นูรยา เก็บบุญเกิด โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้(DSJ)
นางนฤมล สาและ ชาวบ้านชุมชนบ้านปาตาบูดี
เมื่อเวลา mso-bidi-language:TH">09.00 น.–16.30 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดปัตตานี โครงการการพัฒนาศักยภาพกลไกชุมชนและเครือข่ายทางสังคม เพื่อการจัดการสาธารณภัย กรณีศึกษาอ่าวปัตตานี (PB Watch) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “ครบรอบ 1 ปี พายุดีเปรสชั่น และปัตตานีโมเดล–ตัวแบบการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ–น้ำต้องไม่ท่วม” เปิดประชุมโดยนายเสรี ศรีหะไตร รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี มีตัวแทนจากชุมชนรอบอ่าวปัตตานีที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติเมื่อปี 2553 ตัวแทนหน่วยงานราชการ ตัวแทนภาคประชาชน อาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมประมาณ 100 คน
นางนฤมล สาและ ชาวบ้านชุมชนบ้านปาตาบูดี นำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยว่า ทางกลุ่มเห็นว่า สิ่งที่ควรเตรียมพร้อมก่อนภัยจะมาคือ ทีมงานที่ประกอบด้วย ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ เยาวชน สตรี นักวิชาการหรือปราชญ์ชาวบ้าน color:#222222;background:white"> อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน mso-bidi-language:TH"> color:#222222;background:white;mso-bidi-language:TH">( mso-bidi-language:TH">อพ.ปร.) ชุดรักษาหมู่บ้าน (ชรบ.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้า TH">น (อสม.) และเจ้าหน้าที่สาธารณภัย mso-bidi-language:TH">
นางนฤมล นำเสนอต่อไปว่า ทีมงานควรมีอุปกรณ์สื่อสาร ประกอบด้วย วิทยุ โทรโข่ง กลอง นกหวีด กรณีที่เกิดไฟฟ้าดับอาจใช้เสียงแตรรถยนต์เป็นเสียงเตือนภัย ต้องเตรียมเครื่องปั่นไฟ เทียน เชื้อเพลิง น้ำมัน ตะเกียง และเตรียมเครื่องสูบน้ำ รองรับเหตุการณ์น้ำท่วม ทั้งนี้อาจใช้อินเตอร์เน็ตสื่อสารกับภายนอกอีกช่องทางหนึ่งด้วย และควรสื่อสารผ่านหอกระจายข่าว เสียงตามสาย มัสยิด โรงเรียน ร้านน้ำชา mso-bidi-language:TH">
“นอกจากนี้ ควรเตรียมสถานที่อพยพ จัดทำแผนที่ชุมชน แยกเป็นพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่เสี่ยง จัดเตรียมเสบียงเครื่องนุ่มห่ม อาหาร ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม เครื่องครัว นมผมผงเด็ก และน้ำมันทอด รวมถึงต้องจัดเตรียมเวชภัณฑ์ ยารักษาโรค โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และควรมีสุขาลอยน้ำ หรือสุขาพลาสติก” นางนฤมล กล่าว
นายซอและ มะสอลา นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยว่า สำหรับพื้นที่ที่เกิดดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก ถ้ามีการเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติที่ดี จะช่วยให้ปัญหาลดลงได้ การขุดคลองจะช่วยให้น้ำเดินเร็วขึ้น แต่หากน้ำท่วมก็ควรมีพื้นที่ให้สัตว์อาศัยด้วย ทั้งยังต้องเตรียมเรือพร้อมเครื่องยนต์ไว้ จะได้นำมาใช้เรือเป็นพาหนะในช่วงน้ำท่วมได้ ควรเตรียมเลื่อยไว้เลื่อยต้นไม้ ที่ล้มขวางเส้นทางสัญจร เพื่อเปิดเส้นทางให้สัญจรได้สะดวกขึ้น mso-bidi-language:TH">
“ควรจัดตั้งคณะทำงานหรืออาสาสมัคร ที่ผ่านการอบรมและเตรียมแผนรับมือ ซึ่งควรแบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ เช่น อสม.ก็ควรรับผิดชอบดูแลเรื่องสุขภาพ ชรบ.ก็ควรจะดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้านทั้งชีวิตและทรัพย์สิน หรือผู้ใหญ่บ้านก็ควรทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่ต้องการเข้าช่วยเหลือชุมชน และควรเตรียมเครื่องครัว เพื่อประกอบอาหารที่ครัวกลาง” นายซอและ กล่าว