สิริพล สัจจาพันธ์ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา
[email protected] โทร.08-1748-3723
1.
ลักษณะของฝนในรอบเดือนที่ผ่านมา
พายุฝนในฤดูกาล 2554 แตกต่างจากปีก่อนๆ คือ ก่อตัวในทะเลจีนตอนใต้ ผ่านเข้ามาทางทะเลตอนใต้ของเวียดนาม แยกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ เข้าปลายแหลมเวียดนาม ปกติแล้วจะพุ่งเข้ามาอ่าวไทย เข้าฝั่งพื้นที่ภาคใต้โดยตรง โดยจะม้วนโค้งเข้าฝั่งจังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปถึงจังหวัดชุมพร แต่ในรอบเดือนตุลาคม 2554 จะม้วนตัวเข้าฝั่งเวียดนามตอนใต้ และกัมพูชา ไม่เข้ามาไทย
กลุ่มที่ ๒ เป็นกลุ่มฝนขนาดกว้างใหญ่แต่ไม่หนามากนัก ผ่านบรูไน ตามแนวด้านล่างของกลุ่มแรก เข้ามาทางฝั่งตะวันออกของมาเลเซีย สู่ทะเลอันดามันโดยส่วนขอบบนกินพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ทำให้เกิดฝนตกหนักในระยะสั้นเพียงสองสามวันในบางพื้นที่ และไม่ปรากฏลมพายุรุนแรง
จากการสังเกตเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่จังหวัดนครศรีธรรมราช–จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อเดือนเมษายน 2554 เมฆฝนสองกลุ่มเข้ามาพร้อมกันจากอ่าวไทยและอันดามัน พบรวมกันเป็นก้อนใหญ่หนามากไม่เคลื่อนไปไหน ศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอเวียงสระ กินพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีทั้งจังหวัด จังหวัดนครศรีธรรมราชตอนบนและตอนกลาง จังหวัดกระบี่ด้านตะวันออก เป็นผลให้เกิดฝนตกหนักและนานหลายวัน เกิดน้ำป่าไหลหลาก โคลนถล่ม และน้ำท่วมอย่างหนัก
สถานการณ์ตลอดเดือนตุลาคม 2554 ภาคใต้จึงไม่ประสบอุทกภัยอย่างรุนแรง เนื่องจากกลุ่มเมฆฝนเคลื่อนผ่านสู่ทะเลอันดามันอย่างรวดเร็ว
2.
ลักษณะเมฆฝนวันนี้
หลักจากมีแดดสลับเมฆฝนครอบคลุมบ้างมาสองสามวัน สถานการณ์ด้านจังหวัดพัทลุงและสามจังหวัดภาคใต้เริ่มคลี่คลาย แต่ในวันที่ ๒ พฤศจิกายน 2554 ตรวจพบว่า มีกลุ่มเมฆก่อตัวขึ้นขนาดหนา และใหญ่ในลักษณะเดิม แต่เป็นกลุ่มเดียว ผ่านเข้ามาทางบรูไน ที่น่าตระหนกคือ กระแสเมฆฝนทั้งหมดเริ่มเปลี่ยนทิศทาง แทนที่จะพุ่งไปทางทิศตะวันตก ผ่านพื้นที่ทางใต้ของมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ไปยังทะเลอันดามัน เหมือนสองสามวันที่ผ่านมา กลับเปลี่ยนทิศเข้ามาเลเซียสู่ภาคใต้ของไทย แต่พอถึงช่วงบ่ายตกเป็นฝนในมาเลเซียจนหมด เข้ามาไม่ถึงไทย แต่ก็ยังก่อตัวหนาเป็นระลอก ทยอยกันไม่ขาดสาย
ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป ฝนจะตกในทะเลหรือในมาเลเซียก่อนจะมาถึงไทย ถ้ามาถึงก็เพียงส่วนน้อย หรือหากรวมตัวเพิ่มขึ้นจนเข้ามาลงไทยเต็มๆ ก็คงไม่หนักเหมือนครั้งที่แล้ว เพราะทะเลอันดามันยังเป็นตัวรองรับให้ผ่านไทยไปอย่างรวดเร็ว
พยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
ประจำวันศุกร์ ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ลักษณะอากาศทั่วไป
เมื่อเวลา 04.00 น. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนได้ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง และอากาศจะเย็นลง โดยอุณหภูมิลดลง 1–3 องศาเซลเซียส
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในระยะ 2–3 วันนี้
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 21–25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31–32 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20–35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 1–2 เมตร ส่วนตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 20–24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32–33 องศา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15–30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
พยากรณ์อากาศตั้งแต่เวลา 24.00 วันนี้ ถึงเวลา 24.00 น. วันพรุ่งนี้
ลักษณะอากาศทั่วไป (เมื่อเวลา 22.00 น.วันนี้) บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ ลงมาปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้แล้ว ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนกระจาย ขอให้ประชาชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นสูงที่ซัด เข้าหาฝั่งในระหว่างวันที่ 2-6 ธันวาคม 2554 สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดสุราฎร์ธานีลงมามีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย หรือประมาณ 40% ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
จังหวัดสงขลา ตั้งแต่เวลา 13.00 วันนี้ ถึงเวลา 13.00 น. วันพรุ่งนี้
มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย หรือประมาณ 40% ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 2 เมตร คาดว่าอุณหภูมิสูงสุด 30 C ต่ำสุด 24 C พรุ่งนี้น้ำขึ้นเต็มที่เวลา 02.43 น. และ 17.08 น น้ำลงเต็มที่เวลา 08.59 น.
สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลานั้น กรมทรัพยากรน้ำได้รายงานประจำวันที่ ๒ ธ.ค.๒๕๕๔ ว่า คาดว่าจะมีปริมาณฝนตกเล็กน้อย ในช่วงวันที่ ๓-๔ ธ.ค. และ ๗ ธ.ค.