ครูชายแดนใต้ ยังตกเป็นเหยื่อความไม่สงบ ถกทำแผนซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่มาตรการรักษาความปลอดภัยยังมีช่องโหว่ ทหารยังต้องเพิ่มกำลังดูแล
ปัง ปัง ปัง... !
สิ้นเสียงปืนรัว ร่างครูก็ร่วงลงกองบนพื้น รถยนต์มีแต่รูพรุน ผู้บาดเจ็บร้องโอดโอย กลุ่มชายฉกรรจ์ในเครื่องแบบผู้ลั่นไก ก็หนีไป
ไม่ทันเจ้าหน้าที่ตัวจริงจะมาถึง ชาวบ้านก็ช่วยประคองร่างเหยื่อส่งโรงพยาบาลไปแล้ว จากนั้นก็เป็นภารกิจของหลายหน่วยงาน ส่วนพวกเพื่อนครูและนักเรียนเรียนก็ขวัญผวาตามๆ กันไป
ภาพความโกลาหลเช่นนี้ มีมาตลอด 7 ปีต่อเนื่องกันของความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยครูตกเป็นเป้าหมายหนึ่งที่ถูกหมายเอาชีวิต
แต่ครูก็ยังต้องอยู่ในพื้นที่ต่อไป
เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นกับครู เกิดขึ้นเมื่อช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 เมื่อคณะครูโรงเรียนบ้านละหาน ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส 11 คน ถูกกลุ่มคนร้ายดักยิงถล่มด้วยอาวุธสงครามบริเวณสามแยกเปาะลามะ หมู่ที่ 2 ตำบลรือเสาะออก อำเภอรือเสาะ ขณะเดินทางกลับบ้านด้วยรถยนต์ 2 คัน
ครั้งนี้ มีครูได้รับบาดเจ็บ 5 คน สาหัส 3 ราย หนึ่งในนั่น คือ นายสิทธิชัย วรรณจิตจรูญ อายุ 51 ปี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านละหาน
วันรุ่งขึ้น โรงเรียนบ้านละหานประกาศหยุดสอนทันที 1 วัน ตามมาด้วยกลุ่มโรงเรียนสุวารี-สามัคคีรวม 8 โรงเรียนประกาศหยุดการเรียนการสอนชั่วคราวเป็นเวลา 10 วัน หรือจนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2554
ขณะที่นายฮานาปี แวมิง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดือแลหะยี ตำบลสุวารี ในฐานะประธานกลุ่มโรงเรียนสุวารี-สามัคคี พร้อมผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครูในอำเภอรือเสาะ 40 โรงเรียน ประมาณ 300 คน รวมกันตัวกันที่อาคารชมรมข้าราชการผู้สูงวัยอำเภอรือเสาะเพื่อหารือมาตรการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่
ส่วนพล.ต.สุภัช วิชิตการ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (รอง ผอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้เรียกตัวแทนครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชุมกับหน่วยงานด้านความมั่นคง ที่อาคารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
กระทั่งได้ข้อสรุป 6 ข้อ โดยมีข้อสำคัญ คือ ในช่วงปิดภาคเรียนที่ผ่านมามีการถอนกำลังหน่วยพัฒนาสันติออกจากพื้นที่อำเภอรือเสาะ ถึง 19 หน่วย ทำให้มีกำลังทหารไม่พอสำหรับการดำเนินแผนรักษาความปลอดภัยครู
โดยเหตุผลหนึ่งของการการถอนกำลังทหารออกจากบริเวณโรงเรียนตั้งแต่เปิดเทอม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นมา คือ ไม่ต้องการให้นักเรียนเห็นเจ้าหน้าที่ถืออาวุธสงคราม
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า จึงจะเพิ่มกำลังทหารพรานอีก 1 กองร้อยในพื้นที่อำเภอรือเสาะ ทำหน้าที่นำหน้าขบวนครูทั้งไปและกลับจากโรงเรียนทั้ง 44 โรงเรียนในอำเภอรือเสาะ
ต่อมาวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 นายบุญสม ทองศรีพลาย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชุมสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับมาตรการการรักษาความปลอดภัยครูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สวัสดิการที่เหมาะสมเพื่อให้ครูอยู่ในพื้นที่ต่อไป และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลผ่าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ประชุมแผนวางกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตลอดก่อนเปิดภาคเรียนทุกครั้ง และมีการประชุมร่วมกับแม่ทัพภาคที่ 4 เดือนละ 1 ครั้ง เรื่องมาตรการคุ้มครองครูด้วย
นายบุญสม ระบุว่า ทุกครั้งที่เกิดเหตุใหญ่ๆ ครูรู้สึกขวัญผวาเช่นกัน ไม่เฉพาะเหตุที่เกิดกับครูอย่างเดียว เช่น เหตุปะทะจะมีผู้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงต้องแจ้งเตือนครูด้วย เพราะมักจะตามมาด้วยการก่อเหตุกับครู แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้ครูก็ยังต้องอยู่ในพื้นที่ ด้วยอุดมการณ์ของความเป็นครู
ทำไมยังทำร้ายครู
ถามว่า ทำไมกลุ่มก่อความไม่สงบถึงยังต้อทำร้ายครู นายบุญสม ระบุว่า มี 4 ประเด็น คือ ขบวนการก่อความไม่สงบไม่สามารถกระทำต่อเป้าหมายหลัก คือ ทหารและตำรวจได้มากนัก จึงเลือกเป้าหมายที่อ่อนแอกว่า นั่นคือครู ในฐานะที่เป็นคนของรัฐเช่นกัน
ประเด็นที่ 2 ครูเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ การทำร้ายครูเปรียบเสมือนการทำลายรัฐ เพราะครูเป็นบุคลากรทางศึกษา ประเทศจะเจริญได้ ประชากรก็ต้องมีการศึกษา ดังนั้นการทำร้ายครู คือ การทำลายความเจริญของรัฐ
ประเด็นที่ 3 เป็นความขัดแย้งส่วนบุคคล และประเด็นสุดท้าย คือ การทำร้ายครู สามารถสร้างภาพความเลวร้ายแรงและน่ากลัวได้มาก
ขณะที่นักวิชาการอย่าง mso-fareast-font-family:Calibri">ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานีวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อไม่นานมานี้ ได้กล่าวถึง “ชุดของความรุนแรง” ที่มักจะเริ่มด้วยการฆ่าครู จากนั้นตามมาด้วยเหตุการณ์อื่นๆ mso-fareast-font-family:Calibri">
Calibri">ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ มองว่า ครูโรงเรียนสามัญ โดยเฉพาะครูไทยพุทธเปรียบเสมือนสัญลักษณ์และตัวแทนความเป็นรัฐไทย การยิงครู เป็นการทำลายตัวแทนรัฐไทยที่ mso-fareast-font-family:Calibri">นำนโยบายรัฐไทยมาทำลายสังคมมลายู mso-fareast-font-family:Calibri">การฆ่าครูเป็นการเร่งสถานการณ์ให้เป็น mso-fareast-font-family:Calibri">กระแสข่าว ให้มีการเร่งเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับขบวนการ
สอดคล้องกับที่นายสงวน อินทร์รักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในฐานะประธานอนุกรรมการเฉพากิจภาคใต้ประจำจังหวัดนราธิวาส คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตั้งคำถามเวทีสาธารณะ วาระประชาชน : ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ห้องห้องประชุมอาคารวิทยนานาชาติ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2554 ว่า ครูถูกฆ่าเพราะอะไร ความจริงถ้าจะฆ่าครูวันหนึ่งเป็นร้อยคนก็ได้ ทำไมเขาต้องฆ่าทีละคน ถามว่าทำไมวันนี้ ต้องฆ่าประชาชน วันนี้ฆ่าครู วันนี้ระเบิดทหาร วันนี้ฆ่าพระ ต้องวิเคราะห์ให้ได้ คนไม่หวังดีต้องการอะไร
“ผมเชื่อว่า คนไม่หวังดีมี 10% อีก 90% เป็นคนที่ต้องการความสงบ เพราะคน 90% ต้องผลักดัน ต้องเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐให้ได้ หลายคนบอกผู้นำในรัฐว่า เจรจากันเถอะ เจรจากันเถอะ วันนี้ตำรวจและผู้นำบอกว่า ไม่รู้จะเจรจากับใคร ผมไม่เชื่อ” คือคำยืนยันของนายสงวน
ขณะที่ พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 บอกว่า เชื่อว่ากลุ่มก่อความไม่สงบยิงครูเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเจรจา แต่ไม่มีผลเพราะมวลชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการทำร้ายครูและผู้บริสุทธิ์
ส่วนในมุมมองของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติอย่าง พ.อ.วิชา สิงห์สุรศักดิ์ รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ(ฉก.)ปัตตานี มองว่า เพราะภาพเหตุการณ์ที่เกิดกับครูทำให้สื่อมวลชนสนใจและให้ความสำคัญทันที ต่างจากชาวบ้านทั่วไป
“เมื่อครูถูกทำร้าย สื่อมวลชนก็จะวิเคราะห์ถึงความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐตกต่ำ เพราะรัฐดูแลบุคคลทางการศึกษาไม่ดี ไม่สามารถปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลเหล่านี้ได้ เป็นเหตุผลที่ครูตกเป็นเป้าหมายของเหตุการณ์ องค์กรครูต่างๆ เกิดความไม่พอใจและเกิดการประท้วงตามมา”
ถึงกระนั้น พ.อ.วิชา ก็ยังระบุ บางเหตุการณ์ที่เกิดกับครู อาจมาจากปัญหาส่วนตัวของครูอยู่ด้วย
โชคดีที่เหตุลอบยิงคณะครูครั้งล่าสุด ไม่ได้เพิ่มสถิติครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตจากความไม่สงบอยู่ที่ 149 ราย เชื่อว่าคงไม่มีใครต้องการเช่นนั้น เมื่อเสียงปืนสงบลงไปสิ้น ความโศกเศร้าเสียใจก็คงมลายหายไปด้วย แต่ครูก็ยังอยู่ในชายแดนใต้
ล้อมกรอบ
ฉก.ปัตตานี เปิดมาตรการคุ้มครองครู
พ.อ.วิชา สิงห์สุรศักดิ์ รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ(ฉก.)ปัตตานี อธิบายถึงการรักษาความปลอดภัยครู ดังนี้
“การรักษาความปลอดภัยครู เป็นหน้าที่ที่ต้องเน้นเป็นพิเศษกว่าการดูแลรักษาความปลอดภัยคนทั่วไป เริ่มจากขั้นเตรียมการ ได้แก่ การสำรวจจำนวนครูในพื้นที่ก่อนว่ามีกี่คน โดยจัดทำบัญชีชื่อครูและที่อยู่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องทราบ รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ได้แก่ เส้นทางที่ใช้เดินทางและยานพาหนะที่ใช้ในกาเดินทาง
เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว จะมีการประชุม 4 ฝ่าย คือทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองและครู เพื่อกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ทุกฝ่ายพอใจและรับได้ จากนั้นจะทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกัน โดยมีการแบ่งเขตรับผิดชอบให้แต่ละหน่วยกำลังให้ดูแล เช่น ฉก.ปัตตานี 21 รับผิดชอบเขตอำเภอยะรังและอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ฉก.ปัตตานี 22 รับผิดชอบเขตอำเภอปะนาเระและอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นต้น จากนั้นจะมีการซ้อมแผนเผชิญเหตุ ทั้งระหว่างการเดินทางและระหว่างครูกำลังสอน
มาถึงขั้นปฏิบัติ สิ่งแรกที่เจ้าหน้าที่ต้องทำคือ ทำพื้นที่ให้ปลอดภัยก่อน ได้แก่ ตรวจสอบเส้นทาง โดยการเดินลาดตระเวน หากเป็นพื้นที่อันตรายเจ้าหน้าที่จะเข้ารักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง
หลังจากส่งครูถึงที่หมายแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะเข้าประจำที่จุดตรวจ ระหว่างครูสอนอยู่ จะมีเจ้าหน้าที่จะเข้าไปพบปะกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อสานสัมพันธ์และหาข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนอยู่ตลอดเวลา โดยมีกองกำลังประชาชน เช่น ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) อาสาสมัครรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (อรบ.) ร่วมรักษาความปลอดภัยด้วย
เมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจนครบรอบของการปฏิบัติงานแล้ว จะเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่ต่อไป สิ่งที่เป็นปัญหา คือ เนื่องจากมีเส้นทางอยู่มาก การเฝ้าระวังอาจไม่เพียงพอ ทำให้คนร้ายสามารถก่อเหตุกับครูได้
ข้อสำคัญของบันทึกความเข้าใจคือ เมื่อครูจะไปไหนต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปคุ้มครอง แต่ส่วนใหญ่ครูหรือบุคลากรบางคนขี้เกรงใจ ไม่ยอมบอกเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก แม้ครูที่มักออกนอกเส้นทางตามที่ตกลงไว้ หรืออกไปไหนโดยไม่แจ้งให้ทราบไม่ค่อยมี แต่ถ้ามีก็ตกเป็นเป้าได้ง่าย และบางกรณีที่เกิดเหตุกับครู ก็เกิดในช่วงที่ครูเดินทางไปทำธุระส่วนตัว
สำหรับครูที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่รับผิดชอบ จะมีการบันทึกประวัติบุคคล ยานพาหนะ เส้นทางที่เดินทางและหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อไว้ด้วย เพื่อจะได้ประสานกับหน่วยที่จะรับช่วงต่อในการดูแลรักษาความปลอดภัยครูได้
นอกจากนี้ ครูทุกคนต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจในเขตรับผิดชอบด้วย บางหน่วยจะทำเป็นพวงกุญแจแจกให้ครูติดตัวตลอดเวลา หรือเป็นแผนผับแสดงพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยไหน รวมทั้งยังพื้นที่ปลอดภัย หรือ SAFE Zone สำหรับการนัดพบเจ้าหน้าที่คุ้มครองครูระหว่างเดินทางไปโรงเรียน
ส่วนครูเองก็ต้องให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ และต้องแจ้งสถานการณ์ประจำวัน หากเกิดเหตุร้ายก็จะมีแนวทางที่จะให้ครูปฏิบัติ ซึ่งทุกฝ่ายให้ความร่วมมือและมีการทำตามแผน เหตุก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับครูได้”