Skip to main content

 ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

 

 

         เถลิงศักดิ์

mso-fareast-font-family:Calibri;mso-fareast-theme-font:minor-latin;color:#222222;
background:white;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:
TH">                                       เถลิงศักดิ์ ภูวญาณพงศ์ 

 

ท้องฟ้าเหนือหลายจังหวัดในภาคใต้ครื้มมืดอีกครั้ง จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้

กรมอุตินิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พยากรณ์อากาศว่า จะมีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ขณะที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

สภาพอากาศของจังหวัดกระบี่ ตั้งแต่เวลา 1200 น.ของวันที่ 4 ธันวาคม 2554 ถึง 12.00 น.ของวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ว่าจะมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป 70% ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว  10  – 30  กิโลเมตรต่อชั่วโมง จังหวัดกระบี่ จึงเสี่ยงต่อการประสบภัยพิบัติเป็นอย่างยิ่งกับสภาพอากาศเช่นนี้

 นายเถลิงศักดิ์ ภูวญาณพงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดกระบี่ บอกเกี่ยวกับการเตรียมการรับมือภัยพิบัติว่า สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดกระบี่ มีการติดตามสภาพฝนฟ้าอากาศ เหตุพายุเข้า ปริมาณน้ำฝน แผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อมีแนวโน้มว่าจะเกิดภัยพิบัติ จังหวัดกระบี่จะได้รับข้อมูลการแจ้งเตือนภัยจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติด้วย

“จากนั้นจะส่งข้อความทางโทรศัพท์ (SMS) แจ้งเตือนไปยังผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ทราบ เพื่อให้เตรียมอพยพไปยังจุดปลอดภัย” นายเถลิงศักดิ์ บอกถึงกระบวนการแจ้งเตือนเมื่อมีแนวโน้มจะเกิดภัย

นายเถลิงศักดิ์ ยังบอกอีกว่า ในพื้นที่ 37 หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทุกประเภท ไม่ว่า น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม อุทกภัย หรือสึนามิในจังหวัดกระบี่ ก่อนหน้านี้กรมทรพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สำรวจและติดตั้งเครื่องมือเตือนภัยแล้วด้วย

“ทั้งนี้เรายังมีหอเตือนภัยสึนามิ ซึ่งสามารถเตือนภัยพิบัติได้ทุกประเภท 32 จุด ติดตั้งใน 5 อำเภอริมชายฝั่งทะเล โดยมีการติดตั้งระบบวิทยุรับสัญญาณที่เชื่อมต่อกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อขยายให้รับรู้กันได้อย่างกว้างขวาง”

“เราไม่มีวิทยุสื่อสาร เราจะสื่อสารกับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ด้วยวิทยุของกรมการปกครองของจังหวัด ประสานงานกับสถานีวิทยุชุมชน 32 สถานี เพื่อการแจ้งเตือนภัย และการให้ข่าวสารในการเตรียมรับมือ และกระบวนการในการช่วยเหลือชาวบ้าน” นายเถลิงศักดิ์ บอกถึงระบบเตือนภัยที่มีอยู่ในพื้นที่

นายเถลิงศักดิ์ บอกว่า ทางจังหวัดกระบี่ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาจากอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จังหวัดกระบี่ 2554 จัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉินฯในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับท้องถิ่น ซึ่งปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มเมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน 2554

นายเถลิงศักดิ์ บอกถึงการซ้อมแผนของจังหวัดว่า ในทุกๆปีจังหวัดกระบี่ จะมีการซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประเภทต่างๆร่วมกัน 2 -3 ครั้ง ไม่ว่า ซ้อมแผนเหตุการณ์สึนามิ เหตุอุทกภัย และดินโคลนถล่ม อุบัติเหตุทางทะเลทั้งส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกรมทรัพยากรธรณี ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ฯลฯ

“มีการให้ความรู้แก่ชาวบ้านในการพึ่งพาตนเองเป็นฐาน มีการให้อุปกรณ์กู้ภัย เช่น เชือก และเรือ สำหรับชุมชนที่เสี่ยงภัย มีการอบรมสมาชิกอาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ทีมกู้ชีพกู้ภัยท้องถิ่นละ 10 คน อบรมมิสเตอร์เตือนภัย 91 หมู่บ้านที่เป็นพื้นที่เสี่ยง” นายเถลิงศักดิ์ บอกถึงการเตรียมพร้อมด้วยการให้ความรู้และอบรม

นายเถลิงศักดิ์ บอกถึงอุปกรณ์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่า มีเรือท้องแบบ 8 ลำ ซึ่งสามารถขอสนับสนุนจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 18 ภูเก็ต ได้อีกถึง 200 ลำ หากไม่เพียงพอในการช่วยเหลือชาวบ้าน

นายเถลิงศักดิ์ บอกเกี่ยวกับการประสานงานขุดลอกร่องน้ำว่า มีการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ในการขุดลอกคู คลอง ท่อระบายน้ำ เพื่อให้น้ำระบายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถดำเนินการได้เพียงในระดับหนึ่งตามงบประมาณที่มีของแต่ละหน่วยงาน

“พื้นที่ที่เกิดดินถล่ม 2 พันไร่ ที่อำเภอเขาพนมนั้น เราได้มีการขุดลอกคลองเท่าที่ทำได้ในงบประมาณจำกัด ทั้งจังหวัดกระบี่จะมีการปลูกป่าขึ้นในอนาคตเพื่อป้องกันการบุกรุกป่า และป้องกันเหตุการณ์ดินถล่มซ้ำด้วย” นายเถลิงศักดิ์ บอกถึงการฟื้นฟูพื้นที่ที่เกิดดินถล่ม

ย้อนมองพื้นที่ที่เคยเกิดเหตุอุทกภัย ดินโคลนถล่มเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2554 ในอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีรอยปริร้าวแล้วใจหาย ดูเหมือนว่าโศกนาฏกรรมพร้อมจะอุบัติซ้ำทุกเมื่อ เวลาพายุฝนกระหน่ำ