Skip to main content

 

mso-bidi-language:TH"> color:red;mso-bidi-language:TH">

จี้ – ที่ประชุมสภาประชาสังคมชายแดนใต้ กำหนด 7 ประเด็นปัญหาเร่งด่วน เสนอรัฐบาลเร่งแก้ไข

mso-bidi-language:TH">

 

 เมื่อเวลา 09.30 – 15.00 น. วันที่ 24 กันยายน 2554 ที่ห้องมะปราง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีการประชุมสภาประชาสังคมชายแดนใต้ร่างยุทธศาสตร์และนโยบาย แผนงานโครงการสภาประชาสังคมชายแดนใต้: เพื่อการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงนโยบาย เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรและสังคมชายแดนใต้ เพื่อรับงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) รวมถึงพิจารณาร่างสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา

ในการนี้ ที่ประชุมสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและประเด็นเร่งด่วนเสนอต่อรัฐบาล 7 ข้อ ประกอบด้วย 1.ความยุติธรรม ซึ่งที่ประชุมเห็นควรให้ยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งเปิดพื้นที่สาธารณะให้ชาวบ้านได้จัดกิจกรรมต่างๆ และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ 2.การกระจายอำนาจด้านการเมืองการปกครอง 3.ให้มีการใช้ภาษามลายูเป็นภาษาทำงาน ร่วมกับภาษาไทย เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในอีก 4 ปีข้างหน้า 4. เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติด 5.เร่งพัฒนาศัพยภาพภาคประชาสังคมชายแดนใต้ 6.หยุดความรุนแรงทางตรง ด้วยการพูดคุยสร้างสันติภาพเพื่อให้เกิดการหยุดยิง 7.เจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ทำงานในพื้นที่ ควรเรียนรู้วัฒนธรรมของคนในสามจังหวัดชายแดนใต้มากขึ้น

เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเด็นเร่งด่วนทั้งหมด ตรงกับประเด็นขับเคลื่อนงานของสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นจังหวัดชายแดนใต้ ที่มีอยู่ TH">6 ประเด็นคือ ยุติธรรมสมานฉันท์ ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ (กระจายอำนาจ) อัตลักษณ์ความหลากหลายและการอยู่ร่วมกัน เข้าร่วมปฏิบัติการตามนโยบายรัฐบาล จังหวัดชายแดนใต้ กับ ASEAN ประเด็นอื่นๆ เช่น เยาวชน ทรัพยากรลุ่มน้ำ ความปลอดภัย โดยสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นจังหวัดชายแดนใต้ จะเน้นขับเคลื่อนประเด็นยุติธรรมสมานฉันท์ ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ (กระจายอำนาจ) และอัตลักษณ์ความหลากหลายเป็นประเด็นหลัก เพราะเงื่อนไขสำคัญในการยุติความรุนแรง

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมสภาประชาสังคมชายแดนใต้ยังได้เสนอให้แต่งตั้งที่ปรึกษาเพิ่มเติมอีก 6 คน ประกอบด้วย นายจำนงค์ จิตรนิรัตน์, นายอนันตชัย ไทยประทาน, ผศ.สุกรี หลังปูเต๊ะ, นายยะโก๊บ หร่ายมณี นายดือราแม มะมิงจิ และนายเซ็ง ใบหมัด

ก่อนหน้านี้ สภาประชาสังคมชายแดนใต้ได้แต่งตั้งที่ปรึกษาไปแล้วจำนวนหนึ่ง ประกอบด้วย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, นายวรรณชัย ไตรแก้ว, พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีสถาบันพระปกเกล้า, พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง นายพงศ์พันธ์ ชัยเศรษฐ์สัมพันธ์ mso-bidi-language:TH"> นักการศึกษาอาวุโส, ดร.เมตตา กูนิง จากศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก
เหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี mso-bidi-language:TH">, ดร.อับดุลรอนิง สือแต วิทยาลัยอิสลามศึกษา mso-bidi-language:TH">มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

นางนูร์ยีลัน บิลหะยีอาบูบากา mso-bidi-language:TH">, นายมัสลัน มาหะมะ TH"> จากสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา mso-bidi-language:TH">, ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี mso-bidi-language:TH"> จากสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรม จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี mso-bidi-language:TH">, นายดือราแม ดาราแม mso-bidi-language:TH">จากองค์กรชาวบ้านพิทักษ์ลุ่มน้ำสายบุรี และนายสุพจ จริงจิตร บรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้

ทั้งนี้ สมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นจังหวัดชายแดนใต้ได้เสนอเพิ่มอีก 5 คน ประกอบด้วย นายเสกสรรค mso-bidi-language:TH">์ ประเสริฐกุล, ดร.สุรชาติ บำรุงสุข, ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว, นางจีราพร บุนนาค และนายพิรุณ ฉัตรวนิชกุล