Skip to main content

ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

 

          ระนอง

                                                                      ชาสันต์ คงเรือง
 

 

ระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ ได้ชื่อว่าเป็นเมือง “ฝน 8 แดด 4” เนื่องจากอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ขณะเดียวกันพื้นที่ทางตะวันออกติดต่อกับชุมพร ทางใต้ติดกับสุราษฎร์ธานี ดังนั้นเมื่อมรสุมปกคลุมภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยเมื่อใด ระนองจึงมีแนวโน้มจะเผชิญฝนเช่นกัน

หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง เคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันที่ 16 - 22 ธันวาคม 2554 ส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น

ขณะที่เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 16 ธันวาคม 2554 ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก ออกประกาศเตือนภัยว่าจะมีฝนหนักในหลายพื้นที่ของภาคใต้ฝั่งตะวันตก อันอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน  น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มได้ จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ทำให้นายชาสันต์ คงเรือง font-style:normal">หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง ก็ไม่นิ่งนอนใจ ได้มีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยการติดตามสถานการณ์ ประกาศเตือนภัยของกรมอุตุนิยมวิทยา และข่าวพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ อาทิ เสียงตามสายประจำหมู่บ้าน วิทยุชุมชน เป็นต้น ให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยรับรู้ และเตรียมรับสถานการณ์

นายชาสันต์ บอกว่า ได้ประสานงานกับอำเภอ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เตรียมความพร้อมที่เกี่ยวก้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และจัดเตรียมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง หากเกิดภัยให้จัดชุดเฉพาะกิจฯช่วยเหลือทันที

 “ให้สำรวจตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะเรือท้องแบนไว้พร้อมใช้งาน มีการขุดลอกคูคลอง ทางระบายน้ำ กำจัดวัชพืชและต้นไม้ที่ขวางทางน้ำ สำรวจป้ายที่ไม่มั่นคงให้มีความปลอดภัยต่อประชาชน” นายชาสันต์ บอก

อุปกรณ์เครื่องมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยนั้น ที่ระดมมาจากทุกภาคส่วนในจังหวัด ประกอบด้วย เรือท้องแบน 16 ลำ เรือเร็วตรวจการณ์กู้ภัยทางทะเล 6 ลำ เรือยางพร้อมเครื่องยนต์ 2 ลำ เครื่องสูบน้ำแบบหาบหาม 6 เครื่อง เครื่องสูบน้ำติดตั้งบนแทรลเลอร์ 4 เครื่อง เลื่อยโซ่ยนต์ 13 เครื่อง เรือไฟเบอร์ 4 ลำ

รถขุดตักไฮดรอลิกขนาดใหญ่ 1 คัน รถขุดตักไฮดรอลิกติดตั้งอุปกรณ์กู้ภัย 1 คัน รถขุดตักไฮดรอลิกตักหน้า ขุดหลัง 2 คัน รถกู้ภัยเอนกประสงค์ 5 คัน รถแบ็คโฮ 2 คัน และรถไฟฟ้าส่องสว่าง 1 คัน

นายชาสันต์ บอกด้วยว่า หากเกิดภัยก็จะมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อปฏิบัติการณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งยังมีการจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงด้วย

นายชาสันต์ บอกว่า จังหวัดระนอง จะมีการเชื่อมต่อกับชมรมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดระนอง และเครือข่ายวิทยุสมัครเล่นตาสัปรด โดยให้สมาชิกในเครือข่ายฯซึ่งใช้วิทยุเครื่องเดงเพื่อแจ้งข่าวสารให้การเตือนคนในชุมชนเป็นการเฝ้าระวังภัยภัยพิบัติ

นายชาสันต์ ถึงระบบเตือนภัยว่า มีหอเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 13 หอ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าหอเตือนภัยสึนามิ สามารถเตือนภัยได้ทุกประเภท กระจายอยู่ในอำเภอริมชายฝั่งทะเล มีลำโพงกระจายเสียงลูกข่าย 15 จุด ส่วนตัวแม่ข่ายจะติดตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดระนอง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง และสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยจังหวัดระนอง

 “เรามีการดำเนินการรวบรวมจัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ปลอดภัย เส้นทางอพยพของชุมชนในจังหวัด รวมถึงการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ ส่วนราชการอื่นๆ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) มูลนิธิฯตามการขอความช่วยเหลือ มีการจัดระบบแจ้งเตือนภัย มีการสำรองอาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค และจัดระบบสื่อสารในขณะเกิดภัยด้วย” นายชาสันต์ บอก

นายชาสันต์ บอกถึงการเตรียมการรับมือภัยพิบัติว่า จังหวัดระนองนั้นมีเครือข่ายอาสาสมัครครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัย มีมิสเตอร์เตือนภัย 535 คน ชุดหนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ภัย (OTOS) 331 คน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 3,808 คน มีสถานพยาบาลที่สามารถรองรับผู้ประสบภัยประกอบด้วย โรงพยาบาลระนอง 258 เตียง ส่วนโรงพยาบาลประจำอำเภอทั้ง 4 แห่ง สามารถรองรับได้โรงพยาบาลละ  80 เตียง

“ก่อนหน้านี้เราได้มีการอบรมสมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)  ชุดหนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ภัย (OTOS) มีการอบรมให้ชุมชนพึ่งตัวเองเป็นฐาน (CDRM) ให้หมู่บ้านที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัย 74 หมู่บ้าน จากพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งหมด 84 หมู่บ้าน”

“กรมทางหลวงชนบทได้จัดตั้งอาสาสมัครเฝ้าระวังดินโคลนถล่มบนท้องถนน 16 คน ส่วนกรมทรัพยากรธรณียังได้มีการอบรมวิธีการวัดน้ำฝนในจุดเสี่ยงด้วยเช่นกัน” นายชาสันต์ บอกถึงการอบรมเพื่อเตรียมพร้อม

ล่วงครบรอบปีที่ 7 ของเหตุโศกนาฏกรรมสึนามิ ขณะพายุอีกลูกกำลังเตรียมเข้าซ้ำภาคใต้ ลมพัดแรงเสียงหวีดหวิวส่งสัญญาณภัยพิบัติจะมาเยี่ยมอีกครา