Skip to main content

 นูรยา เก็บบุญเกิด

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

                                วีรบูลย์

                                              วีรบูรณ์ วิสารทสกุล

 

เมื่อเวลา mso-bidi-language:TH">13.30 น. วันที่ 1 ธันวาคม 2554 ที่สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สภาประชาสังคมชายแดนใต้จัดเสวนาประเด็นประชาธิปไตยแบบใช้วิจารณญาณเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ โดยมีนายวีรบูรณ์ วิสารทสกุล อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากร และมีคณะกรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้เข้าร่วมประมาณ 10 คน

นายวีรบูรณ์ วิสารทสกุล อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายว่า การให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยแบบใช้วิจารณญาณเป็นการเตรียมการเพื่อกระบวนการพูดคุยในเวทีสาธาณะ โดยมีวิธีการหาจุดร่วมของทุกฝ่ายที่มีส่วนได้เสีย ด้วยการใช้เหตุผลระหว่างบุคคล ซึ่งจะแตกต่างไปจากการต่อรองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ในกระบวนการให้เหตุผลนั้น จะมีการให้เหตุผลการชั่งน้ำหนักทางเลือกต่างๆ ซึ่งต้องกระทำอย่างเปิดเผยเป็นสาธารณะ

นายวีรบูรณ์ บรรยายอีกว่า การใช้วิจารณญาณสาธารณะ ประกอบด้วยพื้นส่วนกลางที่ทุกคนสามารถนำเสนอความเชื่อและความเข้าใจและความคิดเห็นได้ คนที่เห็นแย้งสามารถเสนอความเห็นอย่างมีเหตุผลจึงจะมีการลงประชามติ มีพื้นที่สำหรับการสนทนาและถกกันด้วยเหตุผล และมีฉันทามติในภายหลัง

นายวีรบูรณ์ บรรยายด้วยว่า การใช้ mso-bidi-language:TH">Issue book เพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนความเชื่อ โดยการนำสนอให้เห็นถึงข้อดี ข้อเสีย ผู้ได้ประโยชน์ ผู้เสียประโยชน์ และผลกระทบของแต่ทางละทางเลือก โดยใช้ผลการวิจัย หรือข้อเท็จจริงจากหนังสือพิมพ์มาอ้างอิงและประมวลผลเป็นเนื้อหาใน Issue Book

นายวีรบูรณ์ บรรยายอีกด้วยว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการทำเวทีโดยใช้กระบวนการวิจารณญาณสาธารณะเพื่อหาจุดร่วมเกี่ยวกับการแก้ปัญหาวัยรุ่นท้องก่อนแต่ง พบว่ามีผู้เสนอทางเลือกการแก้ปัญหาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A เสนอว่าห้ามทำร้ายเด็ก โดยอ้างว่าการทำร้ายเด็กเป็นสิ่งที่ผิด กลุ่ม B เสนอว่าการปล่อยเด็กไว้จะเป็นปัญหาของสังคม และกลุ่ม C เสนอว่าให้เป็นสิทธิของผู้หญิงที่จะจัดการกับปัญหาดังกล่าวเอง

“หลังจากที่แต่ละกลุ่มชี้แจงทางเลือกออกมาสู่ที่สาธารณะแล้ว ก็ให้เริ่มทำกิจกรรม โดยอยู่บนพื้นฐานความเชื่อและความเข้าใจในกลุ่มตัวเอง และในระดับชุมชนให้หาจุดร่วมของทุกกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมเพื่อโน้มน้าวให้คนในชุมชนมีความเชื่อและความเข้าใจตามแนวทางของกลุ่มตนเช่นกัน”

นายวีรบูรณ์ บรรยายว่า วิธีการใช้วิจารณญาณแบบสาธารณะแบ่งเป็น mso-bidi-language:TH">3 ขั้นตอน คือ การเริ่มต้นใช้ 15 % โดยเป็นการวางข้อตกลงก่อนเข้าสู่ประบวนการร่วมกัน หลังจากนั้นให้ฉายวีดีโอเพื่อให้ความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับประเด็นที่จะประชุม โดยเน้นให้เห็นข้อมูลพื้นฐาน สถานการณ์ ทางเลือกต่างๆ และสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ถึงเหตุผลและความรู้สึกของทางเลือกนั้นๆ แล้วจึงเริ่มการพูดคุยจากการดึงประสบการณ์ตรง ความรู้สึก รับรู้จากคนในวงเสวนา หรือหาผู้ที่มีประสบการณ์ตรง กับเรื่องที่กำลังจะหารือร่วมกัน

mso-bidi-language:TH">            นายวีรบูรณ์ บรรยายอีกว่า ช่วงกลางของการหารือ 65% ให้แต่ละคนพิจารณาทางเลือกที่สอดคล้องกับคุณค่า ที่แต่ละคนมีและเหตุผลอื่นๆที่เลือก แล้วจึงชวนให้พิจารณาว่าทางเลือกนั้นๆ มีผลกระทบที่ตามมาอย่างไรบ้าง อะไรคือสิ่งที่ยอมรับได้และยอมรับไม่ได้ ชี้ให้เห็นข้อโต้แย้ง ประเด็นที่เป็นความตึงเครียด หรือประเด็นอยากได้ แต่ไม่ยอมเสีย และพยายามมองหาพื้นที่ร่วมระหว่างทางเลือกต่างๆ พื้นที่ร่วมระหว่างข้อขัดแย้งทางความคิด ที่คนที่เลือกทางเลือกต่างๆ สามารถลงมือปฏิบัติการได้

mso-bidi-language:TH">            นายวีรบูรณ์ บรรยายด้วยว่า ช่วงท้ายของการหารือ 25% ให้แต่ละคนสะท้อนความรู้สึกว่าเห็นตัวเองชัดขึ้นหรือไม่ และเห็นคนอื่นชัดขึ้นหรือไม่ มุมมองของตัวเองเปลี่ยนแปลงได้บ้างไหม แล้วจึงสะท้อนความรู้สึกในฐานะของการเป็นสมาชิกกลุ่ม เช่น การหาทิศทางร่วม อะไรคือเรื่องที่กลุ่มยินดี และไม่ยินดีแลกเปลี่ยน และอะไรคือสิ่งที่ต้องทำต่อ ต้องคุยต่อ อยากคุยด้วยกันต่อหรือไม่

mso-bidi-language:TH">            นายวีรบูรณ์ บรรยายอีกด้วยว่า โดยมีขั้นตอนการวางกรอบประเด็น คือ สร้างทีมงาน ทำการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งต่าง สัมภาษณ์คนทั่วไป ผู้กำหนดนโยบาย นักข่าว คนที่เกียวข้องโดยตรง โดยมีเป้าหมายเพื่อค้นหาเรื่องที่คนทั่วไปสนใจ เพื่อหาความห่วงใยร่วมกัน ทั้งเพื่อหาข้อเสนอและข้อโต้แย้ง จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อวางกรอบประเด็นปัญาหา ทดสอบกรอบแนวคิดในเวทีทดสอบต่างๆ ปรับแก้กรอบแนวคิดและแนวทางให้เหมาะสม นำไปใช้ในเวทีชุมชนต่างๆ รวมทั้งนำเสนอข้อมูล และติดตามผลที่เกิดขึ้น

“การใช้วิจารณญาณสาธารณะในเวทีนั้นต้องเคารพ ความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยทำความเข้าใจคนอื่นที่มีความแตกต่าง เพื่อเปลี่ยนความคิดเห็นตัวเอง มากกว่ามุ่งเปลี่ยนความคิดเห็นคนอื่น ซึ่งแม้ว่าแต่ละฝ่ายจะมีทางเลือกของตนอยู่แล้ว แต่ก็ต้องมาปรึกษา เพื่อหาจุดร่วม ซึ่งในขั้นตอนการหาจุดร่วม จะต้องใช้ระยะเวลาซักพัก และสำหรับประเด็นเคลื่อนไหวเรื่องการกระจายอำนาจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็สามารถใช้พูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นประชาธิปไตยแบบใช้วิจารณญาณได้เช่นกัน” นายวีรบูรณ์ กล่าว

นายแวรอมลี แวบูละ ประธานเครือข่ายชุมชนศรัทธา เสนอในวงเสวนาว่า ควรมีการจำลองเหตุการณ์โดยการวิจารณญาณสาธารณะและตั้งประเด็นขึ้นมาเพื่อให้คณะกรรมการประชาสังคมชายแดนใต้ลองปรึกษาหารือร่วมกัน แต่ต้องกระชับประเด็นเพื่อหาข้อยุติร่วมกันของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจนขึ้น mso-bidi-language:TH">