Skip to main content

ยารีนา กาสอ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)

 

 

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2554 ที่โรงเรียนเทศบาล 5 ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี นายทวีศักดิ์ ดาโอะ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ จังหวัดปัตตานี เป็นประธานกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ มีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 150 คน

 

นางอาตีก๊ะ จรัลศาส์น ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 30 จังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ปัญหาการค้ามนุษย์วิวัฒนาการมาจากการล่อลวงหลายรูปแบบ เช่น ล่อลวงนำไปค้าประเวณี ส่งไปขายแรงงานหรือค้าประเวณีนอกราชอาณาจักร การบังคับใช้แรงงานด้วยการนำมาทำงานบริการ หรือเป็นขอทาน การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบในรูปแบบต่างๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษา สภาพภูมิอากาศ การเคลื่อนย้ายแรงงานที่ไม่ปลอดภัย และค่านิยมต่าง ส่งผลให้เกิดองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติมากขึ้น

 

นางอาตีก๊ะ กล่าวต่อไปว่า สถานที่ที่เกิดการค้ามนุษย์บ่อยครั้ง ได้แก่ ชายแดน ท่ารถ หรือท่ายานพาหนะ เป็นต้น สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเพียงทางผ่านของการค้ามนุษย์ ไปยังประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และอื่นๆ ปัจจุบันการล่อลวงมาในรูปแบบแปลกใหม่มากขึ้น ปัญหาการค้ามนุษย์ส่วนใหญ่ เกิดจากค่านิยม บริโภคนิยม และกระบวนเลียนแบบดารานักแสดง

 

“การกระทำที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์คือ เป็นธุระจัดหาซื้อขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็ก สำหรับเด็กสมัครใจค้าประเวณี โดยไม่มีผู้เป็นธุระจัดการ ไม่ถือว่าเป็นการค้ามนุษย์ แต่เข้าข่ายกระทำความผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ถ้าหากผู้หญิงหรือผู้ชายถูกล่อลวง บังคับขู่เข็ญให้ค้าประเวณีโดยไม่สมัครใน เข้าข่ายการค้ามนุษย์ โดยผู้ค้ามนุษย์ ต้องระวางโทษต่ำสุดตั้งแต่ 4 – 15 ปี ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทถึง 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ที่ถูกล่อลวงสามารถแจ้งเบาะแสผ่านศูนย์ประชาบดี หมายเลขโทรศัพท์ 1300” นางอาตีก๊ะ กล่าวนาย์ย์ยยยย