Skip to main content
 For ENLISH please scroll down 
 
 
 
 
โครงการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ
 

TriPEACE via ASEAN Muslim Societies

ไตรสันติภาพบนเส้นทางสังคมมุสลิมอาเซียน

 
Muslim Societies, Knowledge and Peacebuilding in Southeast Asia
“สังคมมุสลิม, ความรู้ และการสร้างสันติภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
วันที่ 30 กันยายน 2558
ณ  หอประชุมอิหม่าม อัล นาวาวีย์
ชั้น 4 อาคารวิทยอิสลามนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
 
แนวคิด
 
ในปัจจุบันสังคมมุสลิมในหลายภูมิภาคทั่วโลกต่างเผชิญกับความขัดแย้งหลากหลายลักษณะ ทั้งความขัดแย้งระหว่างสำนักคิดหรือนิกาย ซึ่งเป็นความขัดแย้งภายใน “อุมมะห์” ของตนเอง ความขัดแย้งระหว่างชุมชนมุสลิมกับชุมชนต่างศาสนิก หรือความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประชากรมุสลิมชนกลุ่มน้อยกับรัฐประชาชาติที่ตนเองสังกัดเป็นพลเมือง ความขัดแย้งเหล่านี้ในหลายพื้นที่คลี่คลายไปสู่การใช้กำลังและความรุนแรงต่อรองต่อรองกับอำนาจรัฐ โดยอาศัยการตีความหลักการของอิสลามในบางแง่มุมมาเป็นเหตุผลรองรับ (justification) เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของความขัดแย้งที่ตนเองเผชิญ ทว่าในอีกด้านหนึ่ง พัฒนาการดังกล่าวกลับส่งผลให้สถาปนาภาพตัวแทนแห่งความรุนแรงที่ประทับตราชุมชนมุสลิมให้ติดตรึงอยู่กับภาพลักษณ์ของกลุ่มชนที่นิยมความรุนแรง อย่างไรก็ตาม ชุมชนมุสลิมที่เผชิญกับความท้าทายเช่นนี้ก็ยังมีความพยายามที่จะแสวงหาวิธีการที่จะอยู่กับความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน วิธีการที่แตกต่างดังกล่าวนี่เองที่เป็นปรากฎการณ์สำคัญที่ท้าทายให้สังคมมุสลิมจากทั่วทุกมุมโลกพยายามแสวงหาคุณค่าและหลักการสากลบางประการที่อยู่ในหลักคำสอนของตนเองเพื่อปรับประยุกต์ใช้ในโลกความเป็นจริงและสอดคล้องกับโครงสร้างสังคมและการเมืองที่มีความเป็นสมัยใหม่
 
ในสภาวะดังกล่าว เราต่างเป็นประจักษ์พยานถึงความพยายามของนักคิดและนักเคลื่อนไหวทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมพยายามสร้างองค์ความรู้ที่จะรับมือกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่ตนต้องเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายในเรื่องของการให้ความหมายต่อการญิฮาดที่เปิดกว้างกว่าวาทกรรมของการก่อสงครามศาสนา การสถาปนาองค์ความรู้และสถาบันเกี่ยวกับแนวทางดุลยธรรม (วะสะฎียะฮ์) หรือแม้แต่การพยายามแสวงหาและปรับประยุกต์คุณค่าของอิสลามให้สอดประสานกับกระบวนการสันภาพที่กำลังดำเนินอยู่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่อันอุดมด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต่างมีปัญหาและบทเรียนที่ตนเผชิญแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละพื้นที่ ดังจะสามารถพิจารณาได้จากพัฒนาการของความขัดแย้งและกระบวนการสันติภาพในสามพื้นที่ อันได้แก่ ภูมิภาคมินดาเนาหรือบังซาโมโรในภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ภูมิภาคตอนเหนือของเกาะสุมาตราหรืออาเจะห์ในประเทศอินโดนีเซีย และในกรณีของปาตานีหรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เป็นต้น พื้นที่ทั้งสามนี้ต่างมีลักษณะบางอย่างที่มีร่วมกัน นั่นคือ เป็นพื้นที่ซึ่งมีมุสลิมเป็นชนกลุ่มใหญ่และมีความขัดแย้งในทางชาติพันธุ์ศาสนาที่เป็นปัจจัยพื้นฐานอันนำไปสู่การใช้กำลังมานานหลายทศวรรษ แต่ในขณะเดียวกันก็มีพัฒนาการของกระบวนการสันติภาพที่แตกต่างกันพอที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน กล่าวคือในขณะที่กรณีของอาเจะห์นั้นผ่านการลงนามในข้อตกลงสันติภาพมาแล้วหนึ่งทศวรรษ แต่ก็ยังเผชิญกับปัญหานานัปการของสถานการณ์หลังความขัดแย้ง ในกรณีของมินดาเนาเองก็กำลังอยู่ในห้วงเวลาสำคัญของกระบวนการสันติภาพ ในขณะที่ปาตานียังถือเป็นพื้นที่ซึ่งเพิ่งริเริ่มเข้าสู่กระบวนการหาทางออกด้วยวิธีการดังกล่าว
 
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างความร่วมมือทางวิชาการข้ามพื้นที่ใน “สามพื้นที่ความขัดแย้ง สามกระบวนการสันติภาพ” ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นฐานคิดสำคัญของการจัดประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ ทั้งนี้ ก็เพื่อแบ่งปัน สานสัมพันธ์ และประมวลองค์ความรู้ผ่านบทเรียนและการคิดใคร่ครวญของนักวิชาการในภูมิภาคดังกล่าวนี้ ไปพร้อมๆ กับการพยายามสร้างความร่วมมือข้ามพื้นที่เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน โดยคาดหวังว่าความรู้ที่แฝงฝังอยู่ในสังคมมุสลิมเหล่านี้นี่เองที่เป็นต้นทุนอย่างดีในการเผชิญหน้ากับความท้าทายในปัจจุบัน
 
วัตถุประสงค์
 
  1. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิชาการมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับพลวัตของสังคมมุสลิมในพื้นที่ความขัดแย้ง
  2. เพื่อประมวลองค์ความรู้ร่วมสมัยเกี่ยวกับความขัดแย้งและสันติภาพในมุมมองของศาสนาอิสลาม
  3. สร้างเครือข่ายนักวิชาการและปัญญาชนมุสลิมทั้งในระดับภูมิภาคชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 400 คน ประกอบไปด้วย อาจารย์และนักวิชาการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ, ภาคประชาสังคมและนักศึกษา
 
องค์กรร่วมจัด
  1. สถาบันอัสสลาม  มหาวิทยาลัยฟาฎอนี
  2. สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  3. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  4. สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  5. วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  6. ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  7. ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  8. วิทยาลัยประชาชน (People’s College)
 
วันที่และสถานที่
วันพุธที่ 30 กันยายน 2558 ณ  หอประชุมอิหม่าม อัล นาวาวีย์  ชั้น 4 อาคารวิทยอิสลามนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
กำหนดการ
การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ
 

TriPEACE via ASEAN Muslim Societies

ไตรสันติภาพบนเส้นทางสังคมมุสลิมอาเซียน

 
Societies, Knowledge and Peacebuilding in Southeast Asia
“สังคมมุสลิม, ความรู้ และการสร้างสันติภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
วันที่ 30 กันยายน 2558ณ  หอประชุมอิหม่าม อัล นาวาวีย์
ชั้น 4 อาคารวิทยอิสลามนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
เวลา
กำหนดการ
08.00 – 09.00 น.
ลงทะเบียน
 
09.00 – 09.05 น.
กล่าวรายงาน
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี  
ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (CSCD)
09.05 – 09.15 น.
กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน
โดย รองศาสตราจารย์ อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
09.15 – 09.30 น.
กล่าวแนะนำองค์ปาฐก
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ
รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยฟาฎอนี
09.30 – 10.00 น.
ปาฐกถา 1
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ยุสนี ซาบี
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งชาติอัลรานิรี (Universitas Islam Negeri Al-Raniry), อาเจะห์, ประเทศอินโดนีเซีย
10:00– 10:30 น.
ปาฐกถา 2
โดย ศาสตราจารย์ ดร.มาคาปาโด อบาตอน มุสลิม
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมินดาเนา (Mindanao State University), มินดาเนา, ประเทศฟิลิปปินส์
10.30 – 11.00 น.
ปาฐกถา 3
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี (Fatoni University), ปัตตานี, ประเทศไทย
11.00–  11:45 น.
อภิปรายสะท้อนความคิดจากปาฐกถา โดย
รองศาสตราจารย์ ดร. คอยรุดดีน  อัลจูเนียต
อาจารย์ประจำสาขาวิชามลายูศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University Of Singapore), ประเทศสิงคโปร์
ศาสตราจารย์ ดาโต๊ะ ดร. ออสมาน บาการ์
ผู้อำนวยการศูนย์อิสลามศึกษาสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน, มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสลาม  (Universiti Brunei Darussalam), ประเทศบรูไน
รองศาสตราจารย์ ดร.อับดุล ราซัก อะห์หมัด
อาจารย์ประจำภาควิชายุทธศาสตร์ศึกษา, คณะการป้องกันประเทศศึกษาและการจัดการ, มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศแห่งมาเลเซีย (National Defence University of Malaysia), ประเทศมาเลเซีย
11.45 – 12.00 น.
พิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างสถาบัน/มหาวิทยาลัย
12:00 – 13.30 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน/ ละหมาด
13.30 – 15.00 น.
เวทีนำเสนอบทความวิชาการ
 
ห้องนำเสนอ A: หอประชุม อัล-อิมาม อัล-นาวาวีย์
 
ประธาน:
อาจารย์ ดร.ธัญรดี ทวีกาญจน์
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
ผู้นำเสนอและหัวข้อบทความ:
 
- การจัดการความขัดแย้งของมุสลิมร่วมสมัย: จากหลักการสู่เครื่องมือ
คุณยาสมิน ซัตตาร์
นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์และการระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยอิสตันบูล, ประเทศตุรกี
 
- ความหวาดกลัวอิสลาม, อวิชชา หรือการสื่อสารที่ผิดพลาด?: เสียงสะท้อนของชุมชนมุสลิมต่อกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับเสียงอาซานในจังหวัดภูเก็ตของประเทศไทย
อาจารย์ อรชา รักดี
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
- กฎหมายพื้นฐาน (Basic Law) และอนาคตของโครงสร้างทางสังคมการเมืองในมินดาเนา
ศาสตราจารย์ ดร.อัสนาวิล รอนซิง
คณบดีศูนย์กษัตริย์ไฟซอลเพื่อการศึกษาอิสลาม, อาหรับ และอาเซียน, มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมินดาเนา, ศูนย์มาราวี, ประเทศฟิลิปปินส์
 
- บทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาสังคมและการเมืองหลังเหตุสึนามิ
ดร. มูฮำหมัด อับดุลเราะห์มาน รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งชาติอัลรานิ, เมืองบันดาร์อาเจะห์, ประเทศอินโดนีเซีย
 
ผู้วิจารณ์
อาจารย์ ดร.มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง ศูนย์ศึกษาเอเชียอาคเนย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
 
 
ห้อง B: ห้องสอบวิทยานิพนธ์ ชั้น 4
 
ประธาน:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
ผู้นำเสนอและหัวข้อบทความ
 
- บทบาทภาวะผู้นำสตรีไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ดร.สุธิรัส  ชูชื่น
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
- ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือผ่านรูปแบบลูกขุนพลเมือง: กรณีรูปแบบการปกครองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ดือเระ
อาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์
 
- บทบาทของการเงินอิสลามต่อกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ดร.ธวัช นุ้ยผอม อาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์
 
- บทบาทของธุรกิจในการสร้างสันติภาพ: การสำรวจเบื้องต้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
อาจารย์ อริศ หัสมา
อาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์
 
ผู้วิจารณ์:
ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
 
ผู้นำเสนอโปสเตอร์
 
- เมื่อฮาลาลเป็นเรื่องการเมือง
อาจารย์สุไรนี สายนุ้ย
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
- ผู้หญิงมุสลิมในความขัดแย้งถึงตาย: ผู้เยียวยาในความรุนแรง
อาจารย์ธัญญธร สายปัญญา
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
- ความไว้วางใจและการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้
อาจารย์สุวรา แก้วนุ้ย
อาจารย์นักวิจัย สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
- องค์กรประชาสังคมมินดาเนากับกระบวนการเจรจาสันติภาพ
อาจารย์ฟารีดา ปันจอร์
อาจารย์นักวิจัย สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
- การเคลื่อนไหวทางการเมืองของมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย : ทางเลือกของการเข้าสู่อำนาจโดยใช้สันติวิธี
คุณอิมรอน ซาเหาะ  นักศึกษาปริญญาโท สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
15.00 – 16:30 น.
เวทีอภิปรายสาธารณะ “ความรู้ทางเลือกในพื้นที่ความขัดแย้ง ”
วิทยากร
คุณเมธัส อนุวัตรอุดม
นักวิชาการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
คุณโซรยา จามจุรี
นักวิชาการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง ม.อ.ปัตตานี / นักเคลื่อนไหวและนักปฏิบัติการสันติภาพ เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
คุณแวอิสมาแอล์ แนแซ
ผู้อำนวยการวิทยาลัยประชาชน
อาจารย์งามศุกร์ รัตนเสถียร
อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
 
ดำเนินรายการ คุณรอมฎอน ปันจอร์
บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
16.30 – 16.45 น.
กล่าวปิดการประชุม
ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน
ที่ปรึกษาผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
 
หมายเหตุ: มีล่ามแปลและอุปกรณ์ประกอบการแปลตลอดงาน
 
 
 
 
 
 
INTERNATIONAL CONFERENCE ON
 

TriPEACE via ASEAN Muslim Societies

ไตรสันติภาพบนเส้นทางสังคมมุสลิมอาเซียน

 
MUSLIM SOCIETIES, KNOWLEDGE AND PEACEBUILDING IN SOUTHEAST ASIA
30 September, 2015
Imam al-Nawawi Conference Hall of International Islamic College, College of Islamic Studies,
Prince of Songkla University (PSU), Pattani, Thailand
 
 
Rational
 
Peacebuilding consists of varied processes and context-oriented designs to prevent the start or resumption of violent conflict within a nation by creating sustainable peace. Seen as a complex social system, peacebuilding activities tackle the root causes or potential causes of violence, creating societal expectation for peaceful conflict resolution and stabilizing society politically and socioeconomically. Bringing in peace means conflict transformation, built on a systemic and inclusive approach which takes into account the interdependent dimensions and dynamic characteristics of different conflict zones. It is imperative that peacebuilding create safe spaces for conflict transformation, sustainable over the long term and empowering to actors on different levels and tracks. Different societies have developed and experienced of processes, both successful and unsuccessful. Recently, Muslim communities in many regions are facing  various kinds of conflicts; within the same Islamic sects or Muslim communities; between different sects;  or conflicts between  Muslim communities  and the state.
 
These problems lead some Muslim groups to use force and violence which they justify with reference to a particular interpretation of certain religious doctrines. This development has led to the erroneous belief that Muslims prefer violence, thus stigmatizings entire Muslim communities. The majority of Muslims try to use non-violence to tackle conflict by applying universal  Islamic values and principles to guide action whilst  making them consistent with changing social structures and  modern politics. We witness the efforts of  Muslim and non-Muslim thinkers and activists trying to build knowledge and  manage  conflict by interpreting, for example, “Jihad” as a discourse advocating peace as opposed to advocating violence. The founding of the Institute of Islamic moderate practice (Wasatiyah) is another such attempt, as is the practice of integrating Islamic values into peace processes, examples of which, can be found in many conflict areas around   Southeast Asia.  
 
In recent years, Prince of Songkla University’s Center for Conflict Studies and Cultural Diversity (CSCD) and its network organizations have been developing multiple peacebuilding support mechanisms. The activities involve academic and outreach projects, such as research, training programs, conferences and workshops to empower scholars as well as civil society practitioners for peace efforts in Thailand’s Deep South region. Being aware of the difficult and tricky process of peacebuilding which depends on different factors and social contexts, CSCD and networks have decided to organize the International Conference on Muslim Societies: Knowledge and Peacebuilding in Southeast Asia to open local perspectives concerning conflict resolution in other countries and sub-regions, including the Southern Philippines, Aceh in Indonesia, and Thailand. The core idea of the International conference is to bring together the lessons and thoughts of Southeast Asian academics concerning Islam and Muslim societies in order to build a platform for future cooperation between academics institutions and civil societies between Southeast Asian countries
 
It is expected that the experiences of guest speakers from international and national communities will greatly contribute to local insights on peace processes bringing about enhanced peacebuilding platforms for the southernmost region of Thailand.
 
 
Objectives of the conference
 
  1. Sharing and exchanging knowledge among Muslim and non-Muslim academics about Muslim dynamics in conflict areas.
  2. Generating debate on controversial topics and issues about conflict and peace from Islamic perspectives.
  3. Creating academic and Muslim intellectuals networks  in the region and Southeast Asia
 
Date /Time  / Venue
 
On September 30, 2015 at the Imam Al Nawawi Conference Hall, College of Islamic Studies, Prince of Songkla University, Pattani Campus
 
8.30 to 16.45 hrs.
 
Target groups
400 persons including academics, civil society, government officers and students
 
 
Joint Organizers
 
  1. AL-SALAM Institute, Fatoni University
  2. Center for Conflict Studies and Cultural Diversity (CSCD) Prince of Songkla University (PSU)
  3. Faculty of Political Sciences, (PSU)
  4. Peace Resource Collaborative (PRC), PSU
  5. Institute for Peace Studies (IPS), PSU
  6. College of Islamic Studies (CIS), PSU
  7. Deep South Watch (DSW), PSU
  8. People’s College (PC)
 
 
Tentative Conference Program
 
INTERNATIONAL CONFERENCE ON
 

TriPEACE via ASEAN Muslim Societies

ไตรสันติภาพบนเส้นทางสังคมมุสลิมอาเซียน

 
ON MUSLIM SOCIETIES, KNOWLEDGE AND
PEACEBUILDING IN SOUTHEAST ASIA
30 September, 2015
Imam al-Nawawi Conference Hall of International Islamic College, the College of Islamic Studies,
Prince of Songkla University (PSU), Pattani, Thailand
 
08.00 – 09.00 hrs.
Registration
09.00 – 09.05 hrs.
Introductory Remarks
Assistant Professor Srisompob Jitpiromsri, Ph.D.
Director, Center for Conflict Studies and Cultural Diversity
Prince of Songkla University, Thailand
09.05 – 09.15 hrs.
Opening Remarks
Associate Professor Imjit Lertpongsombat
Vice President of Prince of Songkla University, Thailand
09.15 – 09.30 hrs.
Introduction of Keynote Speakers
Assistant Professor Sukree Langputeh, Ph.D.
Vice President of Fatoni University, Thailand
09.30 – 10.00 hrs.
 
Keynote Speakers’ Presentations and Discussions:
 
Keynote 1
Professor Yusny Saby, Ph.D.
Former Rector  of Universitas Islam Negeri Al-Raniry, Aceh, Indonesia
10.00 – 10.30 hrs.
 
Keynote 2
Professor Macapado Abaton Muslim, Ph.D.
President of Mindanao State University, The Philippines.
10.30 – 11.00 hrs.
 
Keynote 3
Assistant Professor Ismail Lutfi Chapakiya, Ph.D.
Rector of Fatoni University, Thailand
11.00–  11:45 hrs.
Reflections:
Associate Professor Khairuddin Aljunied, Ph.D. Department of Malay Studies, National University of Singapore
Professor Datuk Dr. Osman Bakar, Sultan Omar ‘Ali Saifuddien Centre for Islamic Studies Universiti Brunei Darussalam
Associate Professor Abdul Razak Ahmad, Ph.D. National Defence University of Malaysia
11.45 – 12.00 hrs.
Signing Ceremony of the Memorandum of Understanding (MOU)
12:00 – 13.30 hrs.
Lunch/Prayer
13.30 – 15.00 hrs.
Paper presentations
 
Room A:  Al-Imam Al-Nawawi Conference Hall
 
Chairperson: Dr.Thunradee Taveekan.
Lecturer, Faculty of Management Sciences Prince of Songkla University
 
Presenters:
 
-  Conflict Resolution of Muslims in the Contemporary World: From Principles to the Tools
Ms. Yasmin Sattar,
Ph.D. candidate, Institute of Social Sciences, Political Science and International Relations, Istanbul University
 
- Islamophobia, Ignorance or the Miscommunication? The Response of Muslim Community to the Adhan Conflict in Phuket Thailand
Mrs. Oracha Rakdee,
Lecturer, Faculty of Political Science, Prince of  Songkla University, Thailand
 
- Basic Law and the Future of Socio-political Structure of Mindanao
Professor Asnawil G. Ronsing, Ph.D.
Dean of The King Faisol Center for Islamic, Arabic and Asian Studies Mindanao State University, Marawi, The Philippines
 
- Roles of Universities in Socio-political Development  in Post Tsunami
Dr. Muhammad Abdurrahman,
Deputy Dean Faculty Of Science & Technology UIN Ar-Raniry, Banda Aceh, Indonesia
 
Commentator: Dr. Muhammad Ilyas Yahprung,
Center for Asian Studies, Ramkhamheang University, Thailand
 
Room B: Examination Room, Floor 4
 
Chairperson: Assistant Professor Srisompob Jitpiromsri, Ph.D.
Director, Center for Conflict Studies and Cultural Diversity, Prince of Songkla University, Thailand
 
Presenters:
 
- Leadership Roles: Muslim Women in Three Southern Provinces of Thailand
Dr.Suthirus Choochuen,
Lecturer, Faculty of Political Science, Prince of  Songkla University
 
- Deliberative Democracy through Citizen Jury : The Case of the Administration in the Three Southernmost Provinces of Thailand
Assistant Professor Suthisak Duereh,
Ph.D. College of Islamic Studies, Prince of Songkla University
 
- Examining the Role of Islamic Finance in the Peacebuilding Process in Southernmost Provinces Thailand.
Dr.Tawat Noipom,
Lecturer, College of Islamic Studies, Prince of Songkla University
 
- Role of Business in Peacebuilding : A Preliminary Survey on the Southernmost Thailand
Mr.Aris Hassama
Lecturer, College of Islamic Studies, Prince of Songkla University
 
Commentator: Thanet Arpornsuwan
Emeritus Professor of Thammasat University, Pridi Banomyong International College, Thammasat University
 
Poster Presentations
 
- When Halal becomes Politics
Mrs. Surainee Sainui,
Lecturer, Faculty of Political Science, Prince of  Songkla University
 
-Muslim Women in Deadly Conflict: Healers in Violence
Ms. Thanyatorn Saipanya,
Lecturer, Faculty of Political Science, Prince of  Songkla University
 
-Trust and Peacebuilding in Deep South, Thailand
Ms. Suwara Kaewnuy,
Lecturer and Researcher, Center for Conflict Studies and Cultural Diversity, Prince of  Songkla University
 
-The Role of Civil Society Organizations  in the Mindanao Peace Process
Mrs.Fareeda Panjor,
Lecturer and Researcher, Center for Conflict Studies and Cultural Diversity, Prince of  Songkla University
 
- Political Movement under Democratic System of Muslim in Southeast Asia : Choice for Getting into Power by Using Nonviolence
Mr.Imron Sahoh,
Master student, Institute for Peace Studies, Prince of  Songkla University
15.00 – 16:30 hrs.
Special Discussion on “Practical Knowledge in Conflict Area”
 
Speakers:
Mr. Mathus Anuvatudom, King Prajadhipok's Institute
Mrs. Soraya Jamjuree, Office of Extension and Continuing Education, Prince of Songkla University / Women Networks for Peace in Southern Thailand
Mr. Wae-isma-ael Naesae, People’s College
Ms. Ngamsuk Rattanasatain, Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University 
 
Moderator : Mr. Romadon Panjor, Deep South Watch
16.30 – 16.45 hrs.
Closing Remarks
Professor Kanok Wongtrangan, Ph.D.
Advisor to the Director, College of Islamic Studies, Prince of Songkla University (PSU), Pattani
 
Remark: Interpretation is available throughout

 

Event date

Event place