Skip to main content

  background:white">นูรยา เก็บบุญเกิด

background:white">โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ( background:white">DSJ)

 

 

 

           ภีรกาญ

                                                          ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา

 

เมื่อเวลา mso-bidi-language:TH">10.00 น. – 17.00 น. วันที่ 3 ธันวาคม 2554 ที่ห้องบรรยาย A310 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติลุ่มน้ำปัตตานี (PB Watch) จัดโครงการอบรมผู้สื่อข่าวชุมชนเพื่อการเฝ้าระวังภัยพิบัติ โดยมีผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุชุมชน สมาชิกวิทยุชุมชน และเยาวชนในจังหวัดปัตตานีเข้าร่วมประมาณ 30 คน

mso-bidi-language:TH">นายภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา กรรมการดำเนินงานภาคประชาสังคมเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติลุ่มน้ำปัตตานี (PB Watch) บรรยายว่า โครงการอบรมผู้สื่อข่าวชุมชนเพื่อการเฝ้าระวังภัยพิบัติ เป็นการให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติแก่ผู้สื่อข่าวในชุมชน เพื่อเฝ้าระวัง และเตรียมรับมือภัยพิบัติ เพื่อนำไปสู่การสื่อสารที่ดีและความเข้าใจที่ถูกต้องแก่คนในชุมชน

นายภีรกาญจน์ บรรยายอีกว่า เป็นการวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างคลื่นวิทยุมอ.ปัตตานี และคลื่นวิทยุชุมชน เพื่อประสานงานในการกระจายข่าวของเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติลุ่มน้ำปัตตานีอย่างเป็นเอกภาพ การรายงานข่าวเป็นการฝึกทักษะ ดังนั้นหากมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะทำให้มีความคล่องแคล่วในการายงานข่าวยิ่งขึ้น

นายภีรกาญจน์ บรรยายอีกว่า ขณะนี้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กำลังเริ่มทำสารคดีเกี่ยวกับการเตรียมรับมือและเฝ้าระวังภัยพิบัติ อันเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งคาดหวังว่าแล้วเสร็จแล้วประมาณกลางเดือนธันวาคม 2554

นายภีรกาญจน์ บรรยายด้วยว่า หลังจากนี้จะมีรายการพิเศษเกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องภัยพิบัติ ซึ่งจะเชิญนักวิชาการมาบรรยายโดยออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลาประมาณ 13.30 – 17.00 น. 2 สัปดาห์ต่อครั้ง โดยจะเริ่มออกอากาศครั้งแรกกลางเดือนธันวาคม 2554 และจะมีการเชื่อมโยงสัญญาณจากสถานีวิทยุม.อ.ปัตตานี FM 107.25 MHz ไปยัง 4 สถานีวิทยุชุมชน

“ประกอบด้วย สถานีวิทยุชุมชนจุดเมือง ชุมชนจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 107.5 MHz สถานีวิทยุชุมชนเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี  FM 105.00 MHz สถานีวิทยุเอฟเอ็มวัน 102.75 MHz อำเภอโคกโพธิ์ FM 107.75 MHz และสถานีวิทยุตะอาวุนเรดิโอ ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 100.5 MHz ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประสานงาน เพื่อเตรียมอุปกรณ์และเตรียมความพร้อมของแต่ละสถานี” นายภีรกาญจน์ กล่าว

จากนั้น นายสมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เปิดวีดีโอเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากในประเทศอินเดีย เพื่อให้ผู้สื่อข่าวชุมชนหาวิธีการสื่อสารที่ถูกต้องและดีที่สุดไปยังชุมชน ทั้งยังได้ใช้โปรแกรม Google Earth เพื่อนำเสนอภูมิศาสตร์ทั่วโลก และชี้ให้เห็นถึงทางเดินของน้ำ การไหลของน้ำ และการกัดเซาะของน้ำบริเวณชายฝั่งทะเล แม่น้ำ และลำคลอง

นายสมพร ช่วยอารีย์ บรรยายว่า จากการลงสำรวจการกัดเซาะชายฝั่งบ้านกูบู อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 พบโพรงในชั้นดินใต้ถนนเลียบชายฝั่ง จนทำให้ถนนเกิดการตัดขาด และกัดเซาะเข้ามาจากชายฝั่งเดิมเป็นระยะทาง 110 เมตร

“ผู้สื่อข่าววิทยุควรจัดรายการผ่านอินเตอร์เน็ท เพื่อรายงานสดและนำเสนอภาพของความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับภัยพิบัติ และแม้ว่าจะมีเครื่องมือเตือนภัย หากประชาชนไม่ปฏิบัติตามคำเตือน ก็ไม่สามารถเกิดผล” ดร.สมพร กล่าว

สำหรับช่วงบ่าย มีการบรรยายหัวข้อ “บทบาทผู้สื่อข่าวชุมชนเพื่อการเฝ้าระวังภัยพิบัติ” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสอนวิธีการรายงานข่าว การเตรียมข้อมูล การเตรียมเนื้อหาในการสื่อสาร วิธีการพูด ขั้นตอนการรายงานข่าว และการเตรียมพร้อมในชุมชน โดยนางสาวพัชรา ยิ่งดำนุ่น ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี FM 107.25 MHz

นอกจากนี้ยังมีการฝึกปฏิบัติการรายงานข่าว เพื่อการเฝ้าระวังภัยพิบัติทางวิทยุกระจายเสียง และวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยจำลองสถานการณ์การรายงานข่าวทางโทรศัพท์ เข้ามาสู่สถานีวิทยุมอ.ปัตตานี ซึ่งให้ผู้สื่อข่าวชุมชนทดสอบการรายงานข่าว และมีนางยะห์ อาลี ประธานเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี เป็นผู้จัดรายการโดยใช้ภาษามลายูสื่อสารกับผู้สื่อข่าวท้องถิ่นที่โทรศัพท์เข้ามารายงานข่าวให้กับสถานี ในสถานการณ์จำลองครั้งนี้ด้วย