Skip to main content

 นูรยา เก็บบุญเกิด โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้(DSJ)

TH">

 

         pbwatch

 

TH">เมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. – 17. mso-bidi-language:TH">30 น. วันที่ 27 ตุลาคม 2554 ที่สำนักงานพิพิธภัณฑ์ประวัติ background:white">ธรรมชาติท้อ TH">งถิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีการประชุมคณะทำงาน TH">Pattani Bay Watch (PB Watch) เพื่อเตรียมรับมือภัยพิบัติ

นายดนยา สะแลแม คณะทำงานโครงการ mso-bidi-language:TH">PB Watch แจ้งต่อที่ประชุมว่า วันที่ 31 ตุลาคม 2554 โครงการ PB Watch จะจัดอบรมวิทยุสื่อสารสมัครเล่นกับแกนนำชุมชนรอบอ่าวปัตตานี ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ เมื่อปี 2553 รวม 6 ชุมชน ประกอบด้วย หมู่บ้านดาโต๊ะ 2 คน หมู่บ้านบูดี 2 คน หมู่บ้านบางปลาหมอ 2 คน หมู่บ้านบางตาวา 2 คน หมู่บ้านตันหยงลุโละ 2 คน และบ้านปาตาบูดี 2 คน พร้อมด้วยกลุ่มผู้ใช้วิทยุสมัครเล่นในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 20 คน และคณะทำงานโครงการ PB Watch โดยจะอบรมที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดยมีนายปัญญศักดิ์ สุวรรณวสุ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี เป็นวิทยากร

นางลม้าย มานะการ คณะทำงานโครงการ mso-bidi-language:TH">PB Watch แจ้งต่อที่ประชุมว่า วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 ทาง PB Watch จะเชิญแกนนำชุมชน และหน่วยงานราชการในจังหวัดปัตตานี มาร่วมประชุมถอดบทเรียนเหตุการณ์ภัยพิบัติ เมื่อปี 2553 เพื่อนำมาวางแผนรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

วันเดียวกันนี้ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้ออกประกาศฉบับที่ 5 ระบุว่าฝนจะตกหนักบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก อาจจะเกิดจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ระหว่างวันที่ 27–31 ตุลาคม 2554 เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนหนักถึงหนักมากในบางแห่ง

ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ระมัดระวังอันตราย สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ความสูงของคลื่นประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นอาจจะสูงมากกว่า 2 เมตร จึงขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังในช่วงเวลาดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2554 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนชลประทานปัตตานีได้ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนชลประทานปัตตานีลงสู่ทะเล หลังจากมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง จนกรมอุตุนิยมวิทยาออกมาแจ้งเตือนว่า ห้วงปลายเดือนตุลาคม mso-bidi-language:TH"> mso-bidi-language:TH">2554 ไปจนถึงเดือนธันวาคม 2554 จะเกิดมรสุมและมีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง mso-bidi-language:TH">ให้ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

ส่งผลให้ประชาชน mso-bidi-language:TH">และร้านค้าต่างหาซื้ออิฐนำมากั้นป้องกันน้ำท่วม ขณะเดียวกันทางจังหวัดปัตตานีก็ได้วางมาตรการป้องกัน ตลอดจนวางระบบเขื่อน, ชลประทาน, ฝายกันน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำท่วมด้วยเช่นกัน

นายอนุรักษ์ ธีระโชติ mso-bidi-language:TH"> ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนชลประทานปัตตานี กล่าวว่าสาเหตุที่เขื่อนชลประทานปัตตานีปล่อยน้ำ เป็นการพร่องน้ำที่กักเก็บอยู่ในเขื่อนลงสู่ทะเล เพื่อเตรียมพื้นที่ไว้รองรับปริมาณน้ำฝนและน้ำเหนือเขื่อนบางลาง จ mso-bidi-language:TH">ังหวัดยะลา ในช่วงเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม 2554 หลังจากนี้เขื่อนชลประทานปัตตานี จะยังคงพร่องน้ำอีกเพื่อกดปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ในเขื่อน ให้ลดลงเหลือ 10.50  เมตร เพื่อวางแผนรองรับน้ำฝนที่จะตกลงมา การพร่องน้ำจะไม่มีผลกระทบกับพื้นที่ต่างๆ ขอให้ประชาชนติดตามรับฟังประกาศข่าวสารของทางราชการอย่างใกล้ชิด และอย่าหลงเชื่อข่าวลือ

mso-bidi-language:TH">ทั้งนี้ เวลา mso-bidi-language:TH">13.30 น. วันที่ 28 ตุลาคม 2554 นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้จัดประชุมติดตามสถานการณ์อุกทกภัยในจังหวัดสงขลา ที่ศูนย์อุตุนิยมภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดสงขลา