Skip to main content
ทวีศักดิ์ ปิ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้(DSJ)
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์หมอควันไฟจากประเทศอินโดนีเซียที่เข้ามาปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง เริ่มเบาบางลงแล้ว ในขณะที่จังหวัดสตูล ซึ่งได้รับผลกระทบจากควันไฟหนาแน่นมากที่สุด ทางกรมควบคุมมลพิษ ได้เร่งนำรถตรวจสภาพอากาศเคลื่อนที่ หรือรถโมบาย 2 คันไปติดตั้ง เพื่อทำการตรวจสภาพอากาศของจังหวัดสตูล       
 
นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ ฝังตะวันออก เปิดเผยว่า จากกรณีไฟจากเหตุไหม้ป่าหลายจุดบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดควันไฟเป็นจำนวนมาก และถูกลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดพาควันไฟดังกล่าวเข้ามาปกคลุมพื้นที่ในภาคใต้เป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกเกิดฟ้าหลัว อันเนื่องมาจากมีฝุ่นละอองที่เกิดจากหมอกควัน ทำให้ไม่สามารถมองเห็นในระยะไกลได้ แต่ยังไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
 
นายวันชัย เปิดเผยว่า ช่วงนี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีกำลังแรงทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย จึงพัดพาควันไฟเข้ามาในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะจังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองวัดได้ ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นค่าปกติ ไม่น่าจะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก แต่อาจมีผลกับบุคคลในกลุ่มเสียง จำพวกโรคทางเดินหายใจ โรคหอบหืด เป็นต้น
 
นายปัญญาศักดิ์ โสภณวสุ หัวหน้าศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ในพื้นที่จังหวัดปัตตานียังไม่ได้รับผลกระทบจากควันไฟดังกล่าว เนื่องจากลมมรสุมที่พัดพาจากฝั่งตะวันออกมาไม่ถึงปัตตานี มีเพียงหมอกควันเล็กน้อยยังไม่ถึงขั้นอันตราย
 
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ออกประกาศ เรื่อง แจ้งเตือนสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยว่า ดาวเทียม NOAA-18 ลมพัดจากบริเวณที่มีจุดความร้อน ซึ่งเกิดจากการเผ่าไหม้ป่าในเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 274 จุด พัดมายังทิศตะวันตกของประเทศมาเลเซีย และประเทศไทยด้านจังหวัด สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส ทำให้มีหมอกควันปกคลุมจำนวนมาก โดยเฉพาะจังหวัดสตูล ซึ่งหมอกควันดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยเป็นอย่างมาก
 
ประกาศดังกล่าว ระบุต่อไปว่า แม้ว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ ภาคใต้ที่ตรวจวัดได้ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) แต่เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงควรปฏิบัติตน ดังนี้
1. ใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดๆปิดจมูกและปาก ในกรณีที่อยู่ในบริเวณที่มีหมอกควันเป็นจำนวนมาก
2. ปิดหน้าต่าง ประตูเพื่อ ป้องกันไม่ให้ฝุ่นควันเข้าบ้าน
3. ไม่อยู่ในบริเวณที่มีหมอกควัน ปกคลุม โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก คนชรา ผู้ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ หอบหืด
4 ผู้เป็นโรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคปอด เด็ก คนชรา ควรพักพ่อนอยู่ในบ้าน
5.เมื่อมีอาการผิดปกติหลังจากสูดลมหมอกควัน ควรรีบพบแพทย์โดยทั้งที่
6.งดเว้นการสูบบุหรี่และควรดื่มน้ำบ่อยๆ ในช่วงที่มีฝุ่นควันรบกวน
7.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายและการทำงานที่ต้องออกแรงมากในบริเวณที่มีฝุ่นควันรบกวน
8. งดการรองรับน้ำฝนไว้ใช้อุปกรณ์บริโภคชั่วคราว แต่ถ้าหากจำเป็นต้องรองน้ำควรปล่อยให้ฝนตกลงมาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนรองน้ำไว้ใช้
 

           ประกาศดังกล่าว ยังขอความรวมมือจากประชาชนให้ลดและงดการเผาในที่โล่งทุกประเภท เพื่อลดฝุ่นละอองจากแหล่งกำเนิดในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้สถานการณ์หมอกควันจากอินโดนีเซีย มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น