Skip to main content

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

บริจาคดอกเบี้ย

มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เลขที่ 134/17 หมู่ที่ 10 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ประกาศรับบริจาคเงิน "ดอกเบี้ยเพื่อกิจการสาธารณประโยชน์"

ทั้งนี้ ในโปสเตอร์ประกาศของมูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระบุว่า “ดอกเบี้ย เป็นสิ่งต้องห่ามตามหลักการศาสนาอิสลาม แต่เราไม่ทิ้งให้กับธนาคาร มาร่วมบริจาคเพื่อกิจการสาธารณประโยชน์ สร้างและซ่อมแซมห้องน้ำมัสยิด โรงเรียนสอนศาสนาที่ประสบภัยน้ำท่วมที่ภาคกลางหลังน้ำลด และที่ภาคใต้ที่ยังสร้างไม่เสร็จ”

มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกาศด้วยว่า สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคดอกเบี้ย สามารถบริจาคผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาสิโรรส ชื่อบัญชี “ดอกเบี้ยเพื่อกิจการสาธารณประโยชน์” บัญชีเลขที่ 932 – 0 – 56645 – 3

ติดต่อ "มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" หมายเลขโทรศัพท์ 073 - 243632, 081 - 7487113, 083 - 1845622 อีเมล : [email protected]

มูลนิธิเพื่อการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้ยกคำตอบของชัยคฺ ดร ยูซุฟ อัล เกาะเราะฎอวียฺ นักปราชญ์ทางศาสนาอิสลามชื่อดังชาวอียิปต์ เรื่อง อันตรายของ“การกินดอกเบี้ย”ว่า แม้ดอกเบี้ยจะไม่อนุมัติ(หะลาล) ตามหลักศาสนาอิสลาม แต่ต้องไม่ทิ้งดอกเบี้ยนั้นไว้กับธนาคาร เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งด้วยกับเงินดอกเบี้ยดังกล่าว จึงต้องนำไปใช้จ่ายในกิจการสาธารณะ

..................

 

อันตรายของ“การกินดอกเบี้ย”

ตอบคำถามโดย ชัยคฺ ดร.ยูซุฟ อัล ก็อรฎอวียฺ

 

คำถาม หลักการอิสลามในเรื่องดอกเบี้ยธนาคารมีว่าอย่างไร?

คำตอบ ดอกเบี้ยในบัญชีธนาคารเป็นสิ่งไม่ถูกต้องหรือเป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม) เพราะ ดอกเบี้ยเป็นเงินที่เพิ่มขึ้นมาโดยปราศจากความอุตสาหะหรือทำการค้า

“บรรดา ผู้ศรัทธาทั้งหลาย พึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงละเว้นดอกเบี้ยที่ยังเหลืออยู่เสีย หากเจ้าเป็นผู้ศรัทธา, และหากพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตาม ก็พึงรับรู้ไว้ด้วยซึ่งสงครามจากอัลลอฮฺและร่อซูล(ศาสนทูต)ของพระองค์ และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวแล้ว สำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์ของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าจะได้ไม่อธรรมและไม่ถูกอธรรม” อัล บะเกาะเราะฮฺ 278-279

การสำนึกผิดในที่นี้ หมายถึงเป็นการเก็บต้นทุนเดิมไว้ และขจัดเงินที่เพิ่มขึ้นมาโดยปราศจากความอุตสาหะและการร่วมลงทุนทำธุรกิจ อิสลามห้ามฝากเงินไว้เยอะๆ และรอรับเงินที่เพิ่มขึ้นในบัญชีโดยปราศจากความเสี่ยงกับกำไรหรือการขาดทุนใดๆ

เพราะฉะนั้น ประเภทของการลงทุนที่อนุญาตนั่นคือ บุคคลหนึ่งฝากเงินในบัญชีและร่วมลงทุนที่เสี่ยงทั้งกำไรและการขาดทุน นี่เป็นนิยามของวิธีการร่วมลงทุนแบบอิสลาม

คำถามมีอยู่ว่า ถ้าใครบางคนฝากเงินจำนวนหนึ่งไว้ในธนาคารและเขามีสิทธิที่จะรับดอกเบี้ย เขาจะรับหรือทิ้งมันดี?

ประการแรก ดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับเขา ฉะนั้นการรับมันมาแล้วนำไปจ่าย“ซะกาต(การบริจาคทานบังคับ)” ก็จะไม่ทำให้เงินบริสุทธิ์ กรณีเช่นนี้เขาจะรับหรือทิ้งมันให้กับธนาคารดี?

ฉันขอแนะนำว่า ให้รับไว้ก่อน เนื่องจากมันไม่ได้เป็นทรัพย์สินของท่านและทรัพย์สินของธนาคาร เพราะว่ามันเป็นเงินที่ไม่อนุมัติ(หะลาล) เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทั้งทรัพย์สินของคุณและของธนาคาร แต่เป็นทรัพย์สินของสาธารณะและจะต้องนำไปใช้จ่ายกับกิจการสาธารณะ

นี่คือกฎเกณฑ์สำหรับเงินที่ไม่อนุมัติในทรรศนะอิสลาม การจ่ายซะกาตด้วยเงินนี้จะไม่ทำให้เงินบริสุทธิ์      

แม้ว่าเงินนี้จะไม่อนุมัติ(หะลาล) แต่เขาจะต้องไม่ทิ้งมันให้กับธนาคาร เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งด้วยกับเงินดอกเบี้ยดังกล่าว จึงต้องนำไปใช้จ่ายในกิจการสาธารณะ

บางคนอาจกล่าวว่า เงินที่ฝากนั้นมีความเสี่ยงกับการขาดทุนถ้าธนาคารประกาศล้มละลาย สถานการณ์เช่นนี้มิได้ทำให้หลักการโมฆะแต่อย่างใด

หลักการในอิสลามไม่ได้วางอยู่บนข้อยกเว้น แต่นี่เป็นข้อยกเว้น ใครก็ตามที่ฝากเงินเป็นประจำเขาจะได้รับดอกเบี้ยอยู่แล้ว พวกเขาไม่ขาดทุนแน่นอน ถ้าพวกเขาทำไปแล้วก็เป็นการเบี่ยงเบนไปจากหลักการ

บางคนอาจกล่าวอีกว่า ธนาคารทำธุรกิจกับเงินที่ฝาก คำตอบคือใช่ แต่อย่างไรก็ตามตอนที่คุณฝากเงิน คุณได้ทำสัญญาทางธุรกิจกับธนาคารหรือเปล่า? แน่นอนว่า ไม่ได้ทำ แต่ถ้าคุณได้ทำสัญญาร่วมลงทุนตั้งแต่แรก จากนั้นธนาคารก็ขาดทุนและประกาศล้มละลาย กฎเกณฑ์ตรงนี้ย่อมแตกต่างออกไป

อย่างไรก็ตาม ผู้ฝากก็ต้องการเงินคืนเมื่อธนาคารเกิดขาดทุน และธนาคารก็ไม่ได้ปฏิเสธสิทธิของพวกเขา ธนาคารจะคืนเงินกลับไปทุกครั้ง ถึงแม้ว่าธนาคารได้ประกาศล้มละลายไปแล้ว คนที่ฝากเงินไม่คิดว่าพวกเขาต้องรับผิดชอบร่วมกันในการขาดทุนครั้งนี้ พวกเขาต้องการเงินของพวกเขากลับคืน แม้แต่ดอกเบี้ยก็ยังต้องจ่ายครบทุกบาททุกสตางค์ ถึงแม้ธนาคารได้ประกาศล้มละลายไปแล้วก็ตา