Skip to main content

  background:white">นูรยา เก็บบุญเกิด

background:white">โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ( background:white">DSJ)

background:white;mso-bidi-language:TH">

        มันโซ

                                                       มันโซร์ สาและ

 

ต้นปี mso-bidi-language:TH">2555 ตรงกับวันที่ 4 มกราคม background:white">สมัชชาปฏิรูปเฉพาะปัญหาชายแดนภาคใต้ background:white;mso-bidi-language:TH">จะจัดงาน “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน  background:white">ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา background:white;mso-bidi-language:TH"> mso-bidi-language:TH">เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการกระจายอำนาจและกระบวนการยุติธรรม background:white;mso-bidi-language:TH">

หลังจากเวทีนี้สิ้นสุดลงแล้ว ก็จะเป็นหน้าที่ของคณะทำงานที่จะต้องจัดเวทีสาธารณะ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนต่อไป

นายมันโซร์ สาและ หนึ่งในคณะทำงานสมัชชาปฏิรูปเฉพาะปัญหาชายแดนภาคใต้ mso-bidi-language:TH">กล่าวว่า เป็นการให้ความรู้เรื่องการกระจายอำนาจ เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าใจถึงบริบทการกระจายอำนาจ และโครงสร้างการเมืองการปกครองของประเทศว่าเป็นอย่างไร เพราะประชาชนจำนวนมากไม่เข้าใจเรื่องนี้

ประเด็นต่อมาที่ต้องให้ความรู้คือ เจตนารมย์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยสิทธิและอำนาจของประชาชน ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการขับเคลื่อนเวทีสาธารณะ

สำหรับรูปแบบการปกครอง โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจตั้งแต่ตอนแรกๆ mso-bidi-language:TH">

ส่วนกลุ่มเป้าหมาย เน้นคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษา ทั้งเยาวชนและปัญญาชน เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ เป็นอนาคตของพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งต้องเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ใช่เฉพาะประชาชนคนมีการศึกษา แต่หมายรวมถึงข้าราชการระดับ mso-bidi-language:TH">10 ลงมา เรื่องของสัดส่วนอาชีพนั้นขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้

สำหรับวิทยากรผู้ให้ความรู้ใน mso-bidi-language:TH">200 เวที ไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิชาการ ซึ่งในความเป็นจริง คนที่ขับเคลื่อนที่เข้าใจ อาจจะเริ่มต้นจากไม่กี่คน เพราะองค์ความรู้อาจจะอยู่กับเครือข่ายก็จริง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจ การแสวงหาความรู้ และศึกษาข้อมูลของคนแต่ละส่วนด้วย

นอกจากนี้ ความชัดเจนในการนำเสนอ และการใช้เครื่องมือในการนำเสนอก็สำคัญ

นายมันโซร์ สาและ สรุปจากการจัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับปัตตานีมหานครกว่า mso-bidi-language:TH">60 เวทีที่ผ่านมา พบว่าไม่ง่ายที่จะจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถให้ได้พร้อมกันจำนวนมาก เพื่อรองรับการจัดเวทีถึง 200 เวทีภายในหนึ่งปี

อีกประเด็นสำคัญคือ เรื่องของภาษา เนื่องจากภาษาไทยอาจจะพูดได้ในกลุ่มคนที่มีการศึกษาเท่านั้น แต่ไม่สามารถใช้ภาษาไทยสื่อสารกับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ทุกกลุ่ม เพราะฉะนั้นวิทยากรจะต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย การใช้ภาษามลายูท้องถิ่นอย่างภาษายาวี ก็มีส่วนสำคัญในการทำให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่นี้ mso-bidi-language:TH">

ทั้งหมดเป็นประเด็นที่คณะทำงานขับเคลื่อนต้องคิดให้มาก เพราะการทำ 200 เวที แสดงให้เห็นทั้งปริมาณของเวที และจำนวนคน ซึ่งผู้จัดต้องการทำให้คลอบคลุมที่สุด และลึกที่สุด

หากพิจารณาจากจำนวน mso-bidi-language:TH">200 เวที ถ้าแต่ละเวทีมีคนเข้าร่วม 30 คน ทั้งหมดก็เท่ากับได้พบปะทำความเข้าใจเรื่องการกระจายอำนาจได้ 6,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนคนที่มากแล้ว ยิ่งจำนวนคนมากเท่าไหร่ หมายถึงความรู้ที่จะลงไปถึงชนชั้นรากหญ้าก็มากขึ้นเท่านั้น

นั่นหมายถึงว่า การจัดเวทีทั้ง 200 เวที นับเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการกระจายอำนาจ และรูปแบบการปกครองปัตตานีมหานคร จะมีมากขึ้น

ถึงแม้จะจัดเวทีทั้ง mso-bidi-language:TH">200 เวที เฉพาะในสามจังหวัดและสี่อำเภอชายแดนภาคใต้ แต่นายมันโซร์ สาและ บกว่า คณะผู้จัดก็คาดหวังไปถึงนักศึกษาที่ออกไปเรียนนอกพื้นที่ ซึ่งมีส่วนได้เสียจากการกระจายอำนาจ หรือไม่ยอมให้มีการกระจายอำนาจ

เนื่องเพราะคนรุ่นใหม่เหล่านี้คือผู้สืบทอดดูแลผืนแผ่นดินแห่งนี้ จึงต้องทำให้คนกลุ่มนี้ มองอนาคตของพื้นที่นี้ให้ออก mso-bidi-language:TH">

mso-bidi-language:TH">            ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นภารกิจของคณะทำงาน ซึ่งเป็นเพียงกลไกหนึ่งในการกระตุ้นและขับเคลื่อน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อทำไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้สิทธิที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ mso-bidi-language:TH">

เป็นคำกล่าวปิดท้ายของนายมันโซร์ สาและ mso-bidi-language:TH">

mso-bidi-language:TH">