Skip to main content

ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)

 

เมื่อเวลา 10.00–12.00 น. วันที่ 31 สิงหาคม 2554 ที่ห้องสงขลา 1 โรงแรม บี.พี. สมิหลาบีช อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา นายพิรสิญจ์ พันธุ์เพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมคณะกรรรมการศึกษาผลดีผลเสียของการดำเนินงานโครงการศึกษาการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อย ครั้งที่ 2/2554 โดยมีคณะกรรรมการฯ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าร่วมปประมาณ 50 คน

นายพิชญา เพิ่มทอง หัวหน้ากองปฏิบัติการสำรวจ หัวหน้าโครงการพัฒนาเหมืองสะบ้าย้อย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รายงานต่อที่ประชุมว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาผลดีและผลเสียของการดำเนินงานโครงการศึกษาการมีส่วนร่วมการพัฒนาแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อย โดยมีประชาชนจากทุกภาคส่วน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมเป็นคณะกรรมการ มีหน้าที่ชี้แจง ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าใจกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อขอฉันทามติจากประชาชนในพื้นที่ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เข้าไปศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการพัฒนาแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อย จากนั้นให้รายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานทราบ

นายพิชญา รายงานด้วยว่า หลังจากศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชนในพื้นที่ พร้อมกับให้มีการประชุมคณะกรรมการศึกษาผลดีผลเสียของการดำเนินงานโครงการศึกษาการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อยระดับจังหวัดทุก 4 เดือนเพื่อติดตามความก้าวหน้าของงาน

นายพิชญา รายงานอีกว่า ระหว่างปี 2554–2555 กฟผ.จัดงบประมาณเพื่อการศึกษาเหมืองลิกไนต์สะบ้าย้อย 20 ล้านบาท จัดงบประมาณเพื่อชุมชน ประมาณ 4 ล้านบาท ถ้าผลการศึกษาแล้วเสร็จ และชุมชนตัดสินใจจะพัฒนาโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีงบประมาณเพื่อชุมชนปีละ 50 ล้านบาท เป็นเวลา 25 ปี จะรับผู้มีความรู้ความสามารถและแรงงานในท้องถิ่นมาทำงาน จ่ายเงินภาษีบำรุงท้องที่ตามที่รัฐกำหนด และเปิดให้ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของโดยลงทุนในรูปแบบสหกรณ์ท้องถิ่น

“ชาวบ้านในพื้นที่ติดมองถ่านหินเป็นเรื่องอันตราย บวกกับกระแสการต่อต้านพลังงานถ่านหิน ที่จังหวัดสมุทรสาคร รวมทั้งกระแสต่อต้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในภาคใต้ของคนใต้ ในแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ทำให้คณะกรรมการฯ ต้องทำงานหนักขึ้น” นายพิชญา กล่าว

นายนิรุทร บัวอ่อน ปลัดอาวุโส อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา รายงานต่อที่ประชุมว่า เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาได้ลงนาม ในหนังสือที่ สข 0016.2/ว3971 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรรมการศึกษาผลดีผลเสียของการดำเนินงานโครงการศึกษาการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อยระดับอำเภอ จากนั้น วันที่ 19 สิงหาคม 2554 มีการจัดประชุมคณะกรรรมการฯ ระดับอำเภอ ที่ห้องประชุมอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ผลการดำเนินโครงการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตำบลทุ่งพอ และตำบลใกล้เคียง อำเภอสะบ้าย้อย มีการชี้แจงประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ กลุ่มผู้นำศาสนา ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนชาวบ้านหมู่ละ 6 คน และกลุ่มข้าราชการ ผู้นำชุมชน สาธรณสุข ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เป็นต้น

มีบางคนที่ทางอำเภอเสนอชื่อไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาแต่งตั้ง เป็นคณะกรรมการฯ ระดับอำเภอ ตอบปฏิเสธที่จะเข้าเป็นคณะกรรมการฯ ระดับอำเภอ เกรงจะถูกมองในแง่ลบว่า ไปสนับสนุนการสำรวจเหมืองหิน ที่ถูกชาวบ้านต่อต้าน” นายนิรุทร กล่าว

 

.......................

 

คำสั่งจังหวัดสงขลา

ที่ 2197/2554

เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาผลดีและผลเสียของการดำเนินงานโครงการศึกษาการมีส่วนร่วมการพัฒนาแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อย

……………………………………………………………

 

            ตามที่จังหวัดสงขลา ได้มีประกาศจังหวัดเรื่อง คณะกรรมการศึกษาผลดีผลเสียของการดำเนินงานโครงการศึกษาการมีส่วนร่วมการพัฒนาแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อย ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 เพื่อศึกษาถึงผลดีและผลเสียของการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ จากแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อย นั้น

            ในการนี้ เพื่อได้การศึกษาผลดีผลเสียของการดำเนินงานโครงการศึกษาการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อย ดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ จึงขอประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาผลดีผลเสียของการดำเนินงานโครงการศึกษาการมีส่วนร่วมการพัฒนาแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อยระดับอำเภอ ดังมีรายนาม ดังนี้

 

1.คณะกรรมการที่ปรึกษา

1.1 นายอาสัน สะแลมัน กรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา

1.2 นายบัญญัติ หมินเส็น ประธานอิสลามประจำอำเภอสะบ้าย้อย

1.3 นายสำนึก เดินพรหม ปราชญ์ชาวบ้านตำบลคูหา

1.4 นายมูฮัมหมัด สะหัด ปราชญ์ชาวบ้านตำบลทุ่งพอ

1.5 นายวิรุณ โจถาวร ปราชญ์ชาวบ้านตำบลสะบ้าย้อย

1.6 นางณัฐทินี ทิพย์มนตรี ปราชญ์ชาวบ้านตำบลเขาแดง

1.7 นายดือรานิง สาเม๊าะ ปราชญ์ชาวบ้านตำบลจะแหน

1.8 นายมูฮัมหมัด การ์เด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

1.9 นายศราวุธ โส๊ะ นักวิชาการ

1.10 นายบัญชา สมบูรณ์สุข นักวิชาการ

 

2.คณะกรรมการดำเนินงาน

2.1 นายอำเภอสะบ้าย้อย                            ประธาน

2.2 ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครองอำเภอสะบ้าย้อย  รองประธาน

2.3 นายกเทศมนตรีตำบลสะบ้าย้อย                          กรรมการ

2.4 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอ                   กรรมการ

2.5 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะแหน                 กรรมการ

2.6 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา                     กรรมการ

2.7 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะบ้าย้อย              กรรมการ

2.8 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแดง                 กรรมการ

2.9 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย                  กรรมการ

2.10 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี                 กรรมการ

2.11 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเปียน                  กรรมการ

2.12 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด            กรรมการ

2.13 กำนันตำบลทุ่งพอ                                          กรรมการ

2.14 กำนันตำบลจะแหน                                        กรรมการ

2.15 กำนันตำบลคูหา                                            กรรมการ

2.16 กำนันตำบลสะบ้าย้อย                                     กรรมการ

2.17 กำนันตำบลเขาแดง                                        กรรมการ

2.18 กำนันตำบลบาโหย                                         กรรมการ

2.19 กำนันตำบลธารคีรี                                          กรรมการ

2.20 กำนันตำบลเปียน                                           กรรมการ

2.21 กำนันตำบลบ้านโหนด                         กรรมการ

2.22 โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดบ้านโคกสิเหรง               กรรมการ

2.23 โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดปลักไม้ไผ่                    กรรมการ

2.24 โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดบ้านสาไหน (สนี)           กรรมการ

2.25 โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดดารุลนาอีม                   กรรมการ

2.26 โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดดารุลอามาน                  กรรมการ

2.27 โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดยามาอาตุลคอยรียะห์      กรรมการ

2.28 โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดดารุสลาม                     กรรมการ

2.29 โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดบ้านบาว                       กรรมการ

2.30 โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดเมาะลาแต                    กรรมการ

2.31 โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดอาบาดาดีมะมุด              กรรมการ

2.32 ผู้แทนพลังงานจังหวัดสงขลา                            กรรมการ

2.33 ผู้แทนอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา                      กรรมการ

2.34 ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา           

กรรมการ

2.35 เจ้าพนักงานที่ดินอำเภอสะบ้าย้อย                      กรรมการ

2.36 นายสุวินัย หมินเจ๊ะเก๊ะ  ปราชญ์ชาวบ้าน  กรรมการ

2.37 นายณรงค์ศักดิ์ วิเซษฐ์พันธุ์ ที่ปรึกษากฟผ.          กรรมการ

2.38 นายพิชญา เพิ่มทอง หัวหน้ากองปฏิบัติการสำรวจ หัวหน้าโครงการพัฒนาเหมืองสะบ้าย้อย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)                          กรรมการ

2.39 นางรจนา พูลสวัสดิ์ ปลัดอำเภอ             เลขานุการและกรรมการ

2.40 นายไททัศน์ รัตนี ปลัดอำเภอ                           ผู้ช่วยเลขานุการและกรรมการ

2.41 เจ้าหน้าที่กฟผ.                                             ผู้ช่วยเลขานุการและกรรมการ

 

3.คณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาชน

3.1 นายกุศล ขุนดำ  สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา  ผู้ประสานงาน

3.2 นายแวยูโสะ  มะเซ็ง                กรรมการ

3.3 นายตอเละ โนมานิ๊                   กรรมการ

3.4 นายมูซอ โต๊ะเฉาะ                   กรรมการ

3.5 นายมะยูโสะ หมัดชูดชู             กรรมการ

3.6 นายรอหีม เด็นมานิ๊                  กรรมการ

3.7 นายสะรี เดิมดอล่า                   กรรมการ

3.8 นายอับดลรอนี เจะหมะ กรรมการ

3.9 นายศักดิ์ฐานันท์ เปี่ยมใจจิ         กรรมการ

3.10 นายหวังขะเด เกือสิตี              กรรมการ

3.11 นายแวสะมะแอ อเซ็งมะเกะ     กรรมการ

3.12 นายมะยาลี หมันน๊ะ                กรรมการ

3.13 นายเจะอะ มะเกะ                   กรรมการ

3.14 นายอาลี มุโดะ                      กรรมการ

3.15 นายอับดุลรอเสะ ลีสะ             กรรมการ

3.16 นายอับดลรอเสะ มะถาวร        กรรมการ

3.17 นายอามาตย์ มันปุ                 กรรมการ

3.18 นายตอเละ ดอแนเลาะ            กรรมการ

3.19 นายพิทยา ตอหอ                  กรรมการ

3.20 นายมะแอ จิสา                      กรรมการ

3.21 นายอับดลเล๊าะ บาหามะ          กรรมการ

3.22 นายมะลาเซ็ง มะเซ็ง              กรรมการ

3.23 นายอิสหามะ บาหมัด             กรรมการ

3.24 นายอับดลอาซิ ใบเย็มหมะ      กรรมการ

3.25 นายมะซือดี ดาลี                   กรรมการ

3.26 นายเจะโก ดาลี                     กรรมการ

3.27 นายซอมะ มะมูสอ                 กรรมการ

3.28 นางสาวรอกีเย๊าะ ใบเย็มหมะ    กรรมการ

3.29 นายยะโกะ หมะสมาน กรรมการ

3.30 นายการีม หมะสมาน              กรรมการ

3.31 นายมะแอ หมันเล๊ะ                กรรมการ

3.32 นายนาวี อะลีหะ                    กรรมการ

3.33 นายมะฮาหมัดบูคอรี และมุสอ  กรรมการ

3.34 นายหะมิ อะลีหะ                   กรรมการ

3.35 นางสาวรอมือละ กะเส็มมิ        กรรมการ

3.36 นางสาวฮายาตี นิอาลี             กรรมการ

3.37 นายอับดลการีม และปายัง       กรรมการ

3.38 นายประกอบ ศรีทวีป              กรรมการ

3.39 นายพิเชษ ทองนุ้ย                 กรรมการ

3.40 นายชัย เพชรเป็นขวัญ            กรรมการ

3.41 นายสมปอง สองสีทอง            กรรมการ

3.42 นายวิเชียร จันท์สุข                กรรมการ

3.43 นายวินัย เกี่ยวม่าน                 กรรมการ

3.44 นายหวันดอเล๊าะ กายียุ           กรรมการ

3.45 นายบาเหม สีบู                      กรรมการ

3.46 นางสาวฮาปีเย๊าะ โต๊ะหัด         กรรมการ

3.47 นายอนันต์ อุตสาห์ราชการ       กรรมการ

3.48 นายอับดุลตอพา ปุเต๊ะ            กรรมการ

3.49 นายเจะอะ ดอได้หมะ             กรรมการ

 

โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1.กำหนดกรอบการทำงานร่วมกับกฟผ. ในเรื่องชี้แจงการประชาสัมพันธ์ ทำความรู้ ความเข้าใจกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อขอฉันทามติจากประชาชนในพื้นที่ในการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)

2.พิจารณาหาข้อสรุปซึ่งเป็นที่ยุติของประชาชนในพื้นที่ในเรื่องการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของการพัฒนาแหล่งลิกต์ไนต์สะบ้าย้อย และรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการศึกษาผลดีผลเสียของการดำเนินงานโครงการมีส่วนร่วมการพัฒนาแหล่งลิกไนต์สะบ้าย้อยระดับอำเภอ

3. มีส่วนร่วมในการพิจารณาข้อเสนอแนะ และติดตามประเมินผลการทำงานโครงการทุกขั้นตอน

4. พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของกรรมการได้ตามความเหมาะสม

5. ดำเนินการอื่นใด ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลามอบหมาย

อนึ่ง สำหรับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติของคณะกรรมการฯ อนุกรรมการ คณะทำงาน และการจัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้เบิกจ่ายจากการไฟฟ้าฝ้ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป

 

สั่ง ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

 

 

(นายวิญญู ทองสกุล)

ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา