรือนาคตของตนเองอย่างไร ? และได้ปฏิบัติตามพันธะกิจนั้นอย่างไร ? คนบังซาโมโรมีการเคลื่อนไหวอย่างไร จึงทำให้ประชาชนยอมรับว่า สิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเองนั้นเป็นสิทธิที่แท้จริง ไม่ใช่สิทธิที่อุปโลกน์ขึ้นมา ?
ประการสำคัญที่ทำให้คนเข้าใจผิดจนถึงทุกวันนี้ว่า บังซาโมโรได้ลงนามเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งเขตปกครองพิเศษ [Authonomy] แต่ความเป็นจริงยังไม่ใช่ การเซ็นต์สัญญาโดยมีประเทศมาเลเซียเป็นตัวกลางครั้งที่แล้วตามความต้องการจริง คือ เพื่อร่างกรอบที่จะไปเจรจาที่ว่า หลังจากนี้เราจะไปเจรจาอย่างไร ? นั่นคือสิ่งที่พวกเขาเพียงแค่เริ่มต้น และการเริ่มต้นไม่ใช่ว่าจะต้องได้อะไรกลับมา จะได้เอกราช หรือได้เขตปกครองพิเศษ หรือได้การกระจายอำนาจ
 
แต่การที่พวกเขาเริ่มต้นในการเซ็นสัญญานั้นเป็นการเซ็นสัญญาว่า หลังจากนี้พวกเราจะร่างกรอบเพื่อไปเจรจา ในส่วนนี้คงจะได้ฟังจากคุณฮัมซะห์เช่นเดียวกัน ขอเรียนเชิญครับ
 
ฮัมซะห์ โกมลซัง ลัยดายัน
ประธาน องค์กรเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา สาขา จังหวัดโนดโกตาบาตู บังซาโมโร ประเทศฟิลิปปินส์ [UNYPAD]  
อัซฮาร์  สารีมะเจะ (แปลภาษา)
ประธาน สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.) 
ขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกคน ขอให้ทุกคนร่วมกันกล่าวพร้อมกันกับคำว่า "SATU PATANI"
 
"SATU PATANI… SATU PATANI… SATU PATANI"
 
รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมเสวนาในวันนี้ โดยเฉพาะการที่ทุกคนอยากทราบถึงข้อมูลในการกำหนดชะตากรรมของพี่น้องชาวบังซาโมโร
 
 
ผมขอแบ่งเป็นสองส่วนระหว่างคุณลักษณะของชาวฟิลิปปินส์กับชาวบังซาโมโร ซึ่งตามประวัติศาสตร์ความเป็นจริงแล้วชาวฟิลิปปินส์จะเป็นลูกหลานของกลุ่มพวกจักรวรรดินิยมที่นับถือศาสนาคริสเตียน ส่วนชาวบังซาโมโรคือลูกหลานของกลุ่มที่ต่อต้านพวกจักรวรรดินิยมและนับถือศาสนาอิสลาม ชาวฟิลิปปินส์คือ ทายาทของผู้ที่เข้ามาครองครองยึดฟิลิปปินส์ในสมัยอดีต หรือชาวสเปน และชื่อบังซาโมโรได้ถูกตั้งชื่อโดยผู้ซึ่งได้รับชัยชนะในการต่อสู้กับประเทศสเปนเมื่อ 800 ปีที่แล้ว
 
ขั้นแรกคือขั้นระดับชาติด้วยการทำหน้าที่ล็อบบี้หรือทำความรู้จักกับองค์กรระหว่างประเทศ สังคมระหว่างประเทศ และสถานทูตต่างๆที่อยู่ในกรุงมะนิลา ที่เป็นเมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์
 
ขั้นที่สองคือ สร้างความสัมพันธ์กับองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับการเคลื่อนไหวในเรื่องสันติภาพที่มีอยู่ในกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์เช่นเดียวกัน เพื่อมาร่วมมือหาแนวทางกัน
 
ขั้นที่สามคือ ทำการล็อบบี้กับผู้ที่ออกนโยบาย หรือการเข้าไปพบปะกับรัฐมนตรีของประธานาธิบดีประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อที่จะให้ประเด็นของบังซาโมโรถูกตั้งไว้ในประเด็นที่เขาสนใจ
และขั้นสุดท้ายคือ ระดับนานาชาติที่องค์กรภาคประชาสังคมทำหน้าที่ล็อบบี้และประชาสัมพันธ์ในประเด็นของมินดาเนาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมินดาเนา บทบาทระหว่างประเทศที่สามารถช่วยพัฒนาในเรื่องของการกำหนดชะตากรรมตนเอง ผลกระทบของการทำสงคราม หรือแม้กระทั่งความคิดเห็นขององค์กรภาคประชาสังคมในวิธีการที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ตลอดจนการเชิญชวนองค์กรระหว่างประเทศหรือบุคคลต่างประเทศ ให้มามีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการหาแนวทางการแก้ปัญหาเกิดขึ้น
 
ตอนนี้กลุ่มองค์กรต่างๆในบังซาโมโรก็พยายามจัดทำกิจกรรมต่างๆเพื่อสนับสนุนการทำข้อตกลงระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์ กับแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร หรือ Moro Islamic Liberation Front [MLIF] หรือร่วมกันหาทางออกและบังซาโมโรเห็นว่าการที่จะหาทางออกร่วมกันระหว่างบังซาโมโรกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่เคยได้ทำไปแล้วนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการต่อสู้และทำสงครามที่เกิดขึ้นมาร่วมศตวรรษ
  
ผู้ดำเนินรายการ
ขอขอบคุณคุณฮัมซะห์ ที่ได้ให้ความรู้เพิ่มพูนให้กับพวกเราค่อนข้างมากมาย ผมคิดว่าเราคงต้องหาเวทีในครั้งหน้าที่เป็นเวทีเฉพาะให้กับการนำเสนอถึงกระบวนการสันติภาพในมินดาเนา ไม่แน่ใจว่าหากรอบหน้าเราเชิญตัวแทนจากบังซาโมโรมาอีกจะมีผู้เข้ามาร่วมฟังแบบนี้อีกหรือเปล่า ถ้ามีรอบหน้าก็คงน่าจะได้จัดอีกครั้ง
 

บทเสวนาที่เกี่ยวข้อง
  1. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [1] อาจารย์อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง
  2. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [2] ตูแวดานียา ตูแวแมแง
  3. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [3] สุพัฒน์ อาษาศรี 
  4. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [4] กริยา มูซอ
  5. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [5]ฮัมซะห์ โกมลซัง ลัยดายัน
  6. ถอดบทเสวนา : สงครามและสันติภาพ ประชาชนปาตานีจะกำหนดชะตากรรมตนเองได้หรือไม่ ? อย่างไร ? [6]

 

วิดีโอเสวนา